กุ๊กไก่
นางสาว วรรณิศา กุ๊ก หัฐสัพธ์

การบริหาร คือ !


ศิลปะในการบริหาร
ความหมายการบริหาร (Administration)
             คำว่า การบริหาร (administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (assist) หรืออำนวยการ (direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดั้งเดิมของคำว่า administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่าง ๆ
             ไซมอน(Simon,)  กล่าวว่า “การบริหาร  หมายถึง  ศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆ  ได้รับการกระทำจยเป็นผลสำเร็จ  กล่าวคือ ผู้บริหารมิใช่เป็นผู้ปฏิบัติ  แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะในการทำให่ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนสำเร็๗ตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารรตัดสินใจเลือกแล้ว”
บาร์นาร์ด (Barnard,1972)  กล่าวว่า “การบริหาร  หมายถึง  การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่  2  คนขึ้นไป  ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเปาหมายร่วมกัน”
เทอรี่  (Terry,1968)  ให้ความหมายว่า “การบริหารเป็นกระบวนการต่างๆ  ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน  การจัดหน่วยงาน  การอำนวยการ  การควบคุม  ที่ถูกพิจารณาจัดกระทำขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  โดยใช้กำลังคน  และทรัพยากรที่มีอยู่
       ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ (Peter F. Drucker) ให้ความหมายว่า “การบริหารคือการทำให้งานต่างๆ ลุล่วงไปโดยอาศัยคนอื่นเป็นผู้นำ”
                เดโจน (Dejon,1978) ให้ความหมายว่า “การบริหารเป็นกระบวนการที่จะทำให้วัตถุประสงค์ประสบความสำเร็จโดยผ่านทางบุคคลและการใช้ทรัพยากรอื่น กระบวนการดังกล่าวรวมถึงองค์ประกอบของการบริหารอันได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ การวางแผน การจัดองค์กร การกำหนดนโยบาย การบริการ และการควบคุม”
                รุจิร์ ภู่สาระและจันทรานี สงวนนาม (2545:4-5) กล่าวถึงการบริหารว่า เป็นเรื่องของการทำกิจกรรมโดยผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ทรัพยากร และเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักบริหารหลายคนจึงมีความคิดตรงกันว่า “การบริหารเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของคณะบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่แน่นอนในการทำงาน” บางคนเห็นว่าการบริหารเป็นศิลปะของการเป็นผู้นำที่จะนำผู้อื่นให้ทำงานตามวัตถุประสงค์ได้ และได้กล่าวถึงลักษณะเด่นที่เป็นสากลของการบริหารไว้ 9 ประเด็นคือ
                1. การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
                2. การบริหารต้องอาศัยปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญ
                3. การบริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
                4. การบริหารต้องมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการทางสังคม
                5. การบริหารต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
                6. การบริหารต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อให้การปฏิบัติตามภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์
                7. การบริหารเป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล
                8. การบริหารมีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                9. การบริหารไม่มีตัวตน แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
 
จากการที่กล่าวมา โดยสรุป “การบริหาร” คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่ใช้ศิลปะหรือกระบวนการทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
คำสำคัญ (Tags): #การบริหาร
หมายเลขบันทึก: 323090เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท