กิจกรรมของบรรดาแม่ๆ ในวัด


ประเพณีของหมู่บ้านในการสวดพระอภิธรรมศพมีจะมีหลากหลายประเด็น แม้แต่การเตรียมอาหารเช้าเพื่อถวายพระภิกษุ

      สัปดาห์นี้ที่หมู่บ้านเรามีเรื่องโศกเศร้าของสามครอบครัวเนื่องจากมีบุคคลอันเป็นที่รักจากโลกนี้ไปอย่างปัจจุบันทันด่วนด้วยโรคลมปัจจุบัน 2 คน อีกคนเพียงอายุ 19 ปีจากไปด้วยอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ชนรถบรรทุกไม้ (รายนี้เมาแล้วขับ) ตามประเพณีของหมู่บ้านจะมีการจัดงานศพภายในวัด ซึ่งมีศาลาสำหรับจัดทำพิธีเพียง 2 ศาลา ดังนั้นอีกศพจึงวางที่ศาลาประชมคมของหมู่บ้าน สิ่งที่ครูนกนั่งเฝ้ามองและสังเกตเงียบๆ คือ กลุ่มแม่และเพื่อนๆของแม่ซึ่งจะรวมตัวกันตอนเช้ามืด และหัวค่ำ

        กลุ่มแม่กับเพื่อนของๆแม่มีหน้าที่เตรียมอาหารเช้าสำหรับพระภิกษุสงฆ์ซึ่งต้องไปตั้งแต่ 05.00 น. และเป็นการรวมพลแบบจิตอาสา ครูนกยังไม่เคยตามไปช่วยแม่ในจุดนี้เนื่องจากเวลา และความสามารถด้านอาหารไม่ถึง แต่จะทราบจากคำบอกเล่าว่า บรรดาป้าๆ คนไหนเก่งด้านไหน ที่สำคัญครูนกได้รับยำตะไคร้ของโปรดจากฝีมือป้าๆ ฝากมา  เมื่อต้นสัปดาห์แม่บอกว่าขนมที่จะถวายพระในตอนเช้าซ้ำๆ กัน แต่คณะเจ้าภาพก็ไม่ได้คิดจะเปลี่ยน(คงยุ่งเรื่องอื่นๆ จนลืมจุดเล็กๆนี้ไป) ครูนกจึงอาสาแม่ว่า วันเสาร์นี้ครูนกจะซื้อขนมปังลูกเกด และขนมปังฝอยทอง(ซึ่งเป็นร้านที่เคยซื้อให้แม่ทานแล้วแม่บอกว่า อร่อย แป้งนุ่มดี) มาให้แม่นำไปวัดในเช้าวันอาทิตย์ ครูนกได้ทำตามสัญญาที่ให้กับแม่ไว้แล้วก็สบายใจที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมของแม่ได้บ้าง

      นอกจากนี้กลุ่มแม่กับเพื่อนๆ เป็นกลุ่มที่ร่วมฟังสวดพระอภิธรรมศพซึ่งถ้ามี 3 งานแบบนี้ในหนึ่งคืนแม่ก็ต้องไปร่วมทั้ง 3 งานก็สงสารเพื่อนแม่บางคนเช่นกันเพราะอายุก็มากๆกันแล้ว บ้างก็มีโรคประจำตัว และการนัดหมายเวลาและอื่นๆ ก็เหมือนๆวัยรุ่นแต่ไม่ใช่ดูคอนเสิร์ต นัดหมายกับไปทำหน้าที่พุทธศาสนิกชนที่ดี ดังนั้นด้วยจิตที่มุ่งมั่นจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี และเพื่อนบ้านที่ดีก็ภาพเหล่านี้ยังปรากฏในทุกๆงาน ครูนกยังตั้งคำถามเล็กๆในใจว่า วันหนึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่จะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีเท่ากับที่ผู้ใหญ่ทำไว้เป็นประเพณีและเป็นวัฒนธรรมหรือเปล่า  เวลาเท่านั้นจะตอบคำถามนี้ได้

         

หมายเลขบันทึก: 330436เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2010 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ดาวว่า เวลาเปลี่ยนไป ประเพณีงานศพก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยค่ะ...

การร่วมแรงร่วมใจแบบจิตอาสาของคนในชุมชนคงจะลดน้อยถอยลงไปตามลักษณะสังคมที่เปลี่ยน

คงเป็นอย่างที่ครูนกว่า...ต้องติดตามต่อไป ให้เวลาเป็นผู้เฉลยคำถามนี้

..ครูนกยังตั้งคำถามเล็กๆในใจว่า วันหนึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่จะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีเท่ากับที่ผู้ใหญ่ทำไว้เป็นประเพณีและเป็นวัฒนธรรมหรือเปล่า  เวลาเท่านั้นจะตอบคำถามนี้ได้...

ธรรมะสวัสดีวันหยุดพี่ครู

ธรรมฐิตว่าคำถามนี้บ่งบองให้สังคมได้รับรู้อยู่อย่างชัดเจนแล้วแหละพี่ครู..

สวัสดีค่ะ น้องดาว

การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคมเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องปรับตัวกันไปเรื่อยๆ แต่ในรูปแบบที่ดีงามเราในฐานะลูกหลานต้องดำรงสืบไว้ให้ได้

พี่นกมองว่าปัญหาเรื่องนี้คงลดลงได้ด้วยคำว่า "เราทำหน้าที่ของเราอย่างดีที่สุดแล้ว"

สวัสดีค่ะ

  • ความผูกพันทางสังคม  นับเป็นคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะนะคะ
  • แต่ความเปลี่ยนแปลงด้านความเจริญทางวัตถุมีส่วนทำให้ความผูกพันนี้เปลี่ยนไปค่ะ
  • พี่คิมสังเกตได้จากบางแห่ง  ขอเป็นกำลังใจให้ที่นี่แน่นแฟ้นยั่งยืนนะคะ
  • ขอขอบคุณค่ะ

นมัสการค่ะ ท่าน ธรรมฐิต

  • ถ้าสังคมเข้มแข็ง...ภาพเหล่านี้คงปรากฏไปอีกนานเท่านาน
  • เป็นโจทย์ของผู้ใหญ่ในชุมชนเช่นกัน...ทำอย่างไรให้สังคมเข้มแข็งห่างไกลยาเสพติด การพนัน และการเด็กติดเกม

สวัสดีค่ะ พี่ครูคิม

  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นและกำลังใจค่ะ
  • ครูนกเองอยากเห็นภาพเก่าๆของหมู่บ้านหรือชุมชนที่เราอยู่กลับมา 
  • ดีใจกับอีกหลายๆชุมชนที่อนุรักษ์เรื่องราว ประเพณีดีงามต่างๆ ไว้มาถึงรุ่นลูกหลานค่ะ
  • สาธุค่ะ คุณครูนก
  • สอนอยู่ที่หาดใหญ่นี่เอง
  • ยินดีที่ได้รู้จักและขอบคุณนะค่ะ
  • ขอพลังบุญ..รักษานะคะ

 

สวัสดีค่ะ คุณครูนก

  • ทราบแล้วค่ะ อ่านว่า นกทะเล
  • งานศพของคนทางนครฯก็ไม่ต่างจากคนทางสงขลา ทุกคนในหมู่บ้านจะช่วยกัน เพราะทุกคนทั้งหมู่บ้านคือญาติ
  • ทางนครฯบางงานจะทำพิธีที่บ้าน ไม่ทำพิธีที่วัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกและการสั่งเสียของผู้เสียชีวิต
  • คนรุ่นหลังๆควรจะสานต่อวัฒนธรรมนี้ค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณครูนก
  • เป็นวัฒนธรรมของชุมชนนะคะ
  • เป็นสายใยแห่งความรัก ความสามัคคี ที่คนรุ่นต่อไปควรจะซึมซับและประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านได้วางไว้ให้ได้...พี่แจ๋วคิดว่าอย่างนั้นนะคะ
  • และเชื่อว่าคนรุ่นหลังก็สามารถดำเนินตามได้ ถ้าตั้งใจจริง เป็นสิ่งดีและน่าชื่นชมนะคะ
  • ขอบคุณน้องนกที่กรุณาไปร่วมอนุโมทนาบุญกับพี่แจ๋ว
  • พี่แจ๋วดีใจมากค่ะ ตอนนี้ก็เตรียมงานไปเรื่อย ๆ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณnawa~natachoei

มีโอกาสมาหาดใหญ่...ก็แวะมาเยี่ยมกันนะค่ะ...บุญรักษาเช่นเดียวกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ นิตยา เรืองแป้น

ตราบใดเสียงกลองมโนราห์ เสียงขับบทกลอนหนังตะลุงยังมีวัฒนธรรมบ้านเราก็คงอยู่ได้สืบไปค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

เป็นกำลังใจให้ในการเตรียมงานนะค่ะ

เราเองก็ต้องช่วยสืบสานสิ่งดีงามต่างๆ ในสังคมเพื่อสืบต่อไปคนรุ่นหลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท