การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครูปฐมวัย


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ผลการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียว

สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้ศึกษา : นางนุสรา คำราพิช

หน่วยงานที่สังกัด : โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา) อำเภอดอยสะเก็ด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทาน

หน้าเดียวสำหรับเด็กปฐมวัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียวสำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียวสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 (5-6 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 42 คน กลุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบเจาะจงคือนักเรียนชั้นอนุบาล  2ข ของโรงเรียนบ้านเชิงดอย  (ดอยสะเก็ดศึกษา)  จำนวน  21  คน  เครื่องมือการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนา ความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียวสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 45 แผน  นิทานหน้าเดียว จำนวน 54 เรื่อง แบบสังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย และแบบประเมินการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูด ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสังเกตพฤติกรรมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียวสำหรับเด็กปฐมวัย แบบประเมินพฤติกรรมจากแผนการจัดประสบการณ์ และแบบประเมินการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ วิเคราะห์ผลแล้วนำเสนอในรูปแผนภูมิกราฟและตารางประกอบคำบรรยาย สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้   

1.  ผลการพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียว

พบว่า         

                     1.1  กิจกรรมพูดเป็นคำน้อมนำให้คิดสูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่สัปดาห์ที่  1  ถึงสัปดาห์ที่  9  อยู่ในระดับดี  โดยมีค่าเฉลี่ย  ตั้งแต่  2.28-3.00 

                     1.2  กิจกรรมพูดวลีขยายคำจำขึ้นใจสูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่สัปดาห์ที่  1  ถึงสัปดาห์ที่  9  โดยสัปดาห์ที่1,  2  อยู่ในระดับพอใช้  มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ  2.00  สัปดาห์ที่  3-9  ผลการประเมินอยู่ในระดับดีค่าเฉลี่ยตามลำดับดังนี้  สัปดาห์ที่  3  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.88  สัปดาห์ที่  4  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.33  สัปดาห์ที่  5  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.52  สัปดาห์ที่  6  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.76  และสัปดาห์ที่  7-9  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.00  เท่ากัน

                     1.3  กิจกรรมพูดประโยคที่ง่ายได้ใจความสูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่สัปดาห์ที่  1  ถึงสัปดาห์ที่  9  โดยสัปดาห์ที่  1  ผลการประเมินอยู่ในระดับปรับปรุง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  1.33  สัปดาห์ที่  2-4  ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.00,  2.14,  2.23  ตามลำดับ  สัปดาห์ที่  5-9  ผลการประเมินอยู่ในระดับดี  เรียงตามลำดับดังนี้  สัปดาห์ที่  5  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.46  สัปดาห์ที่  6  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.66  สัปดาห์ที่  7  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  2.96  และสัปดาห์ที่  8-9  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.00  เท่ากัน

                     1.4  กิจกรรมพูดเล่าเรื่องต่อเนื่องกันไปสูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่สัปดาห์ที่  1  ถึงสัปดาห์ที่  9  โดยสัปดาห์ที่  1-4  อยู่ในระดับพอใช้  มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับดังนี้  1.52,  1.61,  2.04  และ  2.19  สัปดาห์ที่  5-9  ผลการประเมินอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.00  เท่ากัน

                     1.5  กิจกรรมพูดเล่าเรื่องตามจินตนาการสูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่สัปดาห์ที่  1  ถึงสัปดาห์ที่  9  โดยสัปดาห์ที่  1-5  ผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้  มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับดังนี้  1.52  (เท่ากัน),    1.61,  2.04  และ  2.10  สัปดาห์ที่  6-9  ผลการประเมินอยู่ในระดับดี  มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับดังนี้  2.52,  2.90  และ  3.00  (เท่ากัน)

                2.  ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การพัฒนาความพร้อมทางภาษาด้านการพูดด้วยกิจกรรมนิทานหน้าเดียวสำหรับเด็กปฐมวัย  พบว่า  คะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดประสบการณ์  3.61  คะแนนคิดเป็นร้อยละ  36.10  คะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์  8.76    คะแนนคิดเป็นร้อยละ  87.60  และมีคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ  51.40 

 

 

 

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 323051เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะคุณครูนุสรา
  • ขอเป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จในปีพ.ศ.2553นี้นะคะ

สุขสมหวังดังที่ตั้งใจไว้นะคะ

                  ครูรส

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่ให้มานะค่ะครูรส

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1

เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

โรงเรียนชุมชนบ้านกุดปลาดุก

กลุ่มสาระ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

หน่วยงาน โรงเรียนชุมชนบ้านกุดปลาดุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3

ปีที่พิมพ์ 2552

ผู้ศึกษา นางสงวน ดีอันกอง

ที่ปรึกษา นายสำราญ บุญคำโชติ

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อหาประสิทธิภาพความคงทนทางการเรียนของแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนชุมชนบ้านกุดปลาดุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 27 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 4.29 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต จำนวน 29 แผน 38 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพ 92.00 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อน – หลังเรียน จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.70 และ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏว่า

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Design) เพื่อแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านกุดปลาดุก ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า

1. แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 E1/E2 = 83.60 /81.67

2. ดัชนีประสิทธิผลของดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7517 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้หรือมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.15

3. ประสิทธิภาพความคงทนทางการเรียนของแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เปรียบเทียบกับการทำแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งได้ค่าเฉลี่ยที่ 81.56 และคะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังการเรียน 15 วัน ประสิทธิภาพความคงทนของแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.56 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยที่ 4.24 S.D. 1.45 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก

โดยสรุป แบบฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1 เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ และสามารถนำไปใช้สอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาได้

บทคัดย่อ

ชื่อวิจัย : รายงานการพัฒนาและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจ

พอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน

เทศบาลบ้านคูหาสวรรค์

ชื่อผู้วิจัย : อำนวย พงศ์ไพบูลย์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ปีการศึกษา : 2553

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบ

การเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน

3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบ

การเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง ผู้วิจัยได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) วิธีจับฉลากห้องเรียนมา 1 ห้อง จาก 14 ห้อง ของโรงเรียนเทศบาล

บ้านคูหาสวรรค์ ได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/12 จำนวน 35 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง จำนวน

6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน จัดการเรียนการสอน

ตามคู่มือการใช้เอกสารประกอบการเรียน รวม 20 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน

การทดสอบค่าที (t – test) ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.53/87.47 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ประดิษฐ์สวยด้วยหัวใจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท