nutrient balance, nutrient losses จุดเริ่มต้นของความเข้าใจ (บางอย่าง) เกี่ยวกับงานวิจัย


ถึงแม้การศึกษาของผมครั้งนี้จะมีจุดด้อยมากมาย เนื่องจากวางแผนการทดลองไม่ดีพอตั้งแต่ต้น แต่เมือมาถึง ณ ขณะนี้แล้ว เราก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำให้ต้องขยันอ่านหาความรุ้เพิ่มเติมมากกว่าปกติ เพื่อที่ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เกิดประโยชน์ที่สุดครับ

จากการศึกษาที่ผ่านมาก ผมไม่ได้เก็บตัวอย่างพืชและเถ้าถ่านมาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหาร ผมเก็บเฉพาะตัวอย่างดิน ในระยะ ก่อนเผาแปลง  หลังเผาแปลง  และหลังเก็บเกี่ยวเท่านั้น

ทำให้ผมคิดว่าคงไม่สามารถคำนวณหา nutrient balance ในช่วงของการเพาะปลูกพืช ภายใต้ระบบไร่เลือนลอยแบบถางเผาได้แน่ๆ

  • ผมก็เลยพยายามหาอ่านงานวิจัยต่างๆ ว่าสามารถจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
  • ในที่สุด จากที่อ่านงานในวารสารหลายๆ เล่ม ผมก็ได้ทราบว่า แม้เราจะไม่มีข้อมูลปริมาณธาตุอาหารที่เข้าสู่ระบบและถูกนำออกจากระบบ ที่สมบูรณ์ อย่างน้อยเราก็ยังพอคำนวณหา toltal (NET) nutrient losses จากดินได้ โดยคำนวณจากผลต่างของปริมาณธาตุอาหารในดินช่วงก่อนเพาะปลูกและหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว
  • ส่วนองค์ประกอบต่างๆ ที่เป็น input และ output ของแหล่งธาตุอาหาร อาจจะหาข้อมูลเชิงปริมาณได้จากงานวิจัยของท่านอื่นๆ  แล้วนำมาอ้างอิง เพื่อคำนวณปริมาณการสมดุลของธาตุอาหารในระบบได้ 

Stoorvogel and Smaling, (1990) ได้กำหนดว่าองค์ประกอบของ input และ outpu ของธาตุอาหารพืชแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้

  • Input1: mineral fertilizer
  • Input2: organic manure
  • Input3: wet deposition
  • Input4: biological N-fixation
  • Input5: sedimentation 
  • Output1: fuelwood consumption
  • Output2: harvest products
  • Output3: leaching
  • Output4: gaseous losses
  • Output5: erosion
ถึงแม้การศึกษาของผมครั้งนี้จะมีจุดด้อยมากมาย เนื่องจากวางแผนการทดลองไม่ดีพอตั้งแต่ต้น แต่เมื่อมาถึง ณ ขณะนี้แล้ว เราก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำให้ต้องขยันอ่านหาความรุ้เพิ่มเติมมากกว่าปกติ เพื่อที่ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เกิดประโยชน์ที่สุดครับ
ผมรู้สึกว่ายิ่งศึกษามากขึ้นเท่าไหร่ ผมก็จะพบจุดบกพร่องของงานวิจัยของผมมากขึ้นเท่านั้น 
ความผิดพลาดครั้งนี้ นับว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญมากสำหรับผม  เนื่องจากเป็นจุดผกผันที่ทำให้ผมได้เรียนรู้และเข้าใจงานวิจัยทางด้านนี้ด้วยตนเอง 

เอกสารอ้างอิง:

Stoorvogel, J.J., Smaling, E.M.A., 1990. Assessment of soil nutrient depletion in sub-saharan Africa: 1983±2000, vol. 1, Main Report, 2nd ed. Winand Staring Centre, Report 28, Wageningen, Netherlands.

   

หมายเลขบันทึก: 32980เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • Soil nutrient dynamic
  • Nutrient flows
  • Change in soil nutrient status (soil chemical parameters)
  • Nutrient cycling

ผมยิ่งอ่านก็พบคำศัพท์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารพืชในดินมากมาย  ยิ่งทำให้ผมยังไม่เข้าใจความเหมือนหรือความต่าง คำศัพท์ข้างบนเหล่านี้เลย   กลายเป็นว่าผมชักจะไม่เข้าใจคำว่า Nutrient balances ไปด้วยอีกคำ

จะตั้งใจทำให้เต็มที่ครับ

เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปครับ

ถ้าอย่างไรต้องสู้เพื่อเรียนจบกลับมาพัฒนาเมืองไทยและอุตรดิตถ์บ้านเรานะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท