สรุปประเด็น Outcome Mapping ที่พูดไว้ที่พะเยา ตอนที่ 8


ให้เล่าว่าที่มีความก้าวหน้าไปถึงขั้นนั้นขั้นนี้นั้นเป็นเพราะอะไร? มีเหตุปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
              ในบันทึกตอนนี้จะพูดถึงสิ่งที่เป็นส่วนสำคัญที่สุด (อีกแล้ว) ของ OM ซึ่งก็คือเรื่อง “การติดตามประเมินผล” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “M&E” (ย่อมาจาก Monitoring & Evaluation) ผมเองมองว่าความสำคัญของ OM นั้นอยู่ที่ตรงนี้ มองว่าสิ่งที่สำคัญของ OM นั้นอยู่ตรงที่ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลได้ค่อนข้างดี ไม่เหมือนการทำ M&E ทั่วไป ซึ่งมักจะทำไปเพียงแค่ืให้ได้ชื่อว่า “ได้ทำ” เท่านั้น แต่การทำ M&E ด้วย OM นั้น เป็นทั้งการพัฒนางาน เป็นการจัดการ “เหตุปัจจัย” โดยใ้ห้ความสำคัญไปที่การเรียนรู้แบบ KM นั่นเอง
 
               ข้อแม้ในการทำ M&E ด้วย OM นี้ก็คือ แผนที่วางไว้จะต้องอยู่ในรูปแบบของ OM ซึ่งก็คือต้องเป็นการวางแผนที่เดินตาม 7 ขั้นตอน ดังที่ผมได้อธิบายไว้ในบันทึกที่ผ่านมา สรุปว่าถ้าจะใช้ M&E ให้ได้ประโยชน์ แผนที่วางไว้จะต้องเป็นไปตา่มขั้นตอนของ OM มาถึงตรงนี้ ท่านอาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะทำ M&E กันที่ตรงไหน? มีอะไรใช้เป็น "KPI" หรือเป็น “ตัวชี้วัด” บ้าง? เพราะเท่าที่วางแผนมาจะเห็นได้ว่าเราไม่ได้ใช้คำว่า “ตัวชี้วัด” เลย แต่ก็อย่างที่ผมได้พูดไปแล้วว่าเราจะดูความก้าวหน้าหรือดูการพัฒนาเชิงพฤติกรรมที่  “Progress Markers” คือดูว่ามีก้าวหน้าไปมากน้อยแค่ไหน? ตอนนี้อยู่ตรงไหนของ “ขั้นบันได” ? มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ? ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะอะไร ? โดยจัดให้มี "การแชร์เรื่องราว (Storytelling)" คือให้เล่าว่าที่มีความก้าวหน้าไปถึงขั้นนั้นขั้นนี้นั้นเป็นเพราะอะไร? มีเหตุปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง หรือถ้ายังไม่ก้าวหน้าตามที่คาดหวัง ก็ให้แชร์ (บทเรียน) ให้ฟังว่าเป็นเพราะอะไร ? การที่ผู้ทำโครงการจะแชร์สิ่งเหล่านี้ได้  OM ได้แนะนำไว้ว่า น่าจะมีการบันทึกข้อมูล อธิบายรายละเอียดสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไว้เก็บไว้จะได้ไม่ลืม และจะได้ใช้อ้างอิง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ได้ด้วย ใน OM ต้นฉบับเรียกเอกสารที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ นี้ว่า “Outcome Journal”
 
               ในบันทึกตอนหน้า จะพูดต่อว่ามีอะไรที่ต้องทำ M&E อีกบ้าง?
คำสำคัญ (Tags): #evaluation#monitoring#me#om#outcome mapping
หมายเลขบันทึก: 328907เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท