เยียวยาการเจ็บป่วยด้วยสมาธิ


สมาธิเป็นกลยุทธ์ที่มีค่าราคาต่ำทำให้กายและจิตเกิดสมดุล

เมื่อวันที่ 11- 14 มกราคม 2553 มีโอกาสได้ไปอบรมเรื่องการปฎิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพของสำนักการแพทย์ทางเลือก กรระทรวงสาธารณสุข ท่านวิทยากรคือ รศ.ดร.สมพร กันทรดุษดี- เตรียมชัยศรี ได้อธิบายเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์กับหลักการปฎิบัติทางศาสนาคือการปฎิบัติสมาธิให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งจับใจความสำคัญได้ว่าการนั่งหลับตาสูดลมหายใจเข้าออกช้าๆนั้นจะเกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาทคู่ที่ 1 ซึ่งปลายประสาทคู่นี้จะไปเกี่ยวกับเส้นประสาทคู่ที่10 ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อใดที่กายและจิตทำงานประสานกันอย่างพอดี พอเพียง จะเกิดความสมดุลของร่างกาย การปฎิบัติสมาธิสม่ำเสมอเป็นประจำจะเพิ่มความหนาของชั้นสมองในส่วนของประสาทการสัมผัส หู ตาและเนื้อสมองข้างใน ผู้ฝึกจะรู้สึกมีความสุข จิตสงบ ร่างกายและจิตใจมีการผ่อนคลาย ผิวพรรณสดใส ลดความรุนแรงของโรค ช่วยเยียวยาการเจ็บป่วย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วย ให้ผลลัพท์เป็นรูปธรรมชัดเจน

           ท่านอาจารย์ได้นำเทคนิคการปฎิบัติสมาธิเพื่อเยียวยาอาการเจ็บป่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกปฎิบัติเพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยทั้งหมด 9 เทคนิคเรียกว่า SKT 1- 9 แต่ละเทคนิคสามารถใช้กับผู้ป่วยได้เกือบทุกประเภทโดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น DM HT COPD CVA  Bed sore โรคของต่อมไร้ท่อ โรคข้อและกล้ามเนื้อ เนื้องอก ที่สำคัญคือโรคมะเร็งทุกชนิดเพื่อลดอาการปวดซึ่งทำให้ผู้ป่วยทุกทรมานมากเรียกได้ว่าทำแล้วร่างกายจะหลั่งยาแก้ปวดในตัวเองออกมาระงับอาการปวดได้ดีทีเดียวแม้กระทั่งผู้ป่วย DM จะไม่ต้องอดอาหารที่อยากกินถ้าทำอย่างสมำเสมอมีวินัยในการทำก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติและลดยากินลงได้ด้วย การฝึกช่วงแรกจะต้องมีความอดทนอาจเกิดอาการเจ็บปวดขณะฝึกแต่เมื่อครบเวลาที่ต้องฝึกแล้วจะรู้สึกถึงความผ่อนคลายไม่ปวดเมื่อยเหมือนการออกกำลังกายแบบใช้กำลังมากๆ(Arobic) คนที่สุขภาพดีก็ใช้เทคนิคเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันป้องกันโรคต่างๆได้

          ขณะนี้มี ร.พ.500 กว่าแห่งในประเทศเราจัดตั้งศูนย์สมาธิบำบัดขึ้นบางที่ดำเนินการมาหลายปีแล้วซึ่งการจัดตั้งศูนย์สมาธิบำบัดก็เป็นจุดประสงค์หนึ่งของผู้จัดที่ได้ให้มีการอบรมหลักสูตรนี้ขึ้นมา ในถานะที่ผู้เขียนเป็นพยาบาลผู้ป่วยในจะเริ่มใช้เทคนิคที่ได้อบรมมากับตัวเองและผู้ป่วยในตามความเหมาะสมและจะลองเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้ฝึกเทคนิค SKT1-9 ไปเรื่อยๆว่ามีการเปลี่ยนปลงไปอย่างไร

                          เยาวลักษณ์

          

หมายเลขบันทึก: 328634เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากทราบเทคนิค SKT 1-9 จังเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เมื่อเดือนที่แล้วมีผู้นำส่ง ผู้บาดเจ็บ Burn 60% ได้ ที่แรกนึกว่าเขาเจ็บปวดมาจนสลบไปแล้ว เพราะดูเขาสงบนิ่งมาก พอเข้าไปประเมินอาการ ลองเรียกดู ถามว่าปวดมากไหม เขาลืมตาและส่ายหน้า แล้วหลับตาต่อ ส่วนมือพนมอยู่กลางอก ได้ยินเสียงเขาพึมพำคล้ายเสียงสวดมนต์ จึงถามเขาว่า สวดมนต์หรือ? เขาพยักหน้า และยกมือโบกเหมือนห้ามไม่ให้เรารบกวน เราจึงบอกกับทีมว่าสงสัยเขาจะใช้สมาธิเพื่อระงับความเจ็บปวด น่าแปลกที่ตลอดเวลาที่ทำแผล ให้ IVF. จนกระทั่ง Refer ไม่ต้องให้ยาแก้ปวดเลย... อ้อ! เคยทราบว่ามีเทคนิค SKT1-7 แต่คราวนี้เป็น SKT1-9 ไม่ทราบว่าศาสตร์เดียวกันหรือเปล่า? ขอสนับสนุนเต็มที่ค่ะ/By Jan

ลองทำแล้วมาเล่าต่ออีกนะครับ / boss

เทคนิค SKT1-9 มีรายละเอียดค่อนข้างมากถ้าเห็นภาพหรือการสาธิตด้วยจะดี สำนักการแพทย์ทางเลือกจะลงภาพและเสียงในการอบรมไว้ใน Web site รอดูได้ค่ะ เทคนิคที่ 8 และ 9 เพิ่มเรื่องการนวดศรีษะและนวดหลังค่ะ

ผู้เขียน

น่าสนใจดีครับ

จะรอฟังผลนะครับ

อนุเทพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท