ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร (8)


ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร

ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร 

คณะวิทยาการจัดการ  ในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

 

ผู้วิจัย : บุญศรี  หวังคุณธรรม

มีนาคม  2546

 

ประวัติความเป็นมา

          ปัญหาการพัฒนานักศึกษามีแนวโน้มว่า จะมีมีอุปสรรคเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านทักษะชีวิต  อันเป็นคุณลักษณะที่จะต้องได้รับการพัฒนาไปสู่คุณลักษณะของนักศึกษาที่พึงประสงค์ตามปรัชญา  ปณิธานของแต่ละสถาบันการศึกษา คุณลักษณะที่พึงประสงค์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ  แต่จะมีลักษณะเป็นหลักสูตรแผงในรูปของกิจกรรมร่วมหลักสูตร  งานของกิจกรรมนักศึกษา ที่ประด้วยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ  มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน โดยผ่านกระบวนการทางสังคม  ผ่านประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง  และการแก้ปัญหานำไปสู่การพัฒนาตนตามเป้าหมายที่พึงประสงค์ (มาณี  ไชยธีรานุวัฒศิริ.2543:1)

                สำหรับกิจกรรมที่ทาง  สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มกิจกรรมบังคับ  2)  กลุ่มกิจกรรมบังคับเลือก  3) กลุ่มกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ   ตามระเบียบว่าด้วยการพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาของสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  ปัจจุบันนักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมตามระเบียบดังกล่าวให้ความสนใจน้อยโดยสังเกต ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปอย่างไม่เต็มใจ  โดยมีพฤติกรรมต่อการจัดกิจกรรมน้อย หรือไม่สนใจเลย  ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะที่เกี่ยวข้องกับงานกิจกรรมนักศึกษา  จึงเห็นควรศึกษาเรื่องความคิดเห็นของนักศึกษา ต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงมาตรการดำเนินการให้สนองตอบต่อความต้องการของนักศึกษา และเป็นข้อมูลในการวางแผน เพื่อดำเนินการด้านงานกิจการนักศึกษาต่อไป

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

 1.  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการในสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

2.  เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ  ในสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  โดยจำแนกตาม เพศ ผลการเรียน  ชั้นปีที่กำลังศึกษา  โปรแกรมวิชา

3.  เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการในสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

 ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

                ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลให้คณะวิทยาการจัดการ ในสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมร่วมหลักสูตรของนักศึกษา  คณะวิทยาการจัดการในสถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  ให้สนองตอบต่อความต้องการของนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม

 

สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า

1.  นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน  มีความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรทั้ง 3 ด้านต่างกัน

2.  นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่างกัน  มีความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตร   ทั้ง 3 ด้านต่างกัน

3.  นักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรทั้ง 3 ด้านต่างกัน

4.  นักศึกษาที่มีโปรแกรมวิชาต่างกัน  มีความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรทั้ง 3 ด้านต่างกัน

 

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                1.  ประชากร  เป็นนักศึกษาภาคปกติ  คณะวิทยาการจัดการ  สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  ชั้นปีที่ 1  และชั้นปีที่ 2 ประกอบด้วย โปรกแกรมวิชานิเทศศาสตร์  โปรแกรมวิชานิเทศบริหารธุรกิจ จำนวน  550  คน

                2.  กลุ่มตัวอย่าง  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ของยามาเน่  ในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในการวิจัยนี้  กำหนดกลุ่มตัวอย่างรวม  260  คน  แบ่งเป็น

                     2.1  นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์  ชั้นปีที่ 1  จำนวน  40  คน  ชั้นปีที่  2  จำนวน  20  คน

                     2.2  นักศึกษาโปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ  ชั้นปีที่ 1  จำนวน  110  คน  ชั้นปีที่  2  จำนวน  90  คน

 

เครื่องมือการวิจัย

            แบบสอบถาม

วิธีสร้างเครื่องมือ

                1.  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรคณะวิทยาการจัดการ ในถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

                2.  ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ

                3.  การสร้างแบบสอบถามโดยให้ครอบคลุมเนื้อหาตามกรอบแนวคิดของการวิจัย

                4.  นำแบบสอบถามเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์  และอาจารย์ผู้ช่วยชาญพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง และเสนอแนะเพิ่มเติม

                5.  นำแบบสอบถามที่แก้ไข แล้ว เสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจแก้ไขและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  ตลอดจนวิเคราะห์ความเที่ยงตรงในด้านเนื้อหาและการใช้ภาษา (Content  Vality)  ให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น

                6.  ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ  จากนั้นนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ตรวจสอบอีกครั้ง  เพื่อปรับปรุงแก้ไขครั้งที่สุดท้าย  ก่อนนำไปทดลองใช้

                7.  นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วทดลองใช้  (Try-out) กับกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  30  คน  และนำผลหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อโดยการทดสอบค่า (t-test)

          8.  นำแบบสอบถามที่ผ่านการคัดเลือกไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha-Coefficient)  ของครอนบาค  ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1.  ค่าสถิติพื้นฐาน  ได้แก่

      1.1  ค่าร้อยละ

      1.2  ค่าเฉลี่ย (Mean)

      1.3  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

 2.  สถิติหาความเชื่อมั่น (Reliability)  โดยหาค่าสัมประสิทธิ์  (Alpha-Coefficient) โดยใช้สูตรของครอนบาค (Cronbach)

 3.  สถิติทดสอบสมมมติฐาน

       3.1  สถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม  โดยใช้ t-test

       3.2  สถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)

 สรุปผลการวิจัย

       1.  นักศึกษาเห็นว่าการจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก   ด้านส่วนตัว  ด้านส่งเสริมและสนับสนุนของสถาบันอยู่ในระดับมาก  ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง

       2.  นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน  มีความเห็นว่า กิจกรรมร่วมหลักสูตรโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และรายด้านทั้ง 3 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

       3.  นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยผลการเรียนกลุ่มสูง  มีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มต่ำ และกลุ่มปานกลาง มีความคิดเห็นแตกต่างกับกลุ่มต่ำ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

       4.  นักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน  มีความคิดเห็นว่า การจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

       5.  นักศึกษาที่มีโปรแกรมวิชาต่างกัน มีความคิดเห็นว่า การจัดกิจกรรมร่วมหลักสูตรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ           

 

หมายเลขบันทึก: 320381เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เสร็จซะที...น้องเรา ถึงเวลาขึ้นงานวิจัยของตัวเองแล้วครับ..จะรอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท