งานวิจัย


งานวิจัย เรื่อง รูปแบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองเพื่อแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน

ชื่อเรื่องงานวิจัย    

           รูปแบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองเพื่อแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน

คำถามการวิจัย     

           ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองเพื่อแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียนควรมีรูปแบบอย่างไร

ความมุ่งหมายของการวิจัย

          1.เพื่อศึกษาสภาพการหนีเรียนของนักเรียน

          2.เพื่อหารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองเพื่อแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน

สมมติฐานการวิจัย

         1.การหนีเรียนของนักเรียนมีสภาพแตกต่างกัน

         2.รูปแบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียนได้

 

                 ทองสุข  ทับเจริญ (2548 : 1-34) ได้ศึกษาการศึกษาและการแก้ปัญหานักเรียนโรงเรียนศึกษานารี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ห้อง  6 กลุ่ม ก. ปีการศึกษา 2548 โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพส่วนตัวด้านต่าง ๆ  ของนักเรียน  และ ศึกษาผลการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  การศึกษาครั้งนี้ศึกษาจากประชากรคือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ห้อง  6  กลุ่ม  ก.  จำนวน  29  คน  โดยในการศึกษาเพื่อจำแนกนักเรียน  ใช้แบบประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมนักเรียน สภาพการหนีเรียน  การศึกษาสถานภาพส่วนตัวของนักเรียน  ผลการวิจัยพบว่า  การศึกษาสถานภาพทั่วไปเกี่ยวกับนักเรียนด้านสุขภาพจิตและพฤติกรรมนักเรียนร้อยละ  100  ปลอดจากสารเสพติด  นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุ  12  ปี  คิดเป็นร้อยละ 86.20 ด้านภูมิลำเนาส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครคิดเป็นร้อยละ 82.75  ด้านที่พักอาศัยส่วนใหญ่ร้อยละ 51.72 พักบ้านพักส่วนตัว และจำนวนเงินที่ได้รับมาโรงเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ   86.66  ข้อมูลด้านครอบครัวพบว่าบิดา-มารดา  ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง  30-40   ปี  และการศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ  24.13  มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  อาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง  แต่ถ้าเป็นมารดาส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและแม่บ้านครอบครัวส่วนใหญ่ร้อยละ  56.66  ไม่มีหนี้สิน  วิชาที่นักเรียนถนัดและสนใจอันดับ  1  คือ  ภาษาไทยและคณิตศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 16.66  ด้านสุขภาพสายตานักเรียนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ  75.86  มีสายตาปกติ

                 นิศานาถ สารเถื่อนแก้ว (2546 : 61- 80)  ได้ศึกษาความเครียดและวิถีการปรับแก้ของเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดน่านระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2546 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความเครียด    เด็กนักเรียนวัยรุ่นในสถานศึกษา  มีความเครียดในระดับปานกลางร้อยละ 88.48   และเลือกใช้วิถีการปรับแก้ทั้ง 3 ด้าน โดยใช้วิถีการปรับแก้ด้านจัดการกับอารมณ์ร้อยละ71.92 ใช้การวิถีการปรับแก้ด้านจัดการกับปัญหาทางอ้อม ร้อยละ 20.55 และใช้การปรับแก้ด้านจัดการกับปัญหาเพียงร้อยละ 7.53  ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพิจารณาช่วยเหลือหรือส่งต่อนักเรียนที่มีความเครียด  โดยบุคลากรในทีมสุขภาพ สมควรแนะนำทักษะที่หลากหลายในการเผชิญความเครียดให้กับนักเรียน ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่นักเรียนเผชิญอยู่เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ปรับแก้ความเครียดให้เหมาะสมกับตนเอง และเพื่อนำข้อมูลมาประกอบในการช่วยแก้ปัญหาการหนีเรียนและปัญหาอื่น ๆ ของนักเรียนต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 322320เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท