สามแม่ครัว AI แบบ Retro และภาษาไทยเพลินๆ


Appreciative Inquiry เพื่อการวิจัยการเรียนการสอนภาษาไทย (ตอน 5)

เขียนสำหรับผู้สนใจทำวิจัยภาษาไทยนะครับ ที่ถามผมมา

เมื่อ 7-8 ปีก่อน ลูกศิษย์ของผมรายหนึ่ง เขากับพี่สาวสนใจทำธุรกิจ เราก็เลยมาคิดหาโอกาสว่าจะทำอะไร เขาเล่าให้ฟังว่า พี่สาวเขาจบครุจุฬา ปริญญาโทสาขาภาษาไทย พี่สาวเขาตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมเด็กยุคนี้อ่านภาษาไทยได้ช้าจัง ผมก็เลยบอกลูกศิษย์ว่า “งั้นคุณลองไปถามคุณแม่ดูว่า ตอนคุณแม่เด็กๆ เรียนภาษาไทยอย่างไร” แล้วเธอกับพี่สาวก็ลองไปศึกษาวิธีการสอนภาษาไทยของคนรุ่นก่อน ปะติดปะต่อ (คุณแม่ก็เป็นครูสอนภาษาไทย) ลองเอามาสอนแล้ว ค้นพบว่าเด็กเรียนได้ดีขึ้นจริงๆ และนี่เป็นจุดเริ่มธุรกิจโรงเรียนรับสอนภาษาไทยแห่งหนึ่ง ที่ยังดำเนินกิจการมาถึงปัจจุบันครับ และยังจะขายแฟร็นชซน์ได้ด้วย   (จากต่างจังหวัดไปกรุงเทพ) ตอนนั้นผมไมรู้จัก AI ครับ แต่จะเห็นว่าคล้ายๆ AI มากครับ ปัจจุบันมีหลายกรณีศึกษาที่ใช้แนวทางนี้ อันนี้เรียกว่าการทำโครงการ AI แบบย้อนยุค (Retro AI) ใช้การสังเกตนำทาง แล้วค่อยไปถามเป็นรายๆ เมื่อเช้าผมเลยถามแม่บ้าน สามรายเป็นสุภาพสตรี ทั้งหมดล้วนอ่านหนังสือได้ตอนป. 1 ครับ (เรียนหลักสูตรเก่า) ผมถามว่า “ตอนเด็กๆ ชอบเรียนภาษาไทยตอนไหนที่สุด”

Discovery

คนแรกอายุ 45 ปี “ถ้าไม่เข้าใจ ครูจะสอดแทรกเรื่องขำขันเข้ามา “ ปัจจุบันยังสะกดคำผิดอยู่ แต่ก็อ่านคล่อง ชอบทำแก้วแตก มีปัญหาครอบครัวมาก ลูกออกจากโรงเรียนกลางคัน

คนที่สองอายุ 30 ปี “ชอบคำสัมผัส คล้องจอง เป็นบทกลอน” ใช้ภาษาไทยได้อย่างขำขัน พูดเก่ง คนนี้เป็นแม่บ้านที่มีความคิดสร้างสรรค์ทำอาหารแบบสร้างสรรค์ เลี้ยงเด็กเก่ง นายรักมาก พึ่งแต่งงาน ครอบครัวเดิมมีปัญหา เป็นโรคภูมิแพ้ตนเอง มีลูกไม่ได้

คนที่สามอายุ 33 ปี “ชอบตรงที่ครูให้เขียนคำเดียว แต่สะกดไม่เหมือนกัน แล้วจะอธิบายว่าคำนี้หมายถึงอะไร” พี่เลี้ยงเด็กที่ดูแลเด็กได้ดีมาก จนกระทั่งเป็นที่ต้องการตัวสูงมาก ใช้ภาษาไทยแบบสื่อสารได้ดี สุภาพเรียบร้อย ครอบครัวอบอุ่น รุ่นลูกการศึกษาดี เรียนเก่งทุกคน (ลูกของพี่น้องด้วย)

 

จุดร่วมที่เราเห็นในสามรายคือ “ครูมีเทคนิค”

 

Dream

เด็กเรียนภาษาไทยอย่างมีความสุข

Design

  1. ทดลองสอดแทรกเรื่องขำขัน ให้เด็กอ่านคำสัมผัสคล้องจอง และอ่านคำเดียว แต่สะกดไม่เหมือนกัน
  2. ลองถามหาเทคนิคจากครูภาษาไทยรุ่นเก่าสักสามคน (ที่เกษียณไปนานแล้ว)  เอาตำราของท่านมาให้เด็กรุ่นใหม่ลองเรียนดู
  3. ให้ครูลองดูสภาพแวดล้อมในครอบครัวเด็กที่มีปัญหาอ่านไม่ออก แล้วเทียบดูกับสภาพแวดล้อมในครอบครัว ภูมิหลังของคนที่เราไปศึกษามา ถ้าคล้ายๆกัน เช่นเจอเด็กที่มีครอบครัวมีปัญหาคล้ายรายที่หนึ่ง อาจต้องใช้เทคนิคการสอนแบบรายที่ 1 อาจดีขึ้นก็ได้

Destiny

ทดลองหนึ่งภาคเรียน

ครูทำ AAR แล้วปรับกลยุทธ์ทุกวัน

สอนนักเรียนทำ AAR แล้วมาเล่าให้ครูฟัง ทำแบบวงสุนทรียสนทนา

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 323835เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เทคนิคการสอนที่ดี
  • เรียนแล้วรู้สึกสนุก
  • มีความสุขแล้วนักเรียนอยากเรียนครับ

ขอบคุณมากครับตามติดเพื่อเกิดแนวทางครับ...ขอบคุณอาจารย์จริงๆครับ

แวะมาเช่นเคยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท