สูเราะฮฺอัน – นูร อายะฮฺที่ 27 – 29,สูเราะฮฺอัล – บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 256


ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้านหรือขณะที่เจ้าของบ้านไม่อยู่,ศาสนาอิสลามไม่บังคับให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม

สูเราะฮฺอัน นูร   อายะฮฺที่  27 – 29

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَدْخُلُوا بُيُوتًا غَيْرَ بُيُوتِكُمْ حَتَّى تَسْتَأْنِسُوا وَتُسَلِّمُوا عَلَى أَهْلِهَا ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَّكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ  =      فَإِن لَّمْ تَجِدُوا فِيهَا أَحَدًا فَلَا تَدْخُلُوهَا حَتَّى يُؤْذَنَ لَكُمْ وَإِن قِيلَ لَكُمُ ارْجِعُوا فَارْجِعُوا هُوَ أَزْكَى لَكُمْ وَاللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ عَلِيمٌ =       لَّيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ أَن تَدْخُلُوا بُيُوتًا غَيْرَ مَسْكُونَةٍ فِيهَا مَتَاعٌ لَّكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ مَا تُبْدُونَ وَمَا تَكْتُمُونَ   = 

 

ความหมายของอายะฮฺ

            โอ้บรรดาผู้ศรัทธา  จงอย่าเข้าบ้านใดที่ไม่ใช่บ้านของสูเจ้า จนกว่า(จะ) ได้ขออนุญาต  และได้กล่าวสลามแก่เจ้าของบ้านเสียก่อน  นั้นเป็นการดีกว่าสำหรับสูเจ้า  เพื่อสูเจ้าจะได้ใคร่ครวญ  หากสูเจ้าไม่พบ  ผู้ใดในบ้านนั้น  สูเจ้าก็จงอย่าเข้าไปในบ้านนั้น  จนกว่า (สูเจ้า) ได้รับอนุญาต  และถ้าเขากล่าวแก่สูเจ้า(ว่า) จงกลับไป ดังนั้นสูเจ้าจงกลับเถอะ นั้นย่อมเป็นการดีสำหรับสูเจ้า  และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่สูเจ้ากระทำ  ไม่เป็นบาปแก่สูเจ้า  ในการที่สูเจ้าเข้าไปในบ้านใด ๆ ที่ไม่ใช่บ้านสำหรับที่อยู่อาศัย  ซึ่งในนั้นมีสิ่งจำเป็นสำหรับสูเจ้า  ส่วนอัลลอฮฺทรงรู้ดี  ทั้งสูเจ้าเปิดเผยและสูเจ้าปิดบัง 

 

คำอธิบาย 

            อัลลอฮฺทรงใช้ให้บรรดาผู้ศรัทธาในพระองค์ประพฤติตนเป็นผู้มีจรรยามารยาทดำรงตนอยู่ศีลธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงาม  ตลอดจนต้องมีความนอบน้อมถ่อมตน      ด้วยเหตุนี้เมื่อมุอฺมินผู้ศรัทธาจะเข้าบ้านบุคคลอื่น  มารยาทที่พึงปฏิบัติคือให้ขออนุญาตเจ้าของบ้านเสียก่อน พร้อมกับกล่าวสลามแก่เจ้าของบ้าน    หากไม่ได้รับอนุญาตก็ห้ามเข้าโดยเด็ดขาด  เพราะเจ้าของบ้านอาจมีความประสงค์ที่อยากจะพักผ่อน หรืออยู่ในสภาพที่ไม่อยากให้ใครรบกวน   การขออนุญาตก่อนเข้าบ้านทำให้เจ้าของบ้านไม่มีความรู้สึกระแวงสงสัย หากเจ้าของบ้านไม่พร้อมที่จะพบปะด้วย และให้กลับไปก่อนก็จงกลับไปก่อนแล้วค่อยมาใหม่  ทั้งนี้เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของบ้าน   ถ้าเราปฏิบัติได้เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐและเป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลามต้องการ  แต่ถ้าเป็นที่พักคนเดินทาง  ศาลาพักร้อน  ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตผู้ใด เพราะเป็นทรัพย์สาธารณะที่อนุญาตให้ทุกคนได้ใช้         อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้รอบรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นที่ลับหรือที่เปิดเผย

 

บทสรุป 

1. ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้านหรือขณะที่เจ้าของบ้านไม่อยู่

2.   การกล่าวสลามก่อนเข้าบ้าน เป็นจริยธรรมอิสลาม

         3.   หากเจ้าของบ้านไม่อนุญาตให้เข้าบ้าน จงอย่าโกรธ  ควรกลับไปก่อน

         4.  การเข้าไปในสถานที่ซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะที่ไม่ใช่บ้านสำหรับอยู่อาศัย เช่น ศาลาที่พัก  ไม่ต้องขออนุญาต

          5. อัลลอฮ์ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์กระทำ   ทั้งในที่เร้นลับและที่เปิดเผย

บ้านเป็นที่อาศัยพักผ่อนหลับนอนของมนุษย์ อัลลอฮ์ทรงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปในบ้านของผู้อื่นก่อนที่จะได้รับอนุญาต  เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเจ้าของบ้านที่ต้องการพักผ่อนและมิให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเขา  ด้วยเหตุนี้ พระองค์ทรงวางกฎเกณฑ์สำหรับมนุษย์ไว้

ในสมัยญาฮิลีละฮ์  การเข้าบ้านผู้อื่นไม่มีการกล่าวสลามและกระทำได้อย่างเสรี  อันเป็นการไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น  ดังนั้น  อิสลามจึงไม่อนุมัติให้มุสลิมปฏิบัติเช่นนี้

 

กิจกรรมท้ายบท 

1. นักเรียนอภิปรายมารยาทในการเข้าบ้านผู้อื่นโดยละเอียด

 2.หากเจ้าของบ้านไม่อณุญาติให้เข้าบ้านนักเรียนจะปฏิบัติอย่างไรและมีความคิดอย่างไรกับเจ้าของบ้านนั้น

  3. นักเรียนอถิปรายเรื่องความจำเป็นในการรักษาสาธารณะสมบัติ

 

สูเราะฮฺอัล บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่  256

لاَ إِكْرَاهَ فِي الدِّينِ قَد تَّبَيَّنَ الرُّشْدُ مِنَ الْغَيِّ فَمَنْ يَكْفُرْ بِالطَّاغُوتِ وَيُؤْمِن بِاللّهِ فَقَدِ اسْتَمْسَكَ بِالْعُرْوَةِ الْوُثْقَىَ لاَ انفِصَامَ لَهَا وَاللّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ  =

ความหมายของอายะฮฺ

            ไม่มีการบังคับในการเข้ารับนับถือศาสนา   อันที่จริงได้กระจ่างชัดแล้ว (ซึ่ง)  ความถูกต้องจากความงมงาย  ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธฏอฆูต  และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ  แน่นอนเขาได้ยึดกับหลักอันมั่นคง  ซึ่งจะไม่มีการขาดลงอีกแล้ว  และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ 

 

คำอธิบาย

            อายะฮฺนี้ได้ถูกประทานลงมาเนื่องจากหุศ็อยนฺ  ซึ่งเป็นชาวอันศอรฺ     อยู่ในตระกูลบนีสาลิม  บุตรเอาฟฺ เขามีบุตรสองคนที่นับถือศาสนาคริสต์    สำหรับตัวเขานั้นนับถือศาสนาอิสลาม      หุศ็อยนฺจึงได้ไปถามท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ    อะลัยฮิ   วะสัสลัม  ว่า  “ฉันจะบังคับเขาทั้งสองได้หรือไม่ เขาทั้งสองดื้อดึงจะนับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น”

            ด้วยเหตุนี้  อัลลอฮฺจึงได้ประทานอายะฮฺนี้ลงมา อัลลอฮฺสุบหานะฮูวะตะอาลา    ทรงกล่าวมีใจความว่า  ไม่มีการบังคับข่มขู่ผู้หนึ่งผู้ใดให้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม เพราะสัจธรรมได้ปรากฏชัดแจ้งแล้ว ระหว่างความจริงกับความเท็จ      แนวทางที่ถูกต้องกับแนวทางที่หลงผิด    ความจริงที่ระบุในอัล – กุรฺอานนั้นเป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งแล้วว่า  ผู้ใดปฏิเสธฏอฆูต  (มาร    เจว็ด สิ่งที่ถูกสักการะนอกจากอัลลอฮ์)     และศรัทธามั่นต่ออัลลอฮ์ แน่นอนที่สุด    เขาผู้นั้นเป็นผู้ที่ยึดมั่นต่อชะรีอะฮ์อิสลาม และเขาจะไม่หลงทางตลอดไป  แท้จริงอัลลอฮ์ทรงได้ยิน ทรงรอบรู้เสมอ

 

บทสรุป

  1. ศาสนาอิสลามไม่บังคับให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม
  2. ศาสนาอิสลามสั่งสอนให้มนุษย์ทำแต่ความดี ละทิ้งความชั่ว
  3. บุคคลใดที่ยอมรับฏอฆูต เช่น ชัยฏอน  รูปเคารพบูชา  เขาจะหลงทางตลอดไป
  4. บุคคลใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์  เขาจะได้รับทางนำจากพระองค์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
  5. การกระทำทุกอย่างของมนุษย์ อัลลอฮ์ทรงรู้และทรงเห็นทั้งสิ้น

 

กิจกรรมท้ายบท

1. นักเรียนอภิปรายเรื่อง สาเหตุที่อัลลอฮฺไม่ให้มนุษย์ด้วยกันเองบังคับให้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม และเกิดผลดีอย่างไร

2. นักเรียนอภิปรายคำว่า “ฎอฆูต” คืออะไร

 

 

หมายเลขบันทึก: 320637เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2009 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สลามมุอาลัยกุมมมอาจารย์

พอดีเค้าเป็นตัวแทนจาก 4/3

มาเม้นให้เพื่อนๆทุกคน

**จบ**

วัสลาม ^___________^++

อย่าลืมให้คะแนนนะ

อะๆ เม้นให้อีก คอมเม้นจาได้เยอะๆ

อิอิ ฮ่าๆๆ ไปละทำงานก่อน วัสลามอาจารย์ ^O^++

อย่าลืมคะแนนน้า งามๆๆ เกรด 4

ไปของแท้ละ วันหลังจามาเยี่ยมใหม่

สลามมุอะลัยกุม

อาจารย์

อัสลามมุอะลัยกุม

อาจารย์

อัสลามูอาลัยกุม

นางสาว วราพร ภูนิสัย ม.4/7

ให้คะแนนด้วยน่ะจ้ะ อาจารย์ รอฟีกี การีมี

อิอิ บ้ายบายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท