โิอเมกา-3 ช่วยสายตาดีไปนาน [EN]


การศึกษาใหม่พบ โอเมกา-3 หรือไขมันชนิดดีพิเศษ ซึ่งพบมากในปลาทะเล ช่วยให้สายตา (sharp eyesight; sharp = แหลมคม ฉลาด ชัดเจน; eyesight = สายตา) ดีไปนาน และช่วยต้านโรคจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพที่พบบ่อยในคนสูงอายุ [ Reuters ]

...

อ.ดร.จอห์น พอล ซานจิโอวานนี และคณะจากสถาบันโรคตาแห่งชาติ US ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนไข้โรคจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ (age-related macular degeneration / AMD) ระยะเริ่มแรก 1,837 คน ติดตามไป 12 ปี

ผลการศึกษาพบว่า คนที่กินอาหารที่มีโอเมกา-3 มากที่สุด มีตาเสื่อมเพิ่มขึ้นไปสู่ระยะที่ตาเสื่อม-ตาบอดชัดเจน (โรคแย่ลง) น้อยกว่าคนที่กินน้อย 30%

...

AMD เป็น โรคที่จอรับภาพหรือเรตินา (retina) ส่วนกลาง (เรียกว่า 'macular') เสื่อมสภาพ ทำให้การมองเห็นภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ ที่พบบ่อยได้แก่ ภาพส่วนกลางบางส่วนเบลอ ฝ่าฟาง มืดไป หรือทำให้การมองเห็นเส้นตรงบิดเบี้ยว ผิดรูป

โรคนี้เป็น 1 ในสาเหตุำสำคัญที่ทำให้คนสูงอายุในประเทศตะวันตก (ฝรั่ง) ตาเสื่อมสภาพจนถึงตาบอดได้

...

คนอเมริ กัน 308.23 ล้านคนเป็นโรค AMD 1.75 ล้านคน = 0.57% หรือประมาณ 6 ในพัน, คนยุโรป 803.85 ล้านคนเป็นโรคนี้ 3.35 ล้านคน = 0.42% หรือประมาณ 4 ในพัน

กลไกที่ทำให้เป็นโรคนี้มีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่การอักเสบหรือธาตุไฟกำเริบ ไขมันชนิดดีพิเศษหรือโอเมกา-3 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ [ internetworldstats ]; [ Census ]

...

โอเมกา-3s (โปรดสังเกตว่า เติม 's' บอกว่า มีหลายชนิด) ชนิดหลักที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่ DHA (docosahexanoic acid) & EPA (eicosapentaenoic acid) 

คนที่กินโอเมกา-3s เช่น ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด ฯลฯ มากพอเป็นประจำ ลดเสี่ยงโรค AMD ได้ 30%

...

ปลาทะเล ที่ผ่านการทอดจะมีการ "ซึมเข้า-ซึมออก" ของโอเมกา-3s คือ น้ำมันปลาจะซึมออกไปในกระทะ และน้ำมันในกระทะจะซึมเข้าเนื้อปลา ทำให้ได้รับคุณค่าจากโอเมกา-3s น้อยลง

โอ เมกา-3s ทนความร้อนสูงได้ไม่ดีเท่าน้ำมันชนิดอื่นๆ... การทอด-ปิ้ง-ย่างทำให้เกิดความร้อนสูงกว่าการต้ม-นึ่ง อาจทำให้โอเมกา-3s บางส่วนเสื่อมสภาพจากความร้อน (เกิดเป็นไขมันทรานส์) ได้ (เหตุผลข้อนี้ไม่แรงเท่ากับการซึมเข้า-ซึมออกของการทอด)

...

ตรงกันข้าม... การกินโอเมกา-3s พร้อมพืชผัก หรือน้ำมันพืชชั้นดีมาก เช่น น้ำมันมะกอก คาโนลา เมล็ดชา รำข้าว ถั่วลิสง ฯลฯ ช่วยให้โอเมกา-3s ถูกทำลายจากออกซิเจนน้อยลง

ภายในร่างกายคนเราก็มีออกซิเจนที่ทำลายโอเม กา-3s ภายในร่างกายได้เช่นกัน จึงควรกินผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกากทิ้ง), และน้ำมันชนิดดีมากเป็นประจำ

...

ผัก ผลไม้ทั้งผล และน้ำมันชนิดดีมากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยปกป้องโอเมกา-3s จากการถูกออกซิเจนทำลายได้

 

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การกินโอเมกา-3s จะได้ผลดีมากขึ้นถ้ากินให้ "บ่อย" มากกว่ากินให้ "มาก", นั่นคือ ถ้าต้องการผลดีที่สุด... ควรกินอย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์

...

กลไกที่เป็น ไปได้ คือ โอเมกา-3s ถูกทำลายได้ง่ายด้วยออกซิเจน ทำให้เกิดการหืน ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นคาวปลา และออกฤทธิ์ได้ดีในช่วงไม่กี่วันแรกหลังกินเข้าไป

การกินให้บ่อยทำให้โอเมกา-3s รุ่นใหม่ หรือทหารผลัดใหม่ เข้าไปทำงานสานต่อโอเมกา-3s รุ่นเก่าได้ต่อเนื่อง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Omega-3s help stave off age-related vision loss' = "โอเมกา-3s ช่วยต้านทานตาเสื่อม-ตาบอดในคนสูงอายุ" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@ [ stave off ] > [ s - เต้ฟ - v - ออฟ; เสียง 'v' พ่นลมเสียงต่ำกว่า 'f' ] > http://www.thefreedictionary.com/stave > verb = ขจัด กำจัด

...

@ [ vision ] > [ วี้ - เฉิ่น (sh); เสียง 'sh' พ่นลม ทำให้เกิดลมรั่วยาวกว่า 'ch' ] > http://www.thefreedictionary.com/vision > noun = สายตา การมองเห็น; 

คำ 'vision' = วิสัยทัศน์ การคาดการณ์อนาคต การมองไปข้างหน้าได้ด้วย

...

@ [ eyesight ] > [ อ๊าย - ไส่ - t ] > http://www.thefreedictionary.com/eyesight > noun = สายตา การมองเห็น

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > Omega-3s help stave off age-related vision loss. December 24, 2009. / Source > Am J Clinical Nutrition, December 2009.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 26 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 323520เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท