โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

สิบเอกศุภชัย เดชโคบุตร


อบรมเชิงปฏิบัติการ ทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและภัยสุขภาพระดับอำเภอ
ภาวะฉุกเฉิน(Emergency) คือเหตุการณ์ที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเฉียบพลันโดยไม่คาดการณ์ไว้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ความปลอดภัยต่อสังคม ชีวิต ทรัพย์สิน
ภัยพิบัติ(Disaster) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิด มักเกิดขึ้นทันทีครั้งเดียว หรือต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงต้องตอบโต้ด้วยมาตรการที่เกินขีดความสามารถของชุมชนอย่างเฉียบพลัน
ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข คือ เหตุการณ์ที่เกิดโรคและภัยคุกคามสุขภาพ มีเกณฑ์อย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ
                1.ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่มีความรุนแรง
                2. เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ หรือไม่เคยพบมาก่อน
                3. มีโอกาสที่จะแพร่ไปสู่พื้นที่อื่น
                4. ต้องจำกัดการเคลื่อนที่ของคนหรือสินค้า
เป้าประสงค์
l      เตรียมความพร้อมองค์ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังเหตุการณ์ฉุกเฉิน
l      ประเมินและจัดการความเสี่ยง
l      เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น
l      การประเมินสถานการณ์และการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างฉับพลัน
l      อธิบายหลักการสอบสวนทางระบาดวิทยา
l      การจัดการระบบข้อมูล
ประเภทภัยพิบัติ
l      ด้านกายภาพ : การบาดเจ็บ : อุบัติเหตุทางหลวง เครื่องบินตก    ตึกถล่ม พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ
l      ด้านวัตถุอันตรายรั่วไหล : สารเคมี รังสี : Methyl isocyanate in India,1984
l      ด้านชีวภาพ : การระบาดของโรคติดต่ออันตราย : อหิวาตกโรค, กาฬโรค,ไข้หวัดนก,SARS
l      ด้านสังคม : การจลาจล การก่อการร้าย สงคราม
ภาวะวิกฤติ (Crisis)
l      สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องใช้กระบวนการตัดสินใจเพื่อกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
l      เหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อบุคคล ชุมชน สังคม
l      สถานการณ์ที่มีคุณลักษณะของความฉุกเฉินมีผลกระทบทั้งร่างกาย และจิตใจ จำเป็นต้องมีการปฏิบัติการอย่างฉับพลันทันที
ประเภทภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
l      อาวุธทางชีวภาพ : แอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ
l      ภาวะฉุกเฉินจากสารเคมี : Chlorine sarine
l      ภาวะฉุกเฉินจากรังสี : ก่อการร้าย
l      อุบัติเหตุกลุ่มชน : ระเบิด การบาดเจ็บ
l      ภัยจากธรรมชาติและภาวะอากาศเลวร้าย : วาตภัย อุทกภัย ฯลฯ
l      การระบาดของโรคที่พบบ่อยในพื้นที่ และอุบัติการณ์ของโรคที่สำคัญ : อาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซิส
ผลกระทบของภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
l      มีการป่วย การตายเพิ่ม
l      ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
l      ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
l      การสัมผัสสารพิษ สารเคมี รังสี
l      การทำลายระบบบริการพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิต
l      การทำลายระบบบริการและผู้ให้บริการพื้นฐานต่างๆ
l      การอพยพย้ายที่อยู่ของประชากร
l      การล่มสลายของระบบสังคม
l      การสูญเสียระบบข้อมูลข่าวสาร
l      ผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข(Public health Emergency response)
l      การดำเนินการต่างๆเพื่อหยุดภาวะฉุกเฉิน/สถานการณ์รุนแรงให้กลับสู่ภาวะปกติในระยะสั้นที่สุด
l      ด้วยมาตรการที่มีความพร้อมไว้รับมืออย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
l      การป้องกัน ควบคุม ยับยั้งไม่ให้โรคและภัยสุขภาพแพร่กระจายออกไปในวงกว้าง
วงจรการจัดการภาวะฉุกเฉิน มี 4 ระยะ
l      ระยะบรรเทาภัย (Mitigation)
l      ระยะเตรียมความพร้อม (Preparedness)
l      ระยะตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Response)
l      ระยะฟื้นฟูบูรณะ (Recovery)
ระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (Incident Command System-ICS)
   ระบบจัดการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขยายให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ได้ มีประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในระบบ ICS ( 4 C ) คือ
l      การวางระบบบัญชาการและสั่งการที่ชัดเจน(Command)
l      การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ(Coordination)
l      การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือให้เกิดการผนึกกำลัง(Cooperation)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (ICS)

Incident

Commander

Command

Staff

Operation

Logistics

Administration/

Finance

Planning

หมายเลขบันทึก: 321113เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แล้วหน่วยงานโรงพยาบาลและสาธารณสุขต้องทำอะไรบ้าง อยากให้สรุปในเชิงปฏิบัติมากกว่าวิชาการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท