สิบปีข้างหน้า 2020 /2563


วารสารเนเจอร์ฉบับแรกของทศวรรษนี้ (ค.ศ.2010) ได้ถามความคิดเห็นนักวิจัยแนวหน้าของแต่ละสาขาว่า นับจากจุดที่อยู่นี้ไปในอนาคตอีกสิบปีข้างหน้า จะเป็นอย่างไร คือวิสัยทัศน์ ปี ค.ศ. 2020 หรือ พ.ศ. 2563

1. การค้น (search)
   Peter Norvig ผู้อำนวยการงานวิจัยที่กู๊เกิล กล่าวว่า

  • เนื้อหาจะผสมทุกอย่าง ตัวหนังสือ คำพูด ภาพนิ่งและวิดีโอ ประวัติการใช้ในการติดต่อกับผู้ร่วมงาน เพื่อน แหล่งข้อมูล และพร้อกซี่
  • ยังมีตัวตรวจรับเซ็นเซอร์ (sensor) จากอุปกรณ์ระบบบอกตำแหน่งบนโลก (Global positioning system devices), ตัวตรวจรับทางการแพทย์และอื่นๆ
  • การค้นส่วนใหญ่ใช้เสียงพูด (ไม่ใช้การพิมพ์)
  • เริ่มมีการทดลองผ่านการติดต่อสัญญาณสมองผู้ใช้โดยตรง
  • ผลจากการค้นจะประมวลสังเคราะห์ออกมา (ปัจจุบันเพียงแค่รายชื่อเอกสารที่ค้นได้------ อันนี้ผมว่าจะดีมากถ้าทำเหมือนการทบทวนวรรณกรรม (literature review) เรื่องที่กำลังสนใจให้เลย คงยากแต่ถ้าได้การรวบรวมผลการทดลองจากงานวิจัยที่เผยแพร่จะไวแบบเป็นปัจจุบันมากๆ---อย่างไรก็ตามอาจใช้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องๆนั้นมาปรับแก้อีกที)
  • ผลที่ได้จะแปลทุกภาษามาสู่ภาษาของผู้ใช้ (ภาษาไทยด้วยเปล่า?)
  • โปรแกรมการค้น (search engine) จะหาวิธีวัดคุณภาพโดยวิธีที่ไม่ได้อิงจากความนิยมอย่างเดียว แต่จะหาทั้งความตรงกันกับเรื่องที่ค้นหาและคุณภาพด้วยคือ ความถูกต้อง ประโยชน์ สามารถเข้าใจได้ และเป็นอิสระหรือไม่ขึ้นกับสิ่งที่ถาม วิธีการคือจะพัฒนาแบบจำลองหลายอย่างขึ้นมาใช้



2. ไมโครไบโอม
David A. Relman หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อที่ระบบดูแลสุขภาพ Veterans Affairs Palo Alto แคลิฟอร์เนีย

  • เรื่องนี้พันคำเคยเขียนบันทึก ถ้าใครไม่รู้อะไรเลยลองอ่านอาจเป็นประโยชน์และเข้าใจขึ้น
  • จะศึกษาลงรายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่อาศัยในมนุษย์ และตอบคำถามหลายอย่าง รวมทั้งร่างกายมนุษย์ควบคุมองค์ประกอบจุลินทรีย์ชนิดต่างๆที่รวมๆกันอยู่ในร่างกายได้อย่างไร มีการคัดเลือกชนิดในกลุ่มจุลินทรีย์เหล่านั้นไหมถ้ามีทำได้อย่างไร
  • การที่ศึกษาจุลินทรีย์ที่อาศัยกับเรามากยิ่งขึ้น ก็จะรู้ว่าในลักษณะใดทำให้ร่างกายมีสภาวะสุขภาพที่ดี (คือจุลินทรีย์ที่อาศัยกับมนุษย์นี้มีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ตลอดเวลา)



3. การแพทย์เฉพาะรายบุคคล
    David B. Goldstein มหาวิทยาลัยดุ๊ค

  • การค้นพบที่สำคัญสองอย่างจะกำหนดการศึกษาเกี่ยวกับโรคในช่วงสิบปีต่อจากนี้ คือ
    • การผันแปรทางพันธุกรรมที่พบทั่วไปน่าจะมีส่วนไม่มากในการที่จะทำให้คนๆหนึ่งเกิดโรคที่พบบ่อยๆ
    • แต่การผันแปรที่พบน้อยมากๆสามารถส่งผลมากมายในการเกิดโรคในคน
  • การทำนายที่เขาคิดว่าอาจเป็นได้ คือ
    • การที่สามารถบอกความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากพันธุกรรมที่สำคัญๆและนำมาใช้ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์
    • การรักษาด้วยยาที่ปรับขนาดตามความแตกต่างทางพันธุกรรมของแต่ละคน
    • การหาปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่จะใช้เป็นเป้าหมายของคิดค้นยาใหม่สำหรับ โรคจิตเภท (schizophrenia) ลมชัก และมะเร็ง
  • ในสิบปีข้างหน้า คนเป็นล้านๆคนจะหาลำดับเบสทั้งยีโนมของตนเองแล้ว แล้วจะมีการรายงานว่าจะเสี่ยงอะไรบ้าง ดังนั้นตอนนี้จะต้องมาคิดพิจารณาว่าเมื่อตอนยุคที่ทำนายโรคของแต่ละคนที่อาจเสี่ยงกันแล้วจะต้องเตรียมรับมือทางด้านปฏิบัติและทางจริยธรรมอย่างไรบ้าง






หัวข้อต่อๆไป จะมาบันทึกย่อๆต่อ (ถ้าไม่มาหรือมาช้ามาสาย ท่านผู้อ่านก็ไปอ่านเองที่มาข้างล่าง) ครับ

4. พลังงาน
5. สุขภาพจิต
6. Hominin plaleontology
7. ชีววิทยาสังเคราะห์
8. มหาวิทยาลัย
9. Global governance
10. Astronomy
11. การค้นหายาใหม่
12. Demographics
13. เคมี
14. NIH
15. ดิน
16. เลเซอร์
17. นิเวศวิทยา
18. Metabolomics


OPINION
NATURE|Vol 463 พฤหัสบดี 7 January 2010

คำสำคัญ (Tags): #2020#2563
หมายเลขบันทึก: 325686เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท