ประเทศไทยมี 4 ภาคใหญ่ ๆ แต่ละภาคมีภาษาถิ่นเป็นของตนเอง เช่นเดียวกับภาคอีสาน นอกจากจะเป็นภาคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแล้ว ยังเป็นภาคที่มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ดังจะเห็นได้จากอักษรไทน้อยหรืออักษรโบราณอีสานที่ปรากฎหลักฐานการบันทึกให้เห็นในรูปของใบลาน หนังสือผูก แผ่นศิลา ผนังโบสถ์ ฯลฯ ตราบเท่าทุกวันนี้ แม้อักษรไทน้อยจะไม่ได้นำมาสอนลูกหลานในปัจจุบัน แต่ก็มีผู้สนใจศึกษาข้อมูลที่บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาภูมิหลังของอีสานในอดีต ทั้งในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา วรรณกรรม และเรื่องราวอื่น ๆ
ภาษาอีสานเป็นภาษาที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง เพราะนอกจากชาวอีสานจะมีอยู่มากมายกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคแล้ว ยังได้นำภาษาของตนไปเผยแพร่กระจายให้คนภูมิภาคอื่นได้เรียนรู้ จนมีคำกล่าวว่าภาษาอีสานเป็น "ภาษาอินเตอร์" นอกจากนี้ภาษาอีสานยังเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์พิเศษเป็นของตนเอง คือ มีสร้อยคำหรือคำขยายที่สื่อให้เห็นภาพพจน์อย่างชัดเจน ดังนั้น หน้าต่างนี้จึงขอนำเสนอภาษาอีสานวันละคำ โดยเริ่มต้นจากคำที่มีสร้อยคำหรือคำขยายก่อน เพื่อให้ท่านผู้สนใจได้ศึกษาว่า ภาษาอีสานนั้น เมื่อพูดแล้วคนฟังมองเห็นภาพตามที่ผู้พูดต้องการสื่อหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น
ฮูจิ่งปิ่ง หมายถึง รูกลวง
ฮูจ่งโป่ง, ฮูโจ่งโป่ง หมายถึง รูกว้าง
ฟังแล้วเราจะรู้สึกว่าเรามองเห็นรูนั้นทันทีว่า รูนั้นกลวงอย่างไร หรือ มีความกว้างขนาดไหน
ขอจบรายการอีสานวันละคำเพียงแค่นี้ พรุ่งนี้จะนำมาเสนอใหม่ ขอเชิญผู้รู้ทางด้านภาษาอีสานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วยค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้
(CRYING#6)(CRYING#6)(CRYING#6)ผมแปลเพลงให้แฟนไม่ได้ครับ ฮือๆ