ภาษาถิ่นใต้


                ภาษาไทยถิ่นใต้.........  นายสมเกียรติ  คำแหง

                ภาษาไทยถิ่นใต้ คือ ภาษาย่อยของภาษาไทยที่ใช้แตกต่างไปตามท้องถิ่นต่างๆ ในภาคใต้ของประเทศไทย

     แต่เดิมมา เมื่อกล่าวถึงภาษาไทยถิ่นใต้จะหมายถึงภาษาไทยถิ่นที่ใช้พูดกันใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้                                                                     

ต่อมาผลการศึกษาค้นคว้าของนักภาษาศาสตร์บางคนพบว่า พื้นที่ที่เกี้ยวข้องกับภาษาไทยถิ่นใต้ยังไกลเกินกว่าที่กล่าวมา กล่าวคือทางภาคใต้ตอนเหนือครอบคลุมไปถึงพื้นที่ระหว่างบ้านน้ำตก ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก กับบ้านกรูด ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณดั่งกล่าวนี้เป็นเขตแบ่งระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ ( วรรณพร ทองมาก : ๒๕๒๕ ) ส่วนทางภาคใต้ตอนใต้การใช้ภาษาไทยถิ่นใต้มีอาณาเขตครอบคลุมไปจนถึงภาษาไทยถิ่นต่างๆที่มีผู้พูดกันอยู่ในประเทศมาเลเซีย

การแบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้

     การแบ่งกลุ่มของภาษาไทยถิ่นใต้อย่างละเอียดนั้นยังไม่อาจกำหนดให้แน่นอนตายตัวได้ แต่อาศัยผลการศึกษาค้นคว้าที่มีอยู่ในขณะนี้ เราอาจแบ่งกลุมในภาษาไทยตอนใต้อย่างกว้างๆและครอบคลุมเขตพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยถิ่นใต้ได้เป็น ๓ กลุ่ม ที่สำคัญ คือ

      ๑ กลุ่มภาคใต้ตอนเหนือ และเขตพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดกันในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์(ตอนล่าง) ชุมพร สุราษฏร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต

     ๒ กลุ่มภาคใต้ตอนกลาง และเขตพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดกันในจังหวัด กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลาบางอำเภอ ( ระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ )

     ๓ กลุ่มภาคใต้ตอนใต้ มาเลเซีย ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดกันในเขตพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลาบางส่วน (ยกเว้นระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์) สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ตลอดจนภาษาไทยถิ่นต่างๆที่พูดกันในประเทศมาเลเซีย กลุ่มนี้อาจแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม

         ๓.๑ กลุ่ม ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไทรบุรี ปะลิส

         ๓.๒ กลุ่มตากใบ – กลันตัน

โครงสร้างของคำ

      โครงสร้างคำในภาษาไทยถิ่นใต้ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากภาษาไทยกรุงเทพฯ เพียงแต่มีบางลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

     ๑ คำ ๒ พยางค์ในภาษากรุงเทพฯ ที่เป็นคำซ้อน จะเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาไทยถิ่นใต้ ตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                    ถิ่นใต้

โยกย้าย                       ย้าย

     ตรากตรำ                    ตราก

     เข็ดหลาบ                    หลาบ

  ปกคลุม                       คลุม

         การงาน                       การ/งาน

                              ชดใช้                           ชด ( ออกเสียง ช็อด )

    

     ๒ คำ ๒ พยางค์ในภาษากรุงเทพฯ ที่เป็นคำประสม จะเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาไทยถิ่นใต้ ตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                    ถิ่นใต้

ตัวผู้                             โผ้

ตัวเมีย                           เหมีย

ติดอ่าง                          อัง

ข้าวเม่า                          หม้าว

พริกไทย                        พริก

    

     ๓ คำ ๒ พยางค์ที่พยางค์แรกเป็นเสียง อะ ในภาษาไทยกรุงเทพฯ จะเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาไทยถิ่นใต้ ตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                      ถิ่นใต้

                        กระโดด                         โดด โลด ( กลันตัน )

ตะเกียง                            เกียง

ตะวัน                               หวัน

  ฉลาก                                หลาก

สะดือ                                ดือ

 

      ๔ คำพยางค์เดียวในภาษาไทยกรุงเทพฯ จะเป็นคำ ๒ พยางค์ ในภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้บางถิ่น พยางค์ที่ ๒ ที่เพิ่มขึ้นเป็นพยางค์ที่เติมเข้าไปข้างหน้าคำ โดยที่ไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง ตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                    ถิ่นใต้

      ด่วน                            กึด๊วน ( นราธิวาส )

   ดีด                               กึดี๊ด ( นราธิวาส )

ถัง                               กะถุง ( ชุมพร )

กล่อง                           กะกุบ ( ชุมพร )

  จาม                              กึจ๋าม ( กลันตัน )

   เขียด                             ตึเขียด ( กลันตัน )

 

     ๕ คำพยางค์เดียวในภาษาไทยกรุงเทพฯ จะเป็นคำ ๒ พยางค์ ในภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้บางถิ่น ตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                   ถิ่นใต้

        เมฆ                            ขี้ลม  ขี้เมฆ

                              ยุ้ง                               เรินข้าวห้องข้าว ( ปะลิส )

เล้าข้าว ( ไทรบุรี )

                                                        ยาย                      แม่แก่ แม่เฒ่า

แม่ตน ( ปะลิส )

         ตา                               พ่อแก่ พ่อเฒ่า

พ่อตน ( ปะลิส )

                                           ด้าย                             เชียกด้าย ( กลันตัน ไทรบุรี ปะลิส )

การสร้างคำ

      การสร้างคำขึ้นมาใช้ใหม่ในภาษาถิ่นใต้มีทั้งการซ้ำคำ การซ้อนคำ และ การประสมคำ ทำนองเดียวกับภาษาไทยกรุงเพทฯ ในที่นี้จะกล่าวถึงการสร้างคำเฉพาะที่แตกต่างจากภาษากรุงเทพฯ เท่านั้น คือ

     ๑ การซ้ำคำลักษณะนาม ซึ่งเมื่อซ้ำกันแล้วจะทำให้มีควายหมายได้ ๒ อย่าง คือ มีความหมายว่า “ แต่ละ ” และมีความหมายเฉพาะลงไปว่า “ แต่ละ...โต” หรือ “ แต่ละ...เล็ก ” ก็ได้ ( วิจินตน์ ฉันทะวิบูลย์ ๒๔๙๙:๑๙0 - ๑๙๑ )

         ๑.๑ การซ้ำคำลักษณะนามเพื่อให้มีความหมายว่า “ แต่ละ ” ตัวอย่าง เช่น

นาบิ้งบิ้งแพง “นาแต่ละแปลงแพงมาก”

ไข่แป็ดหน่วยหน่วยเอียด “ไข่เป็ดแต่ละฟองเล็กมาก”

ข้าวแกงชามชามเติบ “ข้าวแกงแต่ละจานโตมาก”

         ๑.๒ การซ้ำคำลักษณะนานเพื่อให้มีความหมายเฉพาะลงไป “แต่ละ...โต” หรือ “แต่ละ...เล็ก” การซ้ำคำลักษณะนานในกรณีนี้เป็นการซ้ำคำลักษณะนานอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีคำอื่นๆ ตามหลัง ส่วนจะให้มีความหายว่า “...โต” หรือ “...เล็ก” นั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสิ่งที่กล่าวถึงว่ามีขนาด “โต” หรือ “เล็ก” และเท่าที่สังเกต พบว่าถ้ามีเจตนาจะชมมักใช้ในความหมายว่า “แต่ละ...โต” ในทางตรงกันข้ามจะใช้ในความหมายว่า “แต่ละ...เล็ก” เมื่อต้องการจะติ

ตัวอย่าง เช่น

โลกเรียนนี้ “ หน่วยหน่วยนะ” ( ใช่เมื่อต้องการจะชมว่า “ทุเรียนแต่ละผลโต” หรือต้องการจะติ ว่า “หนวยเท่าเต็ด”    ( “ทุเรียนแต่ละผลเล็ก” ) 

ปลานี้ตัวตัว ( ใช้เมื่อต้องการจะชม ว่า “ปลาแต่ละตัวโต” หรือต้องการจะติ ว่า “ปลาแต่ละตัวเล็ก” ) ปลานี้ ตัวเอียด

ผักนี้กำกำ ( ใช้เมื่อต้องการจะชม ว่า “ผักแต่ละกำโต”   หรือต้องการจะติ ว่า “ผักแต่ละกำเล็ก” )

และตะกำเท่าหิด

      ๒ การซ้ำคำที่ใช้ในการเรียกสัตว์ ไล่สัตว์เลี้ยง หรือ ต้องการให้สัตว์ทำตามความต้องการของตน

ตัวอย่าง เช่น

เสียงเรียกไก่                 : กรู้กรู้ กรุ๊กกร๊ก กรู๊กกรู๊ก อู๊กอู๊ก

เสียงเรียกเป็ด               : ก๊าบก๊าบ แก๊บแก๊บ หรี้หรี้ กิ๊บกิ๊บ

เสียงเรียกหมู                : อัวอัว อู๊ดอู๊ด

เสียงพูดให้ควายหยุด   : เชียมเชียม เฉี่ยมเฉี่ยม เดียมเดียม

เสียงพูดให้ช้างหมอบ  : ซูมซูม โซมโซม เชิมเชิม

เสียงไล่ไก่                    : เชือะเชือะ ฉูฉู ฉีฉี

เสียงไล่สุนัข                 : แฉแฉ ชึ่ยชึ่ย ฉีฉี

     ๓ คำประสมที่เรียงลำดับคำสับที่กับภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                       ถิ่นใต้

ข้าวตัง                            ดังข้าว

                      แท้งลูก                           โลกหลวน ( ลูกแท้ง )

หลวงพี่                            พี่หลวง

หลวงตา                           ตาหลวง

เลือดออก                       ออกเลือด

 

     ๔ คำประสมที่ใช้คำบางคำนำหน้าเพื่อเน้นความหมายเฉพาะถิ่น ตัวอย่าง เช่น

                           อ้าย – อ้ายบ่าว                   “พี่ชาย เด็กผู้ชาย”

                                          แม่ – แม่เริน                      “ตัวเรือนใหญ่”

                           ขี้ -  ขี้ลม                            “เมฆ”

                                หัว – หัวล่อง หัวส้อน      “ส้นเท้า”

                           สาย – สายเอว                  “เข็มขัด”

                          เต็ม – เต็มสาว                  “โตเป็นสาวเต็มที่”

                                พุง – พุงลั่น                      “ท้องร้อง”

                   พุงใหญ่                         “ทั้งครรภ”                         

                           ทำ – ทำแส                       “กระเง้ากระงอด”

                           ออก – ออกกาก                “ซนจนเสียเด็ก”

หมวดคำ

    คำต่างๆในภาษาไทยถิ่นใต้ สามารถจำแนกออกเป็นหมวดต่างๆ ได้เช่นเดียวกับหมวดคำในภาษาไทยกรุงเทพฯ เพียงแต่ลายละเอียดของคำแต่ละหมวดแตกต่างกันไปบ้าง

ตัวอย่าง เช่น

      ๑ คำลำดับเครือญาติซึ่งเป็นคำในหมวดคำนาม มีดังนี้

กรุงเทพฯ                       ถิ่นใต้

-                                                                                  ลา ( ไทรบุรี ) โคตรลา ( พัทลุง )

      แปลง                                    ลวด

ทวด                               ทวด

       ปู่                                    โป พ่อแก่

       ย่า                                    ย่า แม่แก่

                                             ตา                                    ตา พ่อแก่ พ่อเฒ่า พ่อเติน พ่อตน

                                            ยาย                                   ยาย แม่แก่ แม่เฒ่า แม่เติน แม่ตน

      พ่อ                                    พ่อ บิดา

                                 แม่                                    แม่ มารดา นม(ปากพนัง)

  ลุง                                     ลุง ลูง

ป้า                                     ป้า

น้า                                     น้า

            อา                                      น้า  สาว

                     ลูก                                     โลก ลูก  หนุ่ย

      หลาน                                 หลาน

              เหลน                                  เหลน เหล็น

              หลิน ( โหลน )                   หลิน เหล่อ

๒ คำนำหน้านาม

กรุงเทพฯ                              ถิ่นใต้

นาย                                       นาย

                     นาง                                       นาง กือ ( กลันตัน )

                  นางสาว                                 นางสาว นาง กือ

                          เด็กชาย                                  อ้าย แอ อี ( กลันตัน )

   เด็กหญิง                                อี อี้ กือ

อ้าย ( ไม่สุภาพ )                    อ้าย

อี ( ไม่สุภาพ )                        อี อี้

ข้อสังเกต

     ผู้ชายที่อุปสมบทแล้วสึกออกมา นิยมใช่ “เณร” นำหน้า เช่น เณรดำ เณรคง เป็นต้น

     ผู้ชายที่กำลังอุปสมบทเป็นพระอยู่ จะใช้คำว่า “จ้าว” นำหน้า เช่น พระดำ จะใช้คำว่า จ้าวดำ

พระเขียว จะใช่คำว่า จ้าวเขียว เป็นต้น ในภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้หลายถิ่นนิยมใช่ “ต้น”

( ออกเสียงเป็น ต้อน ) นำหน้าชื่อ เช่น ต้นดำ ต้นเขียว เป็นต้น

                                                             ๓ คำลักษณะนาม

กรุงเทพฯ                                ถิ่นใต้

ฝนหลายเม็ด                           ดอก

ช้าง ๗ เชือก                            ตัว

                                  มะพร้าว ๓ ผล                        หน่วย แม็ด ( กลันตัน )

ยักษ์ ๒ ตน                              ตัว

พระสงฆ์ ๕ รูป                       องค์

                                                   ไข่ ๓ ฟอง                               ไข่ ( กลันตัน ) หน่วย เม็ด ( ตากใบ )

        เลื่อย ๒ ปึ้น                              สาย อัน

        ขลุ่ย ๓ เลา                                บอก อัน

                      มุ้ง ๒ หลัง                                หน่วย ตีน ( ตรัง )

             ๖ คำบุพบท ส่วนใหญ่ตรงกับภาษาไทยกรุงเทพฯ มีเพียงบางคำเท่านั้นที่ใช่แตกต่าง เช่น

                                                    กรุงเทพฯ                               ถิ่นใต้

                                                พ่อไปกับแม่                           ด้วย ตับ

                                                น้องมาจากไหน                      แต่ จี้

                                                เครื่องบินบินอยู่เหนือศีรษะ    บน (บินอยู่บนหัว)

การเรียงลำดับของคำ

       การเรียงลำดับของคำในภาษาไทยถิ่นใต้ส่วนใหญ่ตรงกับคำในภาษาไทยกรุงเทพฯ มีเป็นส่วนเล็กน้อยที่แตกต่างกัน คือ

            ๑ .เรียงลำดับคำสับที่กับคำที่ใช้ในภาษาไทยกรุงเทพฯ เช่น

                                กรุงเทพฯ                                   ถิ่นใต้

                                ข้าวตัง                                        ดังข้าว

                                บ่อน้ำ                                         น้ำบ่อ (อ. ถลาง ภูเก็ต)

                                แท้งลูก                                       โลกหลวน (ลูกแท้ง)

                                เลือดออก                                     ออกเลือด

  ๒. คำขยายอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย

                                กรุงเทพฯ                                      ถิ่นใต้

                                เขาเรียนไม่เก่ง                               เค้าไม่ชั่งเรียน

                                                      ยากทำ (กลันตัน ไทรบุรี ตากใบ)

                                เรียนเก่ง                                         จัดเรียน (ตากใบ กลันตัน) เรียนดี

                                เที่ยวมาก                                        จัดเร (ตากใบ กลันตัน) เที่ยวอี้ตาย

                                รู้ไม่เท่าไร                                       ไม่เท่าใดโร้ (รู้) (ไทรบุรี กลันตัน)หมารู้หม้าย

     ๓. การเรียงลำดับคำสับที่ระหว่างกริยาสกรรมกับคำว่า “ไม่” ในประโยคที่ใช่คำว่า “ไม่ได้     ไม่ถึง ไม่ออก ไม่เป็น ฯลฯ” เพื่อบอกความปฏิเสธ ซึ่งปรากฏเฉพาะในภาษาย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้บางถิ่น เช่น ชุมพร สุราษฎร์ธานี ไทรบุรี และ ปะลิส เป็นต้น

ตัวอย่าง เช่น

   ๔. การเรียงลำดับคำสับที่ของคำจำนวนนับบางคำ คือ “หนึ่งร้อย” หรือ “หนึ่งพัน” เมื่อปรากฏในประโยคของภาษาย่อยในภาษาไทยถิ่นใต้บางถิ่น

ตัวอย่าง เช่น 

                                กรุงเทพฯ                                        ถิ่นใต้  

                                ฉันมีเงินหนึ่งร้อยบาท                     ฉันมีเงินร้อยหนึ่งบาท

                                พ่อขายไก่หนึ่งพันตัว                       พ่อขายไก้พันหนึ่งตัว

ความหมายของคำ

        ๑.  คำที่ใช้ในความหมายต่างกันกับคำในภาษาไทยกรุงเทพฯตัวอย่าง เช่น

กรุงเทพฯ                                  ความหมายที่ใช้ต่างกัน

“กอง”                                      ว. มาก เช่น งานนี้คนมากอง “งานนี้คนมามาก”

“กาก”                                       น. รูปตลกและรูปเบ็ดเตล็ดหนังตะลุง เรียกรูปกาก

                                                   ว. เศษ เดน เลว เช่น อ้ายกาก “คนเลว คนเหลือเดน”

“กิน”                                         ก.๑ บาด เช่น มีดกินมือ “มีดบาดมือ”

                                                    ๒ ไหม้ เช่น ไฟกินเริน “ไฟไหม้บ้าน”

                                                    ว. คม เช่น พร้านี้กินจัง “พร้าเล่มนี้คมมาก”

“ชก” (ช็อก)                               ก. ผูก (กลันตัน ไทรบุรี ปะลิส) เขาช็อกเชียกเกือก

                                                    “เขาผูกเชือกรองเท้า”

        ๒. คำคนละรูปคำ แต่ในภาษาไทยถิ่นใต้และภาษาไทยกรุงเทพฯ ใช้ในความหมายเดียวกัน

ตัวอย่าง เช่น

                กรุงเทพฯ                                       ถิ่นใต้

                ก้น                                                 วาน ดาก ด๊าก

                ผ้าเช็ดหน้า                                      ผ้านุ้ย โลกผ้า ผ้าผี้ง

                ถ่านไฟฉาย                                     โลกไฟ โลกอยาเกียง โลกน้ำอยา

                หม้ออะลูมิเนียม                               หม้อแหล็ก หม้อขาว หม้อแหล็งแฉ็ง

                มะม่วงหิมพานต์                               หัวคล็อก ยาร่วง กาหยี  กาหมู แล็ดล่อ แตแหร ย่าหงุย กึแหร

                มะละกอ                                           ลอกอ กล้วยหลา(สตูล) แตงต้น (ไทรบุรี)

                สับปะรด                                          ย่าหนัด มะลิ แอ้หนัด

 

          ๓. คำที่มีใช้เฉพาะภาษาไทยถิ่นใต้ ตัวอย่าง เช่น

                                คำ                                              ความหมาย

                กัก                                             เงิน ๑๐ เซ็นต์ (มาเลเซีย)  (๑ เหรียญ เท่ากับ๑๐ กัก)

                โขก                                           เงิน ๕0 สตางค์ (๑ บาท เท่ากับ ๒ โขก)

                ไต                                              ชื่อหน่วยมาตราชั่ง ๑ไต เท่ากับ ๑00 กรัม หรือ ๑ ขีด

                หมอดอย                                    หมอผู้ทำพิธีกำราบผีไม่ให้ดุร้าย

                ลา โคตรลา                                ลำดับเครือญาติชั้นที่สูงขึ้นกว่า “ทวด” ๒ ชั้น

                ลวด                                           ลำดับเครือญาติชั้นที่สูงขึ้นไปกว่า “ทวด” ๑ ชั้น

                ออ (อ-ออกเสียงนาส

คำสำคัญ (Tags): #ภาษา
หมายเลขบันทึก: 325226เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ...เรื่องภาษาไทยถิ่นใต้ผมยกให้ท่าน อ.ดร.ฉันทัส ทองช่วย ม.ทักษิณ ท่านเป็นคนเชี่ยวชาญมากๆครับ

สุขสันต์ทุกวันคืนครับ

ศิษย์พ่อชิตกะแม่เนียร

คำจาดบาดหมายถึงอะไร

และช้วยเรียงความมาให้ทีนะหนึ่งหน้ากระดาษ

ขอบคุณคะ

จาดบาดหมายถึง ฟุ่มเฟื่อย ไม่ประหยัด ทานอาหารไม่หมดเหลือทิ้งคว้าง

เด็กนี้กินข้าวจาดบาด เหลือไว้หมูไว้หมา

ครูดำ ต้องการ เนื้อหา แห่ผ้าขึ้นธาตุ

คำที่ต้องการน้อยจังนะ

ช่วยเพิ่มคำ

หน่อยสิจ๊ะ

มะละกอ=ลอกอ

ชมพู่=ชมโพ่

มม่วง=ลูกม่วง

แม่=แหม่

พรุ่งนี้=ต่อเช้า

พอแค่นี้ก่อนเดี๋ยว

มา

ให้ใหม่

เเอผผไะัใฝ

แกสวว มวิอกเเาืิแด

ugbbgdjll,,l

สิรินันท์ แก้วยัง

คำที่ต้องการน้อยจังนะ

ช่วยเพิ่มคำ

หน่อยสิจ๊ะ

555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555

Thank you มากๆๆ ค่ะ

เป็รประโยชน์อย่างมาก

 

อยากรู้การอนุรักษ์ภาษาถิ่นใต้ค่ะ

ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

โด็ก ในภาษาใต้มีความหมายไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท