ไหมพรม และ กลิ่น (ตอนที่ 3) : เต่าทองกลิ่นองุ่น


เห็นไหม (พรม) ล่ะคะ ว่าได้ประโยชน์มากมายขนาดนี้ ไม่คิดอยากจะ “ลอง” ทำกันบ้างหรือคะ???
           สวัสดีตอนสายๆค่ะ  ตอนที่แล้ว Charmmy ได้นำวิธีการถักหัวใจไหมพรมกลิ่น Jasmine มาให้ลองทำกัน  ไม่รู้ว่ามีใครลองไปทำดูรึเปล่า?  ( ถ้าหากว่ามี ) ได้ผลยังไงมาบอกกันด้วยนะคะ (^^)  วันนี้นำเอาเต่าทองกลิ่นองุ่นมาฝากค่ะ  แต่ Charmmy ไม่ได้ทำให้นะคะ  ถ้าอยากได้ต้อง “ลอง” ทำด้วยตัวเองค่ะ  สนุกนะคะ ขอบอกๆ
          คราวที่แล้วได้นำวิธีการขึ้นชิ้นงานแบบก้นหอยมาให้ลองทำกันแล้ว  คราวนี้ขอเปลี่ยนแนวเป็นขึ้นงานแบบโซ่นะคะ  ซึ่งวิธีนี้ก็จะแตกต่างกับก้นหอยนิดนุง  คราวที่แล้วมาเป็นคลิป  คราวนี้ขอมาแบบรูปภาพธรรมดาๆก็แล้วกันค่ะเดี๋ยวจะขออธิบายสัญลักษณ์และวิธีการถักตามสัญลักษณ์เพิ่มด้วยค่ะ
 
O ลูกโซ่ ธรรมดา (Chain)  ใช้สำหรับถักโซ่ธรรมดาๆนี่แหละค่ะ
 
 
 
X หรือ คธ (ควักธรรมดา) (SC.)  การถัก X โดยปกติจะสอดเข็มใต้ฐานโซ่ทั้งสองเส้น ยกเว้นว่าในบางแพทเทิร์นจะระบุโดยเฉพาะให้สอดเข็มลงในฐานโซ่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวเพื่อให้เกิดเป็นขอบ หรือเกิดเป็นลวดลายขึ้นมา
 
 
V หรือ เพิ่มโซ่หนึ่งโซ่ต่อการถัก V หนึ่งครั้ง (2sc. in the next st.) การถัก V มักจะทำเพื่อขยายขนาดหรือเพื่อเข้าโค้ง เข้ามุมของชิ้นงาน
  
 
 
A การลดโซ่ เป็นการลดจำนวนโซ่ 1 โซ่ ต่อการถัก A ครั้ง (Decrease)
  
 
 
C คือ ลห. (ลอดห่วง) (sl. = slip stich)  มักจะใช้ตอนปิดงาน หรือในช่วงชิ้นงานที่ต้องการให้มีการรั้งลงมา  หรือเพื่อให้เกิดลวดลายตามต้องการค่ะ
  
  
          เมื่อรู้จักกับสัญลักษณ์ที่จะใช้ถักเต่าทองของเราแล้ว  มาเตรียมอุปกรณ์แล้วลงมือถักกันดีกว่าค่ะ
 
อุปกรณ์           1. ไหมพรม (ถ้าอยากได้ตัวเล็กใช้ไหมพรมเส้นเล็กเส้นเดียวนะคะ  แต่ถ้าอยากได้ตัวใหญ่ใช้ไหมพรมเส้นใหญ่หรือเส้นเล็ก 2 เส้นก็ได้ค่ะ)                      
                        2. เข็มโครเชต์ (ถ้าใช้ไหมพรมเส้นเล็กเส้นเดียวใช้เข็มเบอร์ 2 ค่ะ  ถ้าใช้เส้นใหญ่หรือเส้นเล็ก 2 เส้นใช้เข็มเบอร์ 5 ค่ะ)
                        3. เกล็ดน้ำของ (เลือกตามใจชอบนะคะ คราวนี้ Charmmy เลือกกลิ่นองุ่นค่ะ)
                        4. กรรไกร
                        5. กาว
                        6. ตาของตุ๊กตา (เลือกได้ตามใจชอบค่ะ)
                        7. ใยสังเคราะห์
  
วิธีทำ              หัวเต่า   ขึ้นงานด้วยโซ่ 5 แล้วตามด้วยโซ่ 1 เป็นหลักแรก
                                   แถวที่ 1 V 3X VV 3X V (14)      (วนรอบโซ่ 5 โซ่ที่เราถักขึ้นต้นไว้)
                                   แถวที่ 2 V 5X VV 5X V (18)
                                   แถวที่ 3-5 X (18)
                      กระดอง ขึ้นงานแบบก้นหอยค่ะ
                                    แถวที่ 1 8X
                                    แถวที่ 2 V (16)
                                    แถวที่ 3 XV (24)
                                    แถวที่ 4 X (24)
                                    แถวที่ 5 2XV (32)
                                    แถวที่ 6 X (32)
                                    แถวที่ 7 3XV (40)
                                    แถวที่ 8-12 X (40)
                      ใต้ท้องเต่า (สีดำ/หรือสีตามชอบค่ะ)
                                    แถวที่ 1 8X
                                    แถวที่ 2 V (16)
                                    แถวที่ 3 XV (24)
                                    แถวที่ 4 2XV (32)
                                    แถวที่ 5 3XV (40)
          จากนั้นมาทำจุดที่ตัวกันค่ะ  ขึ้นงานแบบก้นหอย 12X ปิดงานแล้วรูดแน่นๆทำตัวละ 5 จุด
ส่วนหัวใส่ใยสังเคราะห์เล็กน้อย ติดลูกตา นำใต้ท้องและกระดองมาเย็บติดกัน  เหลือช่องยัดใยสังเคราะห์ไว้ด้วยนะคะ  แล้วยัดใยพร้อมๆกับเกล็ดน้ำหอมกลิ่นองุ่นที่เตรียมเอาไว้  จัดให้เป็นรูปทรงของกระดองครึ่งวงกลมค่ะ  แล้วค่อยเย็บให้ติดกันทั้งตัว  จากนั้นติดจุดบนตัวเต่าให้ใช้ไหมสีเดียวกับหัวและลายที่ตัว  โดยใช้ไหมพรมเส้นเดียวเย็บดึงยาวมาจากใต้กระดองข้ามไปอีกฝั่งนึงเลยค่ะ  แล้วค่อยติดจุดบนกึ่งกลางด้านบนเพื่อความแน่นหนาแต้มกาวเล็กน้อยที่เส้นด้วยก็ดีค่ะ  จากนั้นก็...เสร็จแล้วค้า!!! 
 
 
 
          สำหรับใครที่อยากได้เป็นฝูงเลยก็ทำหลายๆตัวนะคะ  หลังจากทำเต่าทองกลิ่นองุ่นเสร็จแล้ว  เราได้อะไร?    อย่าแรกสุดเลย  แน่นอนค่ะได้เต่าทอง (แฮ่ะ แฮ่ะ)  จากนั้นก็ได้กลิ่นองุ่นที่ออกมาจากตัวมัน  ได้ความผ่อนคลาย  ได้ความภาคภูมิใจกับผลงานฝีมือของตัวเอง  ได้ผลของความพยายาม (เป็นรูปเป็นร่างแล้วยังสัมผัสได้ด้วยนะ ^^) ได้ฝึกความอดทน (เพราะทำจนเสร็จได้นี่ ก็อดทนไม่เบานะคะ) และก็ได้ฝึกสมาธิด้วยค่ะ 
          เห็นไหม (พรม) ล่ะคะ  ว่าได้ประโยชน์มากมายขนาดนี้  ไม่คิดอยากจะ “ลอง” ทำกันบ้างหรือคะ???
 
หมายเลขบันทึก: 330864เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2010 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบใจสำหรับสาระวันนี้ครับ เรื่องไหมพรมกับผมเป็นคนละโลกเลยครับ ดูแล้วเพลินดี

เรื่องที่นำมาเสนอวันนี้อาจจะยากสำหรับคนที่ไม่เคยทำมาก่อนนะคะ

แต่ถ้ามีผู้สอนหรือให้คำอธิบายแนะนำไปด้วย จะเป็นวิธีที่ลัดที่สุดในการถักไหมพรมเลยค่ะ

วันก่อนก็ไปสอนพี่ข้างบ้าน (ข้ามไปซัก 3-4 หลัง) ถักตุ๊กตาไหมพรมมาค่ะ

ตอนแรกเอาแบบให้ดู แกก็ไม่กล้าถักอยู่ดี แต่พอทำให้ดูแกก็รีบไปหาอุปกรณ์มาทำด้วย ณ ตรงนั้นเลยค่ะ

นี่เรียกว่าคุณกำลังทำ Change Management ใน AI เราเรียกว่า Destiny ครับ

อ่อค่ะ ขอบคุณอาจารย์โยที่ชี้แนะนะคะ

พอดีเจอเคสแบบนี้กับตัวเองมาเยอะเหมือนกันค่ะ

ถ้าเรานำการถักไหมพรมไปใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้

หรือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของคนที่เกษียณอายุแล้ว

อาจจะตั้งเป็นชมรมคนถักไหมพรม จะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

และยังเป็นการหารายได้อีกทางหนึ่งของเขาด้วย

ถ้าทำได้จริง ผมว่ามันจะดีมากเลยนะครับ

"ขอบคุณเนื้อหาดีๆ ครับ"

สำหรับคนที่ไม่เคยถักดูแล้วคง งงๆค่ะ

แต่ถ้าคนที่ถักเป็นคงดูแล้วเพลินดี ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ขยันจริงๆ เลย ชักอยากจะลองทำมั่งแล้วสิเนี้ย ^^

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ ^^

คุณ wonderkerng เดี๋ยวสอนให้ค่ะ แต่ต้องมาหัดที่นี่นะคะ 555+

ปวดหัวจังเลย น้องชาม

พี่ไม่เก่งเรื่องอะไรทำนองนี้

เอาเป็นว่า น้องชาม ถักให้พี่ดู เป๋นการสาทิส

และยกให้พี่เลยก็ได้นะคะ อิ อิ

พี่แจ๋วแหวว

ถ้ามีโอกาส ชามจะทำให้พี่ซักอย่างแน่นอนค่ะ

แต่ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีเวลาว่างเลย  แฮ่ะๆ

ชอบมากนะคะ จะลองทำโดยเร็ว ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท