ภาษาไทยเพลินๆ AI และ AAR


Appreciative Inquiry เพื่อการวิจัยการเรียนการสอนภาษาไทย (ตอน 3)

วันนี้เขียนให้ครูภาษาไทยท่านหนึ่งที่สนใจใช้ AI แก้ปัญหาการเรียนภาษาไทยเด็กม.ต้น ผมเลยลองถามคนรอบตัวให้ เพื่อช่วยค้นหาความเป็นไปได้ในการทำวิจัยครับ ติชมได้นะครับ

เมื่อเอามาเข้าวงจร 4-D จะได้ดังนี้ครับ

Discovery

เมื่อวานผมได้คุยกับชาวชุมชนรายหนึ่งชื่อคุณสุพิดิศ คนนี้เป็นชาวชุมชนที่อัจริยะด้านการเขียนโปรแกรม มีชาวชุมชนรายหนึ่งยกย่องว่าน้องคนนี้เก่งหลายด้านครับ อายุไม่มากแต่เคยทำงานใหญ่สำคัญมาแล้วครับ ผมถามว่าเด็กๆชอบเรียนภาษาไทยไหม สุพิดิศบอกว่าไม่ชอบครับ  เลยซักต่อ "เอาที่ชอบซักนิดก็ยังดี" เขาก็เลยบกว่า ไม่ชอบเลยครับ ไม่ชอบ ส่วนใหญ่เพื่อนก็ไม่ชอบ กฏเกณฑ์เยอะ "ครูภาษาไทยที่เคยเรียนด้วย เคร่งเครียดเกินไป" ผมเลยถามซักต่อ "เอาอย่างนี้เคยเรียนภาษาไทยกับใครแล้ว OK ไหม" สุพิดิศบอกว่า "มีครับอาจารย์ เคยเรียนกับครูลิลลี่ ครูแกมุขเยอะ เรียนไปเพลินๆ ก็จำได้เอง"

ตัดภาพตรงนี้นะครับ

ตอนเด็กๆ สุพิดิศไม่ชอบภาษาไทยเพราะ ครูเคร่งครัด เคร่งเครียด + กฏหยุมหยิม

ตอนเด็กๆ สุพิดิศชอบภาษาไทย แบบที่ครูลิลี่สอน เพราะเพลินและจำได้เอง

Dream สิ่งที่ควรจะเป็นคือ

ตัวครูมีบุคลิกไม่เคร่งเครียด ปล่อยมุขเป็น

Design

1. ลองทำ AAR หลังเรียน ลองเรียกนักเรียนซักกลุ่มมาถามว่า "วันนี้ที่เรียนมารู้สนุกกตอนไหน ที่เรียนกับครูแล้วเพลิน" อีกคำถามอาจเป็น "เรียนกับครูตอนไหน ชอบที่สุด"

2. เก็บข้อมูลแล้วลองปรับในวันถัดไป ทำซ้ำซักเดือนหนึ่ง

3. ให้นักเรียนทำสุนทรียสนทนา เล่าความรู้สึกดีๆต่อการใช้ภาษา เล่าเหตุการณ์ที่เคยขำๆเกียวกับการใช้ภาษาของตนเอง เพื่อนช่วยร่วม Feedback สนุกๆ

Destiny

เริ่มทดลองทั้งหมด ตั้งแต่มค.-มีค. แล้ววัดผล

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 323115เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เอาง่ายๆไม่ซับซ้อนไปก่อนนะครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์เริ่มจะเห็นภาพขึ้นมาแล้วครับ...แต่มันจะไปช่วยเด็กอ่านไม่ออกได้อย่างไรครับ เพราะเท่าที่ดูจะไปแก้ทัศนคติมากกว่าครับ แต่ยังไงขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่ทำให้ผมเริ่มเห็นทางบ้างกับการทำวิทยานิพนธ์ครับ ว่าแต่ทฤษฎีที่อาจารย์ว่ามาทั้ง ๔ ดี นั้นเราจะอ้างอิงว่าเป็นทฤษฎีของใครหละครับ จะได้พูดคุยกับอาจารย์ได้ครับ

ไม่จำกัดเฉพาะวิชาภาษาไทยอย่างเดียวครับ

วิชาอื่นก็ได้เช่นกัน ถ้าลองอาจารย์ฮา ๆ สอนสนุกวิชาน่าเบื่อ

หรือว่าเครียดแค่ไหน รับรองว่าเด็กๆ ตั้งใจเรียนแน่นอน ครับ :)

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบวิชานี้เอาซะเลยครับ

เพราะรู้สึกว่ามันซับซ้อน และยากที่จะจำครับ

ถ้าถามว่าจะทำยังไงให้มาสนใจวิชานี้ โดยส่วนตัวแล้วตัวของผู้สอนสำคัญที่สุดครับ

ผมเป็นคนที่ออกแนว ถ้าไม่ชอบอาจารย์ผู้สอนแล้วจะไม่สนใจเรียนในวิชานั้นๆไปเลย

โดยตัวผู้สอนที่เด็กๆฝันก็คงหนีไม่พ้น อาจารย์ที่มีบุคลิกสบายๆ ตลกขบขันละครับ

ตรงจุดนี้จะทำให้นักเรียนกล้าที่จะซักถามในห้อง กล้าที่จะเข้าไปหาเมื่อมีปัญหาครับ

ท่านอาจารย์หลายๆท่าน ถ้าสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นแบบนี้ได้ ก็ไม่ยากที่จะทำให้เด็กรักวิชานี้ครับ

แล้วผมมีข้อเสนออีกอย่างครับ ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กที่อ่านไม่ออกอ่านออกได้บ้าง ลองใช้เป็นสื่อการสอนเสริมพวกภาพ

หรือวีดีโออะไรพวกนี้เพื่อจูงใจ หรืออาจจะจัดเป็นกิจกรรมเกมส์ทายคำอะไรประมาณนี้ผมว่าก็น่าจะช่วยได้นะครับ

อันนี้เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ การที่มีสื่ออะไรมาจูงใจมันจะเหมือนทำให้เกิดแรงกระตุ้นที่จะเรียนรู้ครับ ^^

เรียนอ.โย

ต่อเลยค่ะ

คล้ายประเด็นเด็กน้อยที่โรงเรียนมากๆ

และกำลังเกิดความคิดว่าจะนำไปปรับใช้กับการสอนวิชาอื่น

รออ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เป็นการถอดบทเรียนที่ดีมาก ๆ เลยครับอาจารย์

สวัสดีปีใหม่ครับ

ค่ะ ดีค่ะ

การเรียนในสมัยนี้ เลิกไปได้เลยที่ให้ครูเป็นศูนย์กลาง

แห่งการเรียนการสอน ต้องให้เด็กๆ สิคะ

แล้วจะรู้ว่า จินตนาการของเด็กนั้น น่าอัศจรรย์ขนาดไหน

โดยเฉพาะวิชาศิลปะ

ปรากฎว่า เด็กที่คิดวาดภาพออกมาจากจินตนาการนั้น

เป็นที่ถูกตาต้องใจกรรมการที่จะถามและแปลความคิดอันวิเศษของเด็ก

ได้ดีไปซะกว่า การวาดภาพเหมือนจริง (พอร์ตเทรต)

jw

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ หวัดดีปีใหม่ครับ

อ.โย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท