มาออกกำลังใจกันเถอะ ตอนที่ 7


เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือเวลาฟาญัร (รุ่งอรุณ) หรือเวลาอื่นที่สะดวก จำนวนอายะฮฺ (โองการ) อาจจะเริ่มจาก 3 อายะฮฺเป็นอย่างน้อยหรือมากกว่า แต่ที่สำคัญที่สุดคือความสม่ำเสมอในการอ่าน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นไปได้ควรอ่านในเวลา สถานที่เดียวกันทุกวันรวมถึงอ่านจากอัลกุรอาน (ฟุสหะฮฺ) เล่มเดียวกัน

เขียนบันทึกเกี่ยวกับการออกกำลังใจมา 6 ตอนแล้ว หลายคนที่ติดตามอ่านอาจจะคิดว่า ตกลงวิธีการออกกำลังใจที่ว่านั้น ทำอย่างไรกันแน่? วิธีการออกกำลังใจนั้นมีหลากหลายวิธีครับ แต่ในบันทึกนี้จะขอเริ่มด้วยวิธีที่ 1 ครับ

 

วิธีออกกำลังใจวิธีที่ 1 เข้าหาอัลกุรอาน

Love Al-Quran

ภาพจาก http://sarahtidaksendiri.wordpress.com/2009/08/01/memandang-dari-berbagai-sudut/

หลักการง่ายๆของวิธีออกกำลังใจวิธีนี้ก็คือ การให้หัวใจได้สัมผัสกับอัลกุรอาน

 

จาก http://www.youtube.com/watch?v=04mMJGM8I5c

ผ่านการจับต้องคัมภีร์อัลกุรอานด้วยมือ ผ่านการมองอายะฮฺ (โองการ) อัลกุรอานด้วยดวงตา ผ่านการอ่านอัลกุรอานด้วยลิ้น และผ่านการฟังอายะฮฺอัลกุรอานด้วยหู ผ่านการสดับตรับฟังอายะฮฺอัลกุรอาน (ตะดับบุร) อย่างพินิจพิเคราะห์ด้วยหัวใจ ผ่านการไตร่ตรองและใคร่ครวญ(ตะฟักกุร) ด้วยสติปัญญา 

 

ภาพจาก un2kmu.wordpress.com

เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือเวลาฟาญัร (รุ่งอรุณ) หรือเวลาอื่นที่สะดวก จำนวนอายะฮฺ (โองการ) อาจจะเริ่มจาก 3 อายะฮฺเป็นอย่างน้อยหรือมากกว่า แต่ที่สำคัญที่สุดคือความสม่ำเสมอในการอ่าน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นไปได้ควรอ่านในเวลา สถานที่เดียวกันทุกวันรวมถึงอ่านจากอัลกุรอาน (ฟุสหะฮฺ) เล่มเดียวกัน

 quran5xj1eu4

ภาพจาก http://sarahtidaksendiri.wordpress.com/2009/08/01/memandang-dari-berbagai-sudut/

เมื่อท่านเริ่มตั้งใจจะออกกำลังใจด้วยการเข้าหาอัลกุรอาน ลองสังเกตปฏิกิริยาของหัวใจท่านดูซิครับว่า มันมีปฏิกิริยาอย่างไร? บวกหรือลบ ท่านและอัลลอฮฺที่รู้ว่า หัวใจท่านตอบสนองต่อวิธีการออกกำลังใจนี้อย่างไร?

 

ในการออกกำลังกายร่างกายต้องฝืนแรงโน้มถ่วงของโลกเมื่อท่านเดินหรือวิ่งออกกำลังกาย หรือเมื่อท่านยกตุ้มน้ำหนัก หรือเมื่อท่านเคลื่อนไหว ฯลฯ

 

ในการออกกำลังใจนั้นเมื่อท่านพบว่าหัวใจของท่านไม่ปรารถนาที่จะเข้าใกล้อัลกุรอาน อาจจะเพราะมันร้างไกลจากอัลกุรอานมานาน หรือเพราะหัวใจได้ผูกพันธ์อยู่กับบางสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะผลักไสอัลกุรอานก็ใช้หลักเดียวกันคือ การฝืนหัวใจของท่านด้วยการพยายามเข้าใก้ล     อัลกุรอานทีละนิดๆ

 

ปฏิกิริยาของหัวใจที่มองไม่เห็นต่ออัลกุรอานเป็นตัวบ่งชี้ที่สะท้อนสุขภาพของหัวใจที่มองไม่เห็นของท่าน ระยะห่างและความถี่ของการมีปฏิสัมพันธ์กับอัลกุรอานของหัวใจจะบอกอาการของโรคที่หัวใจที่มองไม่เห็นเป็นอยู่

 

ดังนั้น จงเอาชนะหัวใจของท่านด้วยการนำมันเข้าหา   อัลกุรอานจงกระทั้งอัลกุรอานได้เป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันของท่าน ซึ่งด้วยการทำเช่นนั้นจะทำให้หัวใจที่มองไม่เห็นของท่านแข็งแรงและพร้อมสำหรับการเผชิญกับบททดสอบต่างๆ

 

ภาพจาก alquranwithtajweed.com

ปิดท้ายบันทึกนี้ด้วยอัลกุรอาน

เชิญคลิ๊กรับฟังและรับชมได้เลยครับ

จาก http://www.youtube.com/watch?v=Vrs6syGH33Y

 

ขออัลลอฮฺทรงประทานความเข้มแข็งแก่หัวใจของท่านด้วยอัลกุรอานของพระองค์ด้วยเถิด อามีน

หมายเลขบันทึก: 320724เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2009 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Salam อาจารย์

  • วิธีออกกำลังใจวิธีที่ 1 เข้าหาอัลกุรอาน ..เป็นวิธีเยียวยาจิตใจที่ดีทีสุดค่ะอาจารย์
  • รออ่านตอนถัดไปค่ะ

สลามครับลูกซิลเวีย

  • ใช่ครับลูกซิลเวีย ลูกกล่าวได้ถูกต้องที่ว่าอัลกุรอานนั้นเยียวยา หรือเป็นยาบำบัดหัวใจมนุษย์ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ความว่า

"โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)จากพระเจ้าของพวกท่านได้มายังพวกท่านแล้ว และ(มัน)เป็นการบำบัดสิ่งที่มีอยู่ในทรวงอก และเป็นการชี้แนะทาง และเป็นความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา" [10.57]

"O mankind! there hath come to you a direction from your Lord and a healing for the (diseases) In your hearts,- and for those who believe, a guidance and a mercy." [10.57]

  • ขอบคุณมากครับลูกที่ติดตามอ่านอย่างต่อเนื่อง

 

 

เป็นวิธีที่ดีจริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท