โจทย์โลกแตก ภาษาไทยเพลินๆ และ AI


Appreciative Inquiry เพื่อการวิจัยการเรียนการสอนภาษาไทย (ตอน 6)

เรื่องนี้เขียนเพื่อครูภาษาไทยที่เขียนมาถามผมครับ

โดยทั่วไปการทำ AI Project สามารถทำได้หลายแนวทางครับ เหมาะกับสภาพการณ์ในขณะนั้นครับ ไม่จำเป็นต้องทำคนเดียวครับ เช่นเมื่อวานมีลูกเจ้าของสำนักงานประกันภัยมาคุยกับผม เขาสนใจทำ AI Project ถามว่าจะทำแบบไหนดี ก็คุยไปเรื่อย เขาบอกว่าเขาเป็นลูกเจ้าของสำนักงาน ทุกเดือนจะมีการคุยกันประชุมกันระหว่างลูกเจ้าของสำนักงาน ผมก็เลยบอกเขาว่าอย่างนี้เขาเหมาะกับการทำ Positive Change Consortium

Positive Change Consortium ก็คือเป็นการทำ AI สำหรับคนที่ทำงานต่างองค์กร อาจเป็นองค์กรประเภทเดียวกัน หรือต่างประเภทกันก็ได้ มาหารือกันเพื่อหาทางประยุกต์ใช้ AI ในองค์กรของตนครับ สำหรับคุณครู ครูภาษาไทย ครูวิทยาศาสตร์ ระดับประถม มัธยม และภูมิปัญญาชาวบ้าน อาจมาหารือกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ AI ในการเรียนการสอน สักสัปดาห์ละครั้ง คุยแบบสุนทรียสนทนาก็ได้ จากนั้นต่างคนต่างกลับไปทดลองขยายผล (สามารถทำผ่าน Gotoknow เป็น KM ไปเลยก็ได้ครับ)  ดังนั้นครูภาษาไทยอาจได้แรงบันดาลใจ/วิธีการจากครูวิทยาศาสตร์ ครูระดับประถมอาจได้แรงบันดาลใจ/วิธีการจากการค้นพบของครูอนุบาลก็ได้ครับ นี่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในเครือข่ายของเรา (www.aithailand.org) เราก็ทำแบบนี้บ่อยๆครับ เราเคยเอาวิธีการของร้านขายปุ๋ย ไปใช้กับร้านจินตคณิตแล้วได้ผลครับ (ประชาสัมพันธ์ให้เกิดยอดซื้อครั้งแรก) เรายังเคยเอาวิธีการของร้านรับซื้อข้าวโพดไปใช้กับร้านทองก็ได้ผลครับ (กระบวนการสร้างยอดซื้อครั้งที่สอง) 

Positive Change Consortium เหมาะสำหรับงานประเภทท้าทายไม่ค่อยมีใครทำ หรือโจทย์ยากๆ ซึ่งบางครั้งความรู้ หรือความคุ้นเคยในสาขาเดียวกัน/ที่ทำงานที่เดียวกันอาจไม่พอครับ เช่นโจทย์ว่า “ทำอย่างไรจะแก้ปัญหาเด็กอ่านหนังสือไม่ออก” เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องใหญ่ระดับ Positive Change Consortium ครับ ต้องอาศัยความร่วมมือสืบค้นหลายฝ่าย อาจต้องรวมเอานักจิตวิทยาเข้ามาด้วยก็ได้ เป็น AI ที่เหมาะกับปัญหาโลกแตกครับ

คำสำคัญ (Tags): #appreciativve inquiry#ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 323836เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับ...ยังคงตามติดครับ

สุขสันต์ทุกวันคืนครับอาจารย์

อาโญคะ

Positive Change Consortium เหมือนหรือต่างยังไงกับ

Cross functional คะ

ช่วยไขปัญหาคาใจด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

jw

ตอบ JW

คล้ายๆกันถ้าต่างสายงานและมีอำนาจตัดสินใจสูงมากๆ เราเรียกว่า Positive Change Consortium ถ้าอำนาจตัดสินใจน้อย ต้องรายงานนายอันนี้เราเรียกว่า AI Learning Team ครับ

ดูซับซ้อนเหมือนกันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท