Priyapachara
นางสาว ปรียาพัชร ตุลาเนตร

ปัญหาการศึกษา "เสียงสะท้อนจากห้องเรียน"


ปัญหาหนึ่งของระบบการศึกษาไทย
         เรื่องระบบการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ เป็นหนึ่งในหลายเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน
เสมอมา พอๆกับเรื่องชีวิต
 ความเป็นอยู่ และปากท้องของประชาชน การแก้ปัญหาประการหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป
จนกระทั่งน้องๆนักเรียน นักศึกษาได้เห็น และรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน นั่นคือ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จากระบบเอ็นทรานซ์ มาเป็นระบบ Admission แล้วมาเป็นระบบ O-Net, A-Net
และกลายมาเป็นระบบ GAT, PAT ในปัจจุบัน สร้างความสับสน โกลาหลให้ทั้งกับผู้ปกครองนักเรียน
ครูอาจารย์ในโรงเรียน และตัวนักเรียนเองได้ไม่น้อย
         นอกจากจะปรับระบบการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามจินตนาการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว เราต้อง
อย่าลืมนึกถึงสภาพความเป็นจริง และความเป็นไปได้ด้วย การจะปรับระบบต่างๆควรจะต้องใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยกันพอสมควร เชื่อไหมว่า ถึงเวลาที่จะต้องสอบอยู่แล้ว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ยังไม่รู้
เลยว่า GAT  PAT คืออะไร จะต้องเตรียมตัวอ่านหนังสืออย่างไร อ่านอะไรไปสอบบ้าง
         สภาพความจริงของโรงเรียน และนักเรียนก็คือ เวลาเรียนในโรงเรียนจริงๆก็น้อยมากอยู่แล้ว กว่าจะมีการเดินเปลี่ยนคาบเรียน กว่าครูผู้สอนจะเข้าสอน กว่าจะพร้อมสำหรับการเรียนแต่ละวิชา
ก็เสียเวลาไปมากแล้ว อีกทั้งโรงเรียนยังมีกิจกรรมต่างๆเพื่อ
เสริมสร้างให้นักเรียนเป็นบุคคลที่พร้อมสำหรับสังคม ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมกีฬาสี ฝึก
ความสามัคคี รู้แพ้รู้ชนะ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น ฉะนั้นการสอนให้ทันตามเนื้อหาหลักสูตร จึงเป็นไปได้ยากเต็มที จึงเกิดคำถามขึ้นกับครูผู้สอนว่า แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ให้การเรียนการสอน สำเร็จ
ตามเนื้อหาหลักสูตร คำตอบที่ครูส่วนใหญ่คิดได้ และเลือกทำเป็นอันดับต้นๆ คือ การสั่งงาน ซึ่งการสั่งงานก็จะมีทั้งในรูปแบบ ศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดเกี่ยวกับบทเรียน จะทำเดี่ยวหรือกลุ่มก็ว่ากันไป นี่เป็นระบบเบสิคที่นิยมสั่งงานกัน ไปจนกระทั่งให้นักเรียนทำเว็บไซต์บทเรียนภาษาอังกฤษส่ง ถึงระดับนี้ถามว่า นักเรียนส่วนใหญ่เล่นคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเป็น แต่ทำเว็บไซต์เป็นหรือไม่ มันก็ออกจะเกินความสามารถของนักเรียนไปสักหน่อย ก็จะนำไปสู่การจ้างทำ เจตนาที่ครูต้องการให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า และได้รับความรู้จากการค้นคว้านั้นก็ปล่าวประโยชน์ นำมาซึ่งต้นทุนทางการศึกษาที่สูง
เกิดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาขึ้นได้ เมื่อกล่าวถึงปัญหาการสั่งงานนักเรียน เสียงสะท้อนจากลูกศิษย์คนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเด็กเรียนดี สมองดี มีความรับผิดชอบ เป็นเด็กในระดับหัวกะทิของโรงเรียน สะท้อนมาว่า ต้องทำการบ้านและงานที่ครูสั่งในแต่ละวิชาจนถึงตี 4 ทุกวัน จึงจะสามารถทำงานส่งได้ทันตามกำหนดเวลาที่ครูแต่ละวิชาสั่ง ที่ต้องยกประเด็นว่านักเรียนคนนี้ เป็นเด็กเรียนดี สมองดี มีความรับผิดชอบ
ในระดับหัวกะทิของโรงเรียนมากล่าวถึง ไม่ใช่ต้องการ
จะอวดอ้างแต่อย่างใด หากแต่ต้องการให้เปรียบเทียบว่า หากไม่ใช่เด็กที่มีมันสมองเป็นเลิศ และไม่ได้มีความรับผิดชอบมากมาย แล้วนักเรียนเหล่านี้จะทำอย่างไรกับการบ้านที่กองอยู่ตรงหน้า ระดับ
มันสมอง การเรียนรู้ และความรับผิดชอบของคนเรามันไม่เท่ากันอยู่แล้ว ทำอย่างไรนักเรียนกลุ่มนี้จะเคลียร์การบ้านที่อยู่ตรงหน้าให้เสร็จสิ้นลงได้ นี่ก็เป็นปัญหาอีกประการที่จะเรียกได้ว่า เวลาจะทำการบ้าน
ในแต่ละวันยังไม่ทัน แล้วจะเอาเวลาไหนในการอ่านหนังสือทบทวนความรู้  ก็ได้แต่ปล่อยความรู้  แต่ละอย่างให้จบสิ้นไปพร้อมกับงานที่ส่ง นั่นก็เป็นปัญหา และข้อจำกัดของนักเรียนในการได้มาซึ่งความรู้
         คราวนี้เราลองมาฟังปัญหาและเสียงสะท้อนจากครูผู้สอนกันบ้าง ว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการเรียน
การสอนของไทย ปัจจุบันบรรดาข้าราชการครู ถูกปลุกระดมให้ทำผลงานทางวิชาการ โดยมีเงิน
ประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษต่างๆเป็นตัวล่อ ตัวอย่างเช่น อาจารย์ 3 ระดับ 8 จะได้รับเงิน
ประจำตำแหน่ง 5,600 บาท และมีเงินเพิ่มพิเศษอีก 5,600 บาท รวมเป็นเงิน 11,200 บาทซึ่งจะเป็นเงิน
เพิ่มเติมจากเงินเดือนแต่ละเดือน ปัญหาล่ะมันอยู่ตรงไหน ในเมื่อทำแล้วก็ได้ทั้งความรู้ และเงินเพิ่มน่าจะเป็นการดี  จะสงสารระบบการศึกษาไทยได้อย่างไร ซึ่งปัญหาและเสียงสะท้อนก็มีอยู่ว่า
ครูส่วนมากนั้นไม่รู้ทิศทาง และวิธีการทำผลงานวิชาการกันเท่าใดนัก นอกจากนั้นยังต้องผลิตสื่อการสอนตามรายวิชาที่ตนเองสอน ที่เรียกว่า "นวัตกรรม" เช่น หนังสือประกอบการสอน ภาพประกอบการสอน
สื่อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากขึ้นแก่ครูผู้สอน เพราะต้องจ้างทำสื่อ และไม่ใช่
ครูทุกคนจะวาดการ์ตูนสวยๆ  จะทำสื่อคอมพิวเตอร์ดีๆได้ด้วยตนเอง
         หากมากล่าวกันในเรื่องรูปเล่มผลงานทางวิชาการที่จะนำเสนอ หรือส่งตรวจก็ต้องเป็นการวิจัยเต็มรูปแบบ  วิจัยด้านเนื้อหาที่สอนบ้าง วิจัยผลการเรียนบ้าง แต่ครูส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนทางด้านวิจัยมา ทำให้
ไม่แน่ใจว่าจะถูกต้อง จึงต้องมีการจ้างผู้ฝึกอบรม มาอบรมการวิจัย และขั้นตอนการทำผลงานทางวิชาการกันใหม่ ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการทำผลงาน ครูต้องง่วนอยู่กับการค้นคว้าหนังสือ เอกสารอ้างอิง การจ้าง
การผลิตสื่อ จ้างพิมพ์เอกสาร ไปจนถึงกระทั่งจ้างทำทุกขั้นตอน ดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู นอกจากนั้นยังต้องวิ่งรอกอบรมต่างๆกันวุ่นวาย ซึ่งผลร้ายที่เกิดขึ้นตกอยู่ที่ลูกศิษย์ เพราะเรียนได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ผลการทำผลงานทางวิชาการนั้นกลับผ่านน้อยมากเพียงร้อยละ 10
ครูจึงเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ และยังเป็นหนี้เป็นสินก้อนโต ทำให้หมดกำลังใจจะสอนนักเรียน
และไม่อยากทำผลงานทางวิชาการกันต่อไป
         เสียงสะท้อนจากครูบางคน ก็สะท้อนมาว่า "ต่อไปนี้จะไม่เป็นครูที่ดีในดวงใจเด็กอีกต่อไป จะไม่ตั้งใจสอน จะเอาเวลามาทำผลงานให้ผ่านเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินวิทยฐานะ และเงินพิเศษซึ่งถือว่าคุ้มแสนคุ้ม" แต่บางคนก็มีความคิดเห็นตรงกันข้าม ทั้งที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นครูที่ดี สอนดีคนหนึ่ง ได้รับคำยืนยันทั้งจากผู้อำนวยการโรงเรียน และนักเรียนที่เคยสอน แต่เป็นครูที่ไม่ยอมทำผลงานทางวิชาการเหมือนครูอื่นๆ เหตุผลคือ "เสียเวลา ถ้าทำก็ต้องทิ้งเด็ก ทิ้งการสอน สงสารเด็ก จะปล่อยเด็กตามบุญตามกรรมอย่างนั้นหรือ
ทำผลงานไปแล้ว ก็ไม่เห็นจะดีขึ้น สอนชุ่ยๆเหมือนเดิม ไม่ได้เอาการสอนในจินตนาการที่เอาไปทำผลงาน
มาใช้ในการสอนจริงๆเลย"
        นอกจากเสียงสะท้อนสองตัวอย่างที่ยกมา ปัญหาสะท้อนอีกอย่างก็คือ ปัญหาหนี้สินของครู มีผู้เคยประสบเล่าว่า ขั้นตอนในการอบรมการทำผลงานวิชาการนั้น เคยมีอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยมาติดต่อเสนอจะจัดการอบรมให้โดยให้หาผู้ที่จะเข้าร่วมอบรมครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 คน โดยคิดค่าอบรมคนละ 10,000 บาท
และรับรองว่าสามารถทำผลงนผ่านจำนวนมากคิดเป็นถึงร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม ปัญหาจุดนี้ก็เป็นปัญหาที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องสอดส่องดูแล สิ่งที่กล่าวนี้ทำให้ครูต้องกู้หนี้ยืมสินเป็นเงินก้อนโต ประมาณ 50,000 - 150,000 บาทต่อคนเลยทีเดียว เพื่อทำผลงานครั้งนี้ เมื่อส่งผลงานไปตรวจแล้วไม่ผ่าน บรรดาครูก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะผ่อนส่งคืน ทำให้บางคนหมดกำลังใจที่จะสอน สอนแบบขอไปที และเอาเวลาไป
รับงานพิเศษข้างนอก เพื่อหารายได้มาชดเชยเงินที่ลงทุนไป และใช้หนี้
         จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด อาจจะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดว่าทำไมนักเรียนไทย และระบบการศึกษาไทย
จึงไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และจะเป็นการต่อยอดไปถึง
เรื่อง"การกวดวิชา" ที่อยู่ควบคู่ระบบการศึกษาไทยเรามาช้านาน
         *********************  เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ *************************
                                                                                    **ปรียาพัชร  ตุลาเนตร :: ผู้เขียน**
                                                                                                                             22/01/53
 
 
หมายเลขบันทึก: 330188เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2010 01:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

อย่าลืมติดตาม เรื่อง ความสำคัญของการเรียนกวดวิชานะคะ

จะเป็นภาคต่อ จากปัญหาการศึกษานี้ค่ะ

แวะมาทักทายจ้า...

มาอยู่ลำปางได้สองสามเดือนแล้วล่ะ

ผ่านมาเหนือก็แวะได้นะคะ *^__^*

ขอยคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

ประเทศนี้ล้มเหลวแทบทุกเรื่องครับ

นอกจากความเหลวแหลก เลื่อมล้ำ ของสังคมไทย

ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

มาอ่านครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปัน

ครับผม

ขอบคุณที่เข้ามาติดตามค่า แต่มันก็จริงแฮะ อิอิ

เนื้อหาที่เขียนเป็นความจริงที่มีอยู่ มาเป็นกำลังใจให้เขียนต่อครับ

แบบว่าความจริงอยากเขียน เรื่องการกวดวิชามากกว่าค่ะ แต่ต้องเกริ่นถึงปัญหาเกี่ยวเนื่องซะก่อน เดี๋ยวคนไม่เชื่อ หุหุ

ขอบคุณมากค่า ในเมื่อปัญหาของการศึกษา ระบบการศึกษามันมี จะไม่ให้มีการกวดวิชาได้อย่างไร

แป่ว ลืมเข้าระบบซะงั้น

สวัสดียามดึกครับ เรื่องราวน่าอ่านมากครับ

ขอบคุณที่มาติดตามนะคะ ....สวัสดีเช่นกันค่า

ขอบคุณที่มาติดตามนะคะ ....สวัสดีเช่นกันค่า

ไม่ได้เข้ามาอัพเดท นาน คนเข้าดูเยอะเหมือนกันแฮะ ส่วนใหญ่คงมาจาก เสริช ตาม google สินะคะ ยินดีต้อนรับทุกคนค่ะ แต่แสดงความเห็นไว้ด้วยจะดีมากมายค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท