พม่า อารยธรรมกรีกและองค์กรแห่งการเรียนรู้


AI LO

เวลาผมสอนหนังสือ ผมจะถามนักศึกษาว่า คุณคิดว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ คือ "อยู่ดีๆ ประเทศพม่าก็ประกาศรบกับอเมริกาอย่างเปิดเผย ด้วยกำลังทหารเพียง 40,000 คน" ยังไม่พอครับ "แถมยกทัพไปจริงๆ จากนั้นไปขึ้นบก ที่รัฐเวอร์จิเนียร์ ไปเจอประธานาธิบดีโอบามา ยกทัพมาด้วยตนเองอย่างฉงนฉงายว่าทำไม พม่าถึงบ้าเลือดขนาดนั้น จากนั้นก็รบกันครับโดยอเมริกายกกองทัพประมาณ 200,000 นายเข้าปะทะ ไม่ถึง 2 ชั่วโมงทัพอเมริกาก็แตกพ่าย ไม่นานเราก็เห็น CNN ถ่ายภาพ ขบวนทหารพม่าแต่งตัวเต็มยศ กำลังเดินทัพเข้าวอชิงตัน ประธานอาวุโสตันฉ่วยได้เข้าไปนั่งในทำเนียบขาว จากนั้นโลกก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปครับ ภาษาพม่ากลายเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติ คนในโลกลืมภาษาอังกฤษ แล้วหันมาเรียนภาษาพม่ากันหมด คนในอีกสองสามพันปีต่อมาต่างทำอะไรคล้ายๆคนพม่าไปหมด"

ผมถามคำถามนี้ พร้อมบรรยายเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ นักศึกษาก็ยิ้มขึ้นเรื่อยๆในที่สุดผมก็ถามว่า "คุณว่าเป็นไปได้ไหม" นักศึกษาจะส่ายหน้าไปมาพร้อมหัวเราะคิดคัก ผมเลยเปลี่ยนนิดหนึ่ง เอ๊า เอาเป็นประเทศไทยก็ได้ ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นไปไม่ได้ ผมเลยเปลี่ยนคำถามอีกว่า เอ๊าคุณคิดว่าในอดีตมีประเทศไหนเคยทำคล้ายๆกันนี้บ้าง มีไหม คราวนี้มีสองสามคนครับที่ตอบว่า "อาจมี"  

............................................................

ผมเลยเฉลยครับว่า "ถ้าคุณเกิดเมื่อสองสามพันปีก่อนแถวๆยุโรป และตะวันออกกลาง จนถึงตอนเหนือของอินเดีย คุณจะรู้ดีครับว่ามีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกโบราณ มีอารยธรรมก้าวหน้า  การทหารแข็งแกร่ง มีบ้านเมืองที่ออกแบบมาอย่างดี มีเศรษฐกิจดีเป็นศูนย์กลางของโลก ชื่ออาณาจักรเปอร์เชีย ซึ่งก็เหมือนอเมริกาสมัยนี้ครับ

ถ้าคุณเป็นชาวเปอร์เชียในยุดนั้น คุณจะรู้สึกว่าพวกกรีซ ประเทศเท่าขนาดมาเลเซีย นี่เป็นพวกล้าหลัง และป่าเถื่อนครับ คุณจะรู้สึกว่าพวกกรีกก็เหมือนพวกเกาหลีเหนือและพม่ายุคนี้แหละครับ แต่เวลาฑูตเปอร์เชียเข้าไปในราชสำนักกรีก จะรู้สึกประหลาดใจกับเรื่องหนึ่งครับคือ เขาห็นกษัตริย์ประชุมร่วมกับนายพล และนักปราชญ์แบบเท่าเทียมกันครับ เคยมีรายงานว่า ขนาดกำลังวางแผนจะไปรบ กษัตริย์คิดว่าจะน่าจะยกทัพไปรบ แต่กลุ่มนายพลและนักปราชณ์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ก็ทำตามครับ ในขณะที่เปอร์เชีย คนไม่กล้าแย้งครับ กษัตริย์พูดอะไร ถ้าไปแย้งก็จะถูกตัดหัวอย่างเดียวครับ

การคุยแบบนี้ไม่ใช่คุญแบบธรรมดาครับ เป็นการคุญที่วางกฏไว้ว่า "ต้องวางฐานันดรไว้ครับ คือคุยอย่างคนเท่ากัน และไม่ด่วนตัดสินความคิดคนอื่นครับ" กรีกเรียกการคุยแบบนี้ว่า "The Spirit of Koinonia" หรือบางทีเรียกว่า "Dialogue" ในสมัยนี้ครับ

ว่ากันว่านี่เป็นปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ทำให้คนกรีกเกิดการเรียนรู้เกิดความก้าวหน้าทางวัฒนธรรมจนกระทั่งในที่สุด เมื่อปี 300 ก่อนคริสตกาลพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช อายุเพียง 23 ปี ยกกองทัพไปท้ารบมหาอำนาจอย่างเปอร์เชียและเอาชนะได้ด้วยกำลังแค่ 40,000 คนขณะที่เปอร์เชียมีกำลังพลมากกว่า 4 -5 เท่า  กษัตริย์องค์นี้ขยายอาณาเขตอาณาจักรกรีกออกไปถึงตอนเหนือของอินเดียครับ และเกิดเป็นอารยธรรมเฮเลนิสติกขึ้นมาครับ ถ้าคุณเหลียวมองไปรอบตัวคุณจะพบอิทธิพบกรีกทั้งนั้นครับ ทั้งการสถาปัตยกรรม คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยก็มาจากกรีก เร็วๆนี้กีฬาโอลิมปิกก็มาจากกรีกครับ กรีกมีอิทธพลต่อโลกมานับพันปีครับ และจะยังคงมีต่อไปอีกนานครับ

การคุยแบบ "The Spirit of Koinonia" หรือ"Dialogue" เป็นหัวใจของวิชา Learning Organization และ AI ครับ รับ ถ้าใครเจอตันฉ่วย หรือคิมจองอิล ช่วยเอาบทความนี้ให้แกทีเถอะครับ ปล่อยออง ซานซูจี และเลิกสร้างนิวเคลียร์เถอะครับ มาเรียนรู้การคุยแบบนี้ดีกว่า "สร้างชาติด้วยปัญญากันดีกว่าครับ"  ไปได้ไกลและยั่งยืนกว่าเห็นๆ (เป็นพันปี)

ผมขอแนะนำท่านตันฉ่วย และคิมจองอิลอ่าหนังสือสองเล่มนี้ครับ จะเข้าใจเรื่อง Dialogue ได้ดีขึ้น

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 327141เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับอาจารย์ เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ได้จริงๆครับ

ผู้นำที่ยอมรับฟังความเห็นจากคนรอบด้าน และคิดไตร่ตรองโดยใช้เหตุและผลประกอบ โอกาสที่ชนะศึกสูงครับ

และการคุยอย่างคนเท่ากัน จะทำให้คนรอบข้างกล้าที่จะออกความเห็นครับอาจารย์ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก

เพราะหลายๆคน เลือกที่จะไม่พูดไม่บอกทั้งๆที่เขารู้จุดที่จะเป็นปัญหา เพราะบอกไปพูดไปก็ไม่ฟังครับ

ผมเคยเจอเหมือนกันครับใน 3 ก๊ก อาเต้าตอนโตแล้วหลงสุรานารี แถมยังเชื่อแต่กงกงที่เป็นไส้ศึกอีก เอาเข้าไปครับ

ใครห้ามอะไรก็ไม่ฟัง การศึกกำลังจะชนะ เรียกขงเบ้งกลับซะงั้น อย่างงี้ก็ไม่ไหวครับ บ้านเมืองล้มจม

ดีครับ

เกี่ยวกับการรับฟังอีกแล้วครับ

การฟังนั้นสำคัญมาก เห็นได้จากหลายๆอย่างเลยครับ

เห็นด้วยเรื่องความเท่าเทียมกันค่ะ เราควรจะรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นค่ะ

ถ้าคนอืนเค้าคิดได้ดีกว่าเรา ก็ควรยอมรับและทำตาม อย่ายึดติดว่าตนเองเก่งอยู่คนเดียวค่ะ

เสียหน้า ดีกว่าก่อให้เกิดความสูญเสีย

การถอดหัวโขนออกในขณะพูดคุยกันทำให้บรรยากาศการสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น...ชวนให้ทุกคนเปิดใจ ทุกฝ่ายกล้าบอก กล้าเล่า...เพราะในวงนั้น เพื่อนกันทั้งสิ้น

...คำว่าเพื่อนจึงมีความหมายและกินใจกว่า หัวหน้า&ลูกน้อง, นายจ้าง&ลูกจ้าง หรือแม้แต่พี่&น้อง...

...เพราะ "เพื่อน" คือ... "เพื่อน...จริงๆค่ะ"

ขอบคุณค่ะสำหรับบันทึกที่อ่านแล้วสนุกมาก ชวนติดตาม และให้ข้อคิดที่ดีค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ ผมจะพูดรื่องการถอดหัวโขน และ สามก๊ก ในวันต่อๆไปครับ

กิตติโรจน์ พงศ์ศรีสืบสุข

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท