แคลเซียม+ไม่สูบช่วยกระดูกดี [EN]


การฉีดฮอร์โมน ที่ได้ชื่อว่า "เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฉีด (DMPA)" อาจทำให้ผู้หญิงสูญเสียมวลกระดูกบางส่วน การศึกษาใหม่พบ การกินแคลเซียมให้มากพอและการไม่สูบบุหรี่ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก ได้ [ Reuters ]

...

ฮอร์โมนที่ี ได้ชื่อว่า เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฉีด (depot medroxyprogesterone / DMPA) ทุก 3 เดือน ซึ่งมีชื่อการค้าว่า 'Depo Provera' อาจเพิ่มการสูญเสียมวลกระดูกได้

การศึกษาใหม่ ทำในผู้หญิงอายุเฉลี่ย 24 ปีที่ฉีด DMPA นาน 2 ปี 95 คน พบปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้สูญเสียมวลกระดูกที่กระดูกสันหลัง (spine) หรือกระดูกต้นขาส่วนที่อยู่ใน-หรือใกล้ข้อสะโพก (hip) อย่างต่ำ 5% ได้แก่

(1). สูบบุหรี่ > คนที่กำลังสูบบุหรี่ (current smokers) เพิ่มเสี่ยงเกือบ 4 เท่าเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่

(2). กินแคลเซียมไม่พอ > การกินแคลเซียมเพิ่ม (จากไม่พอเป็นระดับปานกลาง หรือขนาดพอดี) 100 มิลลิกรัม/วัน ลดเสี่ยง 19%

...

อ.ดร.มาฮ์บู เบอร์ ราฮ์มาน, อ.ดร.แอบเบย์ บี. บีเรนซัน และคณะจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส, แกลเวสทัน US ทำการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ฉีด DMPA 47% หรือเกือบครึ่ง สูญเสียมวลกระดูกจากการวัดที่กระดูกสันหลัง (spine) หรือกระดูกต้นขาส่วนที่อยู่ใน-ใกล้ข้อสะโพก (hip) อย่างต่ำ 5% 

การศึกษานี้ทำในผู้หญิงอาฟริกัน-อเมริกัน (ผิวดำ) พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ได้แคลเซียม 484 มก./วัน น้อยกว่าคำแนะนำมาตรฐาน คือ 1,000 มก./วัน

...

ผู้หญิงที่กินแคลเซียม 600 มก./วันขึ้นไป ลดการสูญเสียมวลกระดูกน้อยลง คือ ไม่เกิน 2% ใน 2 ปี

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ผู้หญิงที่มีลูกมาก่อน + ฉีดยา DMPA สูญเสียมวลกระดูกน้อยลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไมมีลูกมาก่อน + ฉีดยา DMPA, กลไกของเรื่องนี้ยังไม่เป็นทราบกันแน่ชัด

...

การป้องกันโรค กระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุนที่สำคัญได้แก่ การกินแคลเซียม-วิตามิน D (มีในปลา อาหารทะเล นมไขมันต่ำ-นมถั่วเหลืองเสริมวิตามิน D และวิตามินรวม) ให้พอ, ไม่สูบบุหรี่, ไม่ดื่มน้ำอัดลม และออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

การศึกษาในหนูพบว่า การออกแรง-ออกกำลังที่ทำให้กระดูกแข็งแรงได้มากที่สุด คือ การกระโดดเชือก, การออกกำลังอื่นๆ เช่น วิ่ง เดินเร็ว ยกน้ำหนัก เล่นเวท ฯลฯ ก็ช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้เช่นกัน 

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > Calcium, not smoking may limit birth-control bone loss. January 8, 2010. / Source > Obstetrics and Gynecology. Jan. 2010.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 11 มกราคม 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 330448เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท