สรุปประเด็น Outcome Mapping ที่พูดไว้ที่พะเยา ตอนที่ 5


Progress Marker ทำให้เราสามารถ Monitor หรือ ติดตาม ความก้าวหน้า เกี่ยวกับการพัฒนาของ DP ได้

          บันทึกที่แล้วพูดถึง “Outcome Challenge” ซึ่งก็คือ “ความท้าทาย” ในเชิง Outcome ที่เป็นพฤติกรรม (ศักยภาพ ขีดความสามารถ) ของ DP ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น โครงการปันอิ่มด้วยรอยยิ้มน้อง มี Direct Partner เป็นครูแกนนำ และได้เขียน Outcome Challenge เกี่ยวกับครูแกนนำไว้ว่า . . . “ครูแกนนำเกิดความตระหนักว่า การพัฒนาด้านโภชนาการของนักเรียนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น ครูแกนนำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการโภชนาการ  มีทักษะในการผลักดันให้เกิดกิจกรรม สามารถจัดการการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนได้” เป็นต้น

 
             OM มองว่าถ้าจะให้ Mission ของโครงการบรรลุผลได้ ครูแกนนำ (Direct Partner ของโครงการ) จะต้องมี “คุณสมบัติ” หรือ “ขีดความสามารถ” ตามนี้ ส่วนวิธีที่จะดูว่ามี “ความก้าวหน้า” ในการพัฒนามากน้อยเพียงใด ก็ให้ดูจากได้จาก “Progress Marker”
 
            Progress Marker เป็นการระบุว่าอะไรบ้างที่ถือว่าเป็น “สัญญาณ (Sign)” หรือเป็น “เครื่องหมาย (Marker)” ที่บ่งบอกว่าเราก้าวหน้า (Progress) หรือพัฒนาไปถึงไหนแล้ว โดยแบ่งระดับความก้าวหน้าออกเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ คือ


  1. ระดับ “Expect to see”  คือ สิ่งที่คาดว่าน่าจะต้องมี น่าจะต้องเห็น เรียกว่าเป็น “Minimum Requirement” ก็น่าจะได้
  2. ระดับ “Like to see” คือ สิ่งที่อยากให้เกิด สิ่งที่อยากจะเห็น และ
  3. ระดับ “Love to see” คือ สิ่งที่เกิดได้ก็ดี เป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังไว้ในตอนแรก แต่ถ้าได้ก็ถือว่าเป็น “Extra” ถือว่าเป็น “เซอร์ไพร์ส” อะไรทำนองนั้น
 
           จากตัวอย่างข้างต้น ถ้านำ OC ของครูแกนนำ มาจัดทำเป็น Progress Marker ก็อาจได้อะไรในทำนองนี้ (ดูตัวอย่างข้างล่าง)
 
Expect to see
- ครูแกนนำเข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ
- ครูแกนนำเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง
- มีความเข้าใจโครงการและพานักเรียนปฏิบัติ
Like to see
- สามารถดำเนินโครงการได้ถูกต้องตามแผน
- มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์กิจกรรมได้เอง
- มีทักษะในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนของตนได้
- สามารถบูรณาการเนื้อหาด้านโภชนาการเข้าสู่สาระวิชา
Love to see
- สามารถจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับพื้นที่เพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการได้ (ประยุกต์ไปใช้)
- สร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ได้
- ผลักดันให้ครูและนักเรียนนำกิจกรรมไปขยายผลต่อในครอบครัวและชุมชน
 
            จะเห็นได้ว่า Progress Marker ทำให้เราสามารถ Monitor หรือ ติดตาม ความก้าวหน้า เกี่ยวกับการพัฒนาของ DP ซึ่งในที่นี้ก็คือ “ครูแกนนำ” ได้ . . . บางท่านอาจเกิดคำถามขึ้นมาว่า "แล้วทำไมเราจึงต้องไปให้ความสนใจในครูแกนนำด้วย" . . . คำตอบที่รวบลัดก็คือ. . .  ครูแกนนำเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้พันธกิจที่เขียนไว้บรรลุผลได้นั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 326211เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2010 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท