ผลของดนตรีต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยในขณะ เข้ารับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ด้วยการฉีดยาชา เข้าช่องไขสันหลัง


งานวิจัยของเราไม่ได้เลิศกว่าใครๆหรอก มันอยู่ที่ว่าเราได้ลองทำเองหรือยัง ถ้าทำแล้วเชื่อมั้ยว่าภูมิใจสุดๆเลย กับคำว่าผู้วิจัยหลัก แล้วตามหาพี่เลี้ยงนอกรอบเอง เราต้องเชื่อมั่นว่าที่เราทำนี่หล่ะ ดีสุดๆ แล้ว ณ เวลานี้ (แม้ว่าคนอื่นอาจจะดูว่าไม่เห็นจะดีเลย ช่างมาน..) ลองทำเองสักครั้งแล้วจะรู้ว่าไอ้ที่เค้าว่ายากๆ หน่ะเป็นไงนะ

ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์กับครังแรกในหลายๆ อย่าง แต่ที่จะบอกตรงนี้ก็คืองานวิจัย ที่เวทีแห่งนี้ต้องแสวงหาพี่เลี้ยงเอง บอกได้ว่าสนุกมาก ในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต แต่ผลของความยากลำบากนี้ ถ้ามันได้มาพร้อมกับสิ่งตอบแทนที่น่าภาคภูมิใจ ก็นับว่าน่าลุ้น น่าทำ เป็นอย่างยิ่ง เอ้ามาดูกันทำไง

  • หาปัญหางานวิจัยที่จะทำให้ได้ เช่น เราคิดว่าคนไข้บล้อกหลังคงต้องมีความวิตกกังวลตอนผ่าตัดแหงเลย ไม่งั้น เราคงไม่ให้ยา เพื่อ sedate คนไข้หรอกเนอะ เอ้า ดูดิ สถิติการให้ยาเยอะมั้ย ต่อ เดือน
  • มีแนวทาง วิธีการช่วยคนไข้ ไม่วิตกกังวล ยังไงบ้าง (ต้องหางานวิจัยมาอ่าน เยอะๆ) โอ๋.. เจอแล้ว มีทั้งกลิ่นบำบัด ดนตรี สมาธิ ตังหลายอย่าง นี่หละ..เป็นการทบทวนวรรณกรรม  เราเลือกดนตรี
  • ลองเขียนดูว่าจะมีวิธีการ ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มประชากร สถิติที่ต้องใช้ (ตรงนี้ ต้องหาที่ปรึกษาด้านสถิติ ด่วน.. หาให้ได้ ไม่รู้จักก็ทำความรู้จัก ซะ.. )
  • แล้วก็เอาไปส่งขอ จริยธรรมการวิจัยที่ต้นสังกัด และ ส่งขอทุนวิจัยในสถาบันที่ได้รับการยอมรับหน่อย เพื่อหน้าตาของงานวิจัยเรา (แม้ว่าจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่เชื่อดิ ว่ามันดีที่สุด ณ เวลานั้น ) ช่วงนี้ต้องหาเครื่องมือที่จะใช้ หาผู้ทรงตรวจงานและเครื่องมือ และต้องติดต่อเจ้าของเครื่องมือเอง ติดต่อและแต่งตั้งผู้ทรงเอง  เราขอทุนสภาการพยาบาล (ถ้ากล้าขอ เค้าก็กล้าให้เด้อ..)
  • ตั้งหน้าตั้งตาเก็บข้อมูลไป หาคนรู้ใจสัก 4 - 5 คน (ห้าม one man show เด็ดขาดทุกอย่างต้องมีฐานนะ เพื่อความมั่นคง อย่าเก่งอยู่คนเดียว อันตราย )
  • เก็บข้อมูลเสร็จ มาวิเคราะห์ข้อมูลกับที่ปรึกษาด้านสถิติ (แบบว่ารักกันมากเลยช่วงนี้)
  • เอาข้อมูลที่ได้มาอภิปรายและสรุปผลการศึกษา ยากหน่อยตอนช่วงนี้ (ช่วงนี้น่าจะได้เช็ค ค่าทุนวิจัย 50% แรก)
  • เสร็จแล้วแสวงหาคนช่วยอ่านทั้งหมดอีกครั้ง ก่อนเข้าเล่ม ส่งงานให้เจ้าของทุน
  • รออีกสักหน่อย เขียนบทความส่งตีพิมพ์วาสารสภา (ช่วงนี้น่าจะได้เช็ค ค่าทุนวิจัย 50% หลัง)
  • ผลของดนตรีต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยในขณะเข้ารับการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง  https://independent.academia.edu/ratchaneetraiyawong

งานวิจัยของเราไม่ได้เลิศกว่าใครๆหรอก มันอยู่ที่ว่าเราได้ลองทำเองหรือยัง ถ้าทำแล้วเชื่อมั้ยว่าภูมิใจสุดๆเลย กับคำว่าผู้วิจัยหลัก แล้วต้องตามหาพี่เลี้ยงนอกรอบเอง เพราะเวทีนี้ไม่มีอาจารย์คอยชี้นำอีกแล้ว เราต้องเชื่อมั่นว่าที่เราทำนี่หล่ะ ดีสุดๆ แล้ว ณ เวลานี้ (แม้ว่าคนอื่นอาจจะดูว่าไม่เห็นจะดีเลย ช่างมาน..)  ลองทำเองสักครั้งแล้วจะรู้ว่าไอ้ที่เค้าว่ายากๆ หน่ะเป็นไงนะ ถ้าได้ผ่านมาแล้วไม่มีอะไรยากอีกแล้วหล่ะ จริงๆนะ

 

หมายเลขบันทึก: 321586เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 02:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2020 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับคุณ รัชนี

ขอบคุณที่ชี้แนะและให้กำลังใจ

คนที่ยังไม่มีหัวข้อวิจัยครับ

ต้อง ททท.แล้วครับ

สวัสดีค่ะ คุณวอญ่า ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ นอนดึกจังนะคะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม ให้กำลังใจ

ขอบคุณ คุณ @.. สายธาร ..@ ที่แวะมาทัก การ์ดสวยนะ ขอให้สดชื่น ใส เย็น ตลอดปีใหม่นะคะ

ไม่ได้เจอกันนานเลยนะครับ… ยังสบายดีอยู่มั้ย คุณพยาบาลคนสวย… ไม่ได้ไปโคราชนานมากละ.. ไม่รุติดต่อไงอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท