แนวคิดและทฤษฎีในการสร้างเสริมจิตพิสัย


สร้างเสริมจิตพิสัย

แนวคิดและทฤษฎีในการสร้างเสริมจิตพิสัย

     การสร้างเสริมจิตพิสัยเพื่อให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการฝึกพัฒนาคุณสมบัติด้านจิตพิสัยของตัวผู้เรียนเองโดยมิได้ถูกบังคับให้กระทำในการปลูกฝังคุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรมหรือจิตพิสัยนี้มีทั้งแนวคิดและทฤษฎีของนักคิดในซึกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายทฤษฎีในที่นี้ขอนำเสนอเฉพาะแนวคิดทฤษฎีที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้  ดังนี้

1.กระบวบการเสริมสร้างค่านิยม 

 (Value Clarification)

          เป็นแนวคิดทฤษฎีทางมนุษยนิยมซึ่งเชื่อว่าคนจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการโดยหลักสัจจการแห่งตน (Self-actualized) คือ จะต้องพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของความต้องการของตนโดยไม่มีอำนาจ

ข้างนอกมาบังคับ กระบวนการเสริมสร้างค่านิยม หรือกระบวนการทางจิตวิทยามนุษย์นิยมนี้  วัชรี  ธุรธรรม (2539 : 124-144) กล่าวว่า สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลิกภาพ การมีคุณธรรม จริยธรรม วินัย และประชาธิปไตยให้แก่ผู้เรียนได้กระบวนการเสริมสร้าง

ค่านิยมดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าการทำความกระจ่างในค่านิยม มี 3 ขั้นตอนใหญ่ และ 7 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 

1.การเลือก

ขั้นที่ 1 สำรวจทางเลือก

ขั้นที่ 2 พิจารณาผลที่เกิดจากแต่ละทางเลือก

ขั้นที่ 3 ตัดสินใจเลือกโดยเสรี

2.การนิยมซาบซึ้ง 

ขั้นที่ 4 มีความสุขและภูมิใจ

ขั้นที่ 5 เต็มใจประกาศยืนยันให้เป็นที่รู้จัก

3.การปฏิบัติ   

ขั้นที่ 6 การแสดงค่านิยม

ขั้นที่ 7 ปฏิบัติซ้ำ ๆ ให้เป็นกิจนิสัย

        สำหรับขั้นตอนใหญ่ 3 ขั้นตอนนั้น

ดุษณี แก้วกำเนิด (2526 ซ 5-7) ได้ให้ชื่อใหม่ว่า ขั้นรู้

ศรัทธาทำและได้ประยุกต์ใช้ในโรงเรียนทดลองพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ

     ในปีพ.ศ.2540สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการได้ประยุกต์ขั้นตอนดังกล่าวมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการเขียนกิจกรรมสร้างเสริมจิตพิสัย โดยได้แยกองค์ประกอบย่อยต่อไปนี้

        1.  ขั้นรู้      

1.1 รู้

1.2 วิเคราะห์

1.3 ประเมินค่า

        2.  ขั้นศรัทธา   

2.1 เห็นคุณค่า

2.2 ยอมรับ

2.3 พร้อมปฏิบัติ

        3.  ขั้นปฏิบัติ

3.1 วางแผน

3.2  ปฏิบัติ

3.3  ประเมินผล

2.ทักษะกระบวนการ

        เป็นแนวคิดที่โกวิท  ประวาลพฤกษ์ (2541 : 37) กล่าวว่าเป็นยุทธวิธีในการฝึกให้บุคคลเกิดนิสัยต่าง ๆ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบด้านความคิด ความรู้สึกและการลงมือปฏิบัติ ลักษณะนิสัยที่ดี  ประกอบด้วยการลงมือทำเป็นประจำด้วยความชื่นชมและด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง คือเหตุผลเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งปวงเสมอหน้ากันและเพื่อความถาวรของโลก

        กระบวนการเพื่อฝึกให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเป็นนิสัยที่เรียกว่าทักษะกระบวนการนี้แบ่งออกเป็น 9 ขั้นตอน ดังนี้

1.ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น

2.คิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบมีวิจารณญาณ เป็นระบบ

3.สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย

4.ประเมินและเลือกทางเลือกได้เหมาะสม

5.กำหนดขั้นตอนและลำดับได้อย่างชัดเจน

6.ปฏิบัติอย่างมีความชื่นชม

7.ประเมินระหว่างปฏิบัติด้วยตนเอง

8.ปรับปรุงระหว่างปฏิบัติด้วยตนเอง

9.ชื่นชมต่อผลที่เกิดขึ้น

        สงบ  ลักษณะ (เอกสารอัดสำเนา ม.ป.ป.4) กล่าวว่า ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น เป็นจุดรวมของวิธีสอนทุกวิธี และในการสอนจริยธรรมนั้น อาจเน้นขั้น 1     ถึง 9

        จากแนวคิดและทฤษฎีการสร้างเสริมจิตพิสัย 2 แนว ตามที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่าควรให้ผู้เรียนเกิดความตระหนัก เรียนรู้ เกิดศรัทธา และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง

3.การสร้างเสริมจิตพิสัย (Affective domain) ตามแนวคิดของบลูม (Bloom) บลูม (อ้างใน Vurden & Byed, 1994 : 30)  ได้เสนอแนวคิดว่าพฤติกรรมด้านจิตพิสัยของมนุษย์ซึ่งได้แก่ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม ความชอบ ความซาบซึ้ง สามารถพัฒนาได้ตามลำดับขั้นตอน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

3.1    ระดับการยอมรับ (Receiving) ได้แก่ การยอมรับปรากฎการณ์หรือสิ่งเร้าด้วยความเต็มใจ

3.2    ระดับการตอบสนอง(Responding) เป็นการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น

3.3    ระดับเห็นคุณค่า (Valuing) เป็นการเห็นค่านิยมหรือคุณค่าของการปฏิบัติตน และปฏิบัติตามค่านิยมนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ

3.4    ระดับการจัดระบบ(Organization) เป็นการจัดประเภทและลำดับค่านิยมต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้หรือปฏิบัติได้

3.5    ระดับการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม(Characterization) เป็นการปฏิบัติตามค่านิยมนั้น ๆ เป็นประจำฝังแน่นในจิตใจและปฏิบัติทุกสถานการณ์และทุกโอกาส

4.  แนวการสอนเจตคติ ของกานเย่ (Gagne)

        กานเย่ (1974) ให้แนวการเรียนการสอนด้านเจตคติไว้ดังนี้

1.ทบทวนข้อความรู้และความคิดที่เกี่ยวข้อง

2.สร้างหรือระลึกถึงบุคคลตัวอย่าง

3.อภิปรายถึงผลของพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นตัวอย่าง

4.เปิดโอกาสให้เลือกตัดสินใจ

5.สังเกตพฤติกรรมผู้เรียน แล้วให้ข้อมูลย้อนกลับ

6.ให้แรงเสริม

7.เปิดโอกาสให้กระทำซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย

 

 5.   พุทธวิธีการสอน

        ในการพัฒนาจิตพิสัยในทางพุทธศาสตร์ได้มีผู้วิเคราะห์และรวบรวมแนวการสั่งสอนสาวกของ

พระพุทธองค์ไว้หลายวิธี ซึ่งเป็นแนวการสอนที่ประสบความสำเร็จสูง เพราะเป็นการสอนที่คำนึงถึงพื้นฐานลักษณะนิสัยและความรู้เดิมของสาวกเป็นสำคัญ วิธีสอนของพระองค์มีดังนี้

5.1 วิธีสอนแบบอุปมาอุปไมย

          วิธีสอนแบบอุปมา  อุปไมย หมายถึง วิธีสอนโดยการรวบรวมเนื้อหาเปรียบเทียบกับคน สัตว์ หรือสิ่งของเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมองเห็นภาพ เกิดมโนทัศน์ง่ายชัดเจนและสมจริง ใช้วิธีการบรรยายอธิบายเนื้อหาที่เป็นนามธรรมหรือเรื่องที่เข้าใจยากเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้เรียนจะเข้าใจและมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ในการเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยจะต้องเลือกตัวอย่างสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบอุปมา อุปไมยที่ชัดเจนและตรงกับเนื้อหา ตรงกับจุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนั้น ๆ มากที่สุด

5.2 วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา 

          วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา หมายถึง วิธีสอนที่ใช้การถาม – ตอบ  ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยผู้สอนเป็นผู้ถาม ผู้เรียนเป็นผู้ตอบ หรือผู้เรียนเป็นผู้ถาม   ผู้เรียนเป็นผู้ตอบเพราะในการถามตอบนี้ผู้สอนจะไม่ตอบคำถามเองแต่จะกระตุ้มเร้าหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันตอบเป็นการถามที่ต้องให้ความคิดในระดับต่าง ๆ

5.3 วิธีสอนแบบธรรมสากัจฉา

การสอนแบบธรรมสากัจฉา หมายถึง วิธีสอน

ที่ผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาของ การปฏิบัติศีลหรือการขาดหลักธรรม ให้นักเรียนสนทนากันจนได้ข้อสรุปความรู้ทางธรรม โดยมีลักษณะการสนทนา  ดังนี้

1)        อภิปรายตามหัวข้อธรรมในหมู่นักเรียนจนนักเรียนสรุปหลักธรรมได้

2)       ซักถามกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียนนักเรียนกับครูผู้ส่อนโดยนักเรียนเป็นฝ่ายถาม หรือฝ่ายตอบสลับกัน หรือนักเรียนและครูผู้สอนผลัดกันถาม ผลัดกันตอบ จนนักเรียนสรุปหลักธรรมได้

3)        ตั้งตัวแทนขึ้นซักถามกันระหว่างนักเรียนสองฝ่าย จนสรุปหลักธรรมได้ วิธีสอนแบบนี้เหมาะกับผู้เรียนที่มีพื้นความรู้ในเนื้อหาพอสมควร และต้องการที่จะหาความกระจ่างในเนื้อหาเพิ่มขึ้น วิธีการนี้ใช้ได้ดีกับผู้เรียนจำนวนน้อย และมีความสามารถในการใช้ภาษา การชักถาม โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น อภิปราย อธิบายได้ดีพอสมควร

5.4 วิธีสอนแบบอริยสัจ 4

วิธีสอนแบบอริยสัจ 4 มีขั้นตอนการจัด

กิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1)ขั้นกำหนดปัญหาหรือขั้นทุกข์ ครูช่วยนักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยความรอบคอบ และพยายามกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดแก้ไขให้ได้

2)  ขั้นตั้งสมมุติฐานหรือขั้นสมุทัย

ก.ครูช่วยนักเรียนให้พิจารณาตัวเองว่าสาเหตุของปัญหาที่ยกขึ้นมากล่าวในขั้นที่ 1 นั้นมีอะไรบ้าง

ข.ครูช่วยนักเรียนให้เกิดความเข้าใจว่าในการแก้ปัญหาใดๆนั้นจะต้องจำกัดหรือดับที่ต้นตอ หรือแก้ที่สาเหตุของปัญหาเหล่านั้น

ค.ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่าในการแก้ที่สาเหตุนั้นอาจจะกระทำอะไรได้บ้างคือ   ให้กำหนดสิ่งที่กระทำนี้เป็นข้อ ๆ ไป

3)  ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูลหรือขั้นนิโรธ

ก.ขั้นทำให้แจ้ง ครูต้องสอนให้นักเรียนได้กระทำ หรือทำการทดลองด้วยตนเองตามหัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ว่ากระทำกันในขั้นที่ 2 ข้อ ค.

ข.เมื่อทดลองได้ผลประการใดต้องบันทึกผลการทดลองแต่ละอย่างหรือที่เรียกว่าข้อมูลไว้เพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป

4)  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลหรือขั้น

มรรคผลจากการทดลองกระทำด้วยตนเองหลาย ๆ อย่างนั้น ย่อมจะได้ผลออกมาให้เห็นว่า แก้ปัญหาได้บางประการ แต่ไม่ค่อยชัดเจนนัก ผลที่ถูกต้องชี้ให้เห็นว่าแก้ปัญหาได้แน่นอนแล้ว และได้บรรลุจุดหมายแล้ว ได้แนวทางหรือข้อปฏิบัติที่เราต้องการแล้วเหล่านี้ หมายความว่า จะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูล ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในขั้นที่ 3 ข้อ ข. นั้น จะแจ่มแจ้งว่า ทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาที่กำหนดในขั้นที่ 1 ได้สำเร็จ

        5.5  วิธีสอนแบบสืบสวน สอบสวน ตามแนวพุทธศาสตร์

ระบบการเรียนการสอนแบบสืบสวน สอบสวน มีแนวคิดว่า การสืบสวน สอบสวน เป็นกระบวนการหาความจริงและวิธีการแก้ปัญหาด้วยการตั้งคำถามในแนวกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้งทางโลกและทางธรรมโดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

           ขั้นที่ 1  การเห็นปัญหา และการวิเคราะห์ปัญหา

           ขั้นที่ 2  การเสนอสาเหตุแห่งปัญหาในรูปของการตั้งสมมุติฐาน

           ขั้นที่ 3  การทดสอบสมมุติฐานด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล

           ขั้นที่ 4  การทดสอบสมมุติฐานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล

           ขั้นที่ 5  การสรุปผล

5.5 วิธีการสอนแบบไตรสิกขา

วิธีการสอนแบบไตรสิกขาเป็นวิธีสอนที่ประกอบด้วยขั้นตอนในการศึกษา 3 ขั้น ดังนี้

1)ขั้นศีล (ศีลสิกขา) คือ การควบคุมให้ผู้เรียนอยู่ในระเบียบวินัยทั้งทางกายและวาจา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นปกติ พร้อมที่จะเรียน

2)ขั้นสมาธิ (จิตสิกขา) คือ การฝึกสมาธิขั้นต้นในการควบคุมสติให้ผู้เรียนรวมจิตใจ ความแน่วแน่เป็นจุดเดียว ผู้เรียนตัดสิ่งรบกวนอื่น ๆ ออกจากความคิดและจิตใจ

3)ขั้นปัญญา (ปัญญาสิกขา) คือ ขั้นผู้เรียนใช้สมาธิ พลัง ความมีจิตใจแน่วแน่ทำความเข้าใจในปัญหา การหาเหตุของปัญหาเพื่อการแก้ปัญหา พิจารณาผลที่เกิดขึ้นจนเกิดความรู้แจ้ง เข้าใจ และแก้ปัญหาได้ เกิดการเรียนรุ้ เกิดปัญญาญาณขึ้นในตนเองมีมโนทัศน์ในเรื่องนั้นได้ถูกต้องตามความจริง

กล่าวโดยสรุปวิธีสอนแบบไตรสิกขา มีความ

เชื่อว่าคนจะมีปัญญาเกิดจากการฝึกกำลังใจให้แน่วแน่ มีสมาธิ การที่จะมีสมาธิแน่วแน่ก็ต่อเมื่อร่างกายอยู่ในสภาพปกติอยู่ในระเบียบวินัยอันได้แก่ การมีศีล เมื่อร่างกายควบคุมสติได้ จิตใจก็สงบ ช่วยให้กำลังความคิดคมกล้า เกิดปัญญารู้แจ้งและมีจิตใจที่ดีงาม

5.6 วิธีสอนแบบเบญจขันธ์

วิธีสอนแบบเบญจขันธ์ ใช้หลักการยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ

1)   ขั้นกำหนดและเสนอสิ่งเร้า (ขั้นรูป) โดยครูกำหนดสิ่งเร้าเป็นสิ่งที่สัมผัสรับรู้แล้วเกิดอารมณ์ความรู้สึก เป็นสถานการณ์หลาย ๆ สถานการณ์

2)     ขั้นรับรู้ (ขั้นเวทนา) ครูควบคุมการสัมผัสให้นักเรียนได้สัมผัส โดยอายาตนะทั้ง 6 ให้ถูกช่องทางการรับรู้อย่างแท้จริง และใช้คำถามแนะแนวทางรับรู้

3)   ขั้นวิเคราะห์ เหตุผล และสังเคราะห์ความรู้สึก (ขั้นสัญญา) ครูตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนคิดแยกแยะ ว่ามีอะไรเกิดขึ้น ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร ใช้คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนสรุปความรู้สึกขั้นต้นที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ

4)     ขั้นตัดสินความดีงาม (ขั้นสังขาร) เป็นขั้นให้ผู้เรียนวิจารณ์ความผิดความถูก ความดีงาม ความชั่วร้าย ความเหมาะสม ควรประพฤติ ไม่ควรประพฤติ

5)    ขั้นก่อเกิดอุปนิสัย หรือคุณธรรมฝังใจ (ขั้นวิญญาณ) เป็นขั้นใช้คำถาม เพื่อโน้มนำความดี หรือความรู้สึกอันชอบธรรมเข้ามาใช้ในใจของตน เป็นคำถามให้ผู้เรียนตอบโดยคำนึงถึงตนเองเป็นที่ตั้ง

5.7 วิธีสอนโดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการวิธีสอนโดยการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการมี 3 ขั้นตอน คือ

1)      ขั้นนำ การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียน และบทเรียน

ก.การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม

ข.บุคลิกภาพของครู และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์

ค.การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ

2)      ขั้นสอน

ก.ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียนหรือเสนอหัวข้อเรื่องประเด็นสำคัญของบทเรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ

ข.ครูแนะแหล่งวิทยาการและแหล่งข้อมูล

ค.นักเรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ โดยให้ทักษะที่เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และทักษะทางสังคม

ง. กิจกรรมที่เร้าให้เกิดการคิดวิธีต่าง ๆ

และยกตัวอย่างวิธีคิด 4 อย่าง คือ

-        คิดสืบค้นค้นเค้า

-        คิดสืบสาวตลอดสาย

-        คิดสืบค้นต้นปลาย

-        คิดโยงสายสัมพันธ์

จ. ฝึกการสรุปประเด็นข้อมูล ความรู้และเปรียบเทียบประเมินค่า โดยวิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทดลอง ทดสอบ จัดเป็นทางเลือก และทางออกของการแก้ปัญหา

ฉ.  ดำเนินการเลือกและตัดสินใจ

3)              ขั้นสรุป

ก.ครูและนักเรียนสังเกตวิธีการปฏิบัติตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขให้ปฏิบัติถูกต้อง

ข. อภิปรายและสอบถามข้อสงสัย

ค. สรุปผลการปฏิบัติ

ง. สรุปบทเรียน

จ.  วัดและประเมินผล

        กล่าวโดยสรุป การสอนโดยการสร้างศรัทธานั้น ครูเป็นบุคคลที่สามารถจัดสภาพแวดล้ม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ และได้ฝึกฝนวิธีการคิด โดยแยบคายนำไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริง มุ่งเน้นให้ครูเป็นกัลยาณมิตรของนักเรียน ครูและนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันนักเรียนได้มีโอกาสคิด แสดงออกปฏิบัติอย่างถูกวิธี จนสามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

5.8        วิธีการสอนตามหลักพหูสูต

กระบวนการเรียนการสอนตามหลักพหูสูต มี

3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1)              การสร้างศรัทธา

ก. การจัดบรรยากาศของชั้นเรียนให้เหมาะสม

ข. บุคลิกภาพของครูและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน

ค. การเสนอสิ่งเร้าและสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้

2)              การฝึกทักษะภาษาตามหลักพหูสูต

ก. การฝึกหัดฟัง พูด อ่าน เขียน (พหุสสุตา practices)

ข. การฝึกปรือ เพื่อจับประเด็นสาระและจดจำ (ธตา)

ค. การฝึกฝน ฝึกการใช้ภาษาให้แคล่วคล่องจัดเจน (วจสาปริจิตา)

ง. การฝึกคิดพิจารณาจนเข้าใจแจ่มแจ้ง (มนสานุเปกขิตา)

-        คิดจำแนกแยกแยะ

-        คิดเชื่อมโยงสัมพันธ์

-        คิดสรุปหลักการ

จ. การฝึกสรุปสาระความรู้เป็นหลักการด้วยความเข้าใจแจ่มแจ้งและนำไปใช้ได้จริง(ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา) ขั้นการสอน ง. และ จ. ผสมกลมกลืนกันมาก แต่ขั้น ง. เน้นการฝึกคิด ส่วนขั้น จ. เน้นการสรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3)              การมองตนและการประเมินของกัลยาณมิตร

ก. การวัดและประเมินตนเอง

ข. การวัดและประเมินโดยเพื่อนนักเรียน

ค. การวัดและประเมินโดยครูผู้สอน

ง. การซ่อมเสริมและช่วยเหลือกันฉันกัลยาณมิตร

           กล่าวโดยสรุป การสอนตามหลักพหูสูต เน้นการสร้างศรัทธาที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เน้นการฝึกหัด ฝึกปรือ และฝึกฝน เน้นการฝึกคิดอย่างถูกต้องแยบคายและเน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

6.กลุ่มสัมพันธ์

กลุ่มสัมพันธ์  เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักเรียน

ได้พัฒนาการในด้านทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรมที่บกพร่อง เป็นปัญหา สมควรแก้ไข กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์จึงเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าใจความต้องการของตนเองและของผู้อื่น จากการสัมผัสด้วยการปฏิบัติจนเกิดการค้นพบสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วย

        วิธีการนำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มาใช้ในการเรียนการสอนก็เพียงแต่จัดเวลาและสถานที่ให้เหมาะสมต่อกิจกรรมที่จะนำมาใช้เท่านั้น แต่ขึ้นต่อนสำคัญอยู่ที่การสร้างกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะพัฒนา

        ขั้นตอนการสร้างกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

        ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ลักษณะของนักเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะศึกษาและพัฒนา เช่น ต้องการให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง ก็ศึกษาในด้านการแสดงออก การกล้าตัดสินใจ เป็นต้น

        ขั้นที่ 2 นำลักษณะที่วิเคราะห์ได้มาตั้งเป็นวัตุประสงค์ของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ โดยแต่ละกิจกรรมมุ่งพัฒนาลักษณะต่าง ๆ ที่ได้วิเคราะห์ไว้ในขั้นที่ 1

        ขั้นที่ 3 สร้างกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งควรได้รับการตรวจก่อนจากผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มสัมพันธ์ในเรื่องของความสอดคล้องของกิจกรรมกับจุดมุ่งหมาย

7.การให้สถานการณ์จำลอง

การใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึงการเรียนการสอนที่อาศัยสถานการณ์ที่สร้างขึ้นจากเนื้อ

หาในบทเรียน หรือการจำลองสถานการณ์เป็นจริงมาใช้ในชั้นเรียน โดยจัดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการเรียนในแต่ละคาบ คาบละ 1 สถานการณ์ และสถานการณ์นั้นจะต้องง่ายต่อการทำคามเข้าใจของนักเรียนแล้วให้นักเรียนเข้าร่วมในสถานการณ์ตามที่ได้รับรู้ด้วยตนเอง

        ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง

1.การสำรวจวิเคราะห์ขั้นนี้เป็นการศึกษาและ

สำรวจจุดประสงค์การเรียน ศึกษาสถานการณ์ประเภทต่าง ๆ ขอบเขตเนื้อหาวิชา แล้ววิเคราะห์ดูว่าสถานการณ์ชนิดใดที่ให้ประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากที่สุด

2.กำหนดจุดประสงค์ เป็นการกำหนดว่า

ต้องการให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรบ้างเมื่อเรียนรู้สถานการณ์แล้ว

3.การคัดเลือกสถานการณ์ พิจารณาเลือกสถาน

การณ์ที่เป็นจริงและสอดคล้องกับจุดประสงค์มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการสอนในชั้นเรียน โดยสถานการณ์นั้นต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์ตัดสินใจก่อนให้เกิดการเรียนรู้และทักษะที่ต้องการมากที่สุด

4.กำหนดโครงสร้างของสถานการณ์จำลอง การ

กำหนดโครงสร้างนี้ ประกอบด้วยการกำหนดจุดประสงค์ของสถานการณ์จำลอง บทบาทของผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละคน เตรียมข้อมูลเนื้อหา กำหนดสถานการณ์ที่เหมือนจริงในสังค

คำสำคัญ (Tags): #จิตพิสัย
หมายเลขบันทึก: 320063เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (189)

ใจดีมากครับ

อยากได้จังแจกด้วย

ส1.041 ได้อ่านข้อมูลของคุณแล้ว คุณคงจะชอบเรื่องธรรมะนะคะ ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

ส1.จอมขวัญ(026) ได้อ่านข้อมูลของท่านแล้วเป็นที่น่าพอใจมากท่านคงเป็นคนที่ชอบธรรมะมากนะ ฉันก็เป็นอีกคนที่ชอบธรรมมะเหมือนกัน ข้อมูลของคุณดีมากค่ะ

ส1 (045)ได้อ่านแล้วคงจะชอบธรรมมะมากเลย ดิฉันก็ชอบเหมือนกันค่ะ ธรรมมะทำให้เราสบายใจมาก สอนอะไรเราได้หลายอย่าง สอนให้คนเป็นคนดีไม่เอาเปรียบผู้อื่น รักความสามัคคี ขอบคุณมากนะค่ะ

น่าจะใส่รูปให้เยอะกว่านี้นะคับ

  •  วิธีสอนแบบเบญจขันธ์...ดีมาก

อ่านแล้วก็สนุกดีค่ะ (016)

ก็ดีนะคับแต่อยากได้รูปเยอะๆจะได้ดูรูปนะคับ (016)

ค่ะได้อ่านแล้วก็ดีนะค่ะ อ่านแล้วก็ได้คิดตามค่ะ

ดีนะค่ะอ่านแล้วก็ดีค่ะ(016)

เช่อแหวนจร้าอ่านแล้วก็ได้ความรู้ ค่ะ(016)

นายพงษ์พัฒน์ อามาตร์

อ่านแล้วครับ ก็ดี ได้ความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องต่างๆ อีกหลายเรื่อง

แต่ถ้าเพิ่มรูปภาพเข้ามาประกอบไปกับเนื้อหาก็น่าจะดีนะครับ เพราะจะได้เพลิดเพลินไปกับการอ่านครับ

น.ส.ฐาติมา ลิ้มเลิศ

ปวส.1คอมฯ(030) ก็ดีนะค่ะสำหรับเนื้อหาแต่ตัวหนังสือหัวข้อมันใหญ่เกินไปค่ะ และถ้ามึภาพเข้ามาประกอบก็น่าจะ O.k กว่านี้นะค่ะ

ดีมากครับ

เป็นวิธีสอนที่เป็นใหม่ทำให้น่าสนใจมากขึ้น

น.ส.นิภาพร หัดคำหมื่น 028

อ่านแล้วดีค่ะ

ได้ความรู้

น่าจะมีรูปภาพนะค๊ะ

*-*(016) น่าจะจะมีรูปเยอะๆนะคับ

นางสาวพริ้งเพรา วรรณสิทธิ์ (053)

เช่อ นางสาวพริ้งเพรา วรรณสิทธิ์ (053) บัญชี ปวส.1 ค่ะ

-*-**--(053) ดีคับ อ่านแล้วก็สนุกดีคับ

-** (053) ดีค่ะสนุกดี ได้ความรู้ด้วย

053 น่าจะมีรูปเยอะๆค่ะ

  • 016   ดีค่ะแสดงความคิดเห็นนะค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้หลายอย่างมากเลยค่ะ และอยากให้อาจารย์หลายๆท่าน 

สอนนักเรียนนักศึกษาอย่างนี้ทุกสถานศึกษาเลยนะคะ

(ส.037)

นางสาว วราภรณ์ บุญเอนก(010)

ดีค่ะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านดีแต่การมีรูปภาพประกอบก็จะดีกว่านี้ค่ะ

น.ส อรนุช กิจสามารถ

เนื้อหาก็ดีค่ะ แต่มีบางจุดที่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ อยากให้มีคำอธิบายคำย่อพร้อมกับมีภาพประกอบด้วย

เพื่อคนที่ไม่รู้จะได้เข้าใจมากขี้น

น.ส.เตือนใจ โสดาดง(029)

จะว่าไปก็ดีเหมือนกันนะค่ะแต่ผิดที่ว่ายังอ่านไม่จบ ยังไงก็ขอ copy ไว้อ่านต่อแล้วกันนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้นี้

นางสาวนิภาพร หัดคำหมื่น028

ดีค่ะ

เนื้อหาก็ดีค่ะ แต่มีบางจุดที่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ อยากให้มีคำอธิบายคำย่อพร้อมกับมีภาพประกอบด้วย

ดีครับ

ให้ความรู้ในหลายๆด้านมากเลยครับ

com(019)ปนิดา

ดีมากเลยค่ะ

เนื้อหาดีมากเเต่หน้าจะมีรูปภาพประกอบไปด้วย

จะได้อ่านแล้วรู้สึกว่าไม่ลายตาเวลาอ่าน

ดีคะ มีการนำเอาหลักคุณธรรม จริยธรรม นำมาใช้กับผู้เรียน

com(009)

อ่านแล้วเห็นสมควรที่จะนำไปใช้เป็นอย่างยิ่ง น่าจะมีภาพประกอบให้น่าสนใจมากกว่านี้

บอย com(009)

น่าสนใจดีคะ สามารถนำไปไช้ได้ในชีวิตประจำวัน

รัตนา (035)

อ่านแล้วเห็นสมควรที่จะนำไปใช้เป็นอย่างยิ่ง น่าจะมีภาพประกอบให้น่าสนใจมากกว่านี้

บอย com(009)

ดีครับ

ตัองจัดตัวหนังสือใหม่ อันเก่ามันเล็กไปอ่านไม่ค่อยออกครับ และน่าจะมีภาพประกอบให้มากๆๆ ครับ

ชาติ (009)

*-* -------016----- ดี จร้า อ่าน แล้ว ก็สนุกดีค่ะ

อ่านแล้วก็ดีคับนะคับ (016)

*-* 053 ดี จ๊ะ อ่านแล้วก็ดี

*-* ------ (053 ) ----- ดีคับ อ่านแล้วก็ดี

อ่านแล้วก็ได้ความรู้คับ (016)

*-* อ่านแล้วก็ได้คิดตามคับ (053)

(016) ดีจร้า ได้อ่านเรื่องดีๆแบบนี้

**--** (053)ดีค่ะที่ได้อ่านเรื่องดีๆๆอย่างงี้

----(016)---- น่าจะมีภาพประกอบเยอะๆๆนะค่ะ

*-* (053) *-* น่าจะมีภาพหลายๆๆค่ะ

  • (016) มีความสุขค่ะที่ได้อ่าน
  • *-*(053) มีความสุขดีที่ได้ อ่าน

*-* 016 ดีค่ะอ่านแล้วสนุกดี

ค่ะอ่นแล้วอารมดีค่ะ 053

  • ปลามค่ะ ออกความคิดเห็นนะค่ะ 016

ค่ะ ดีมากเลยค่ะอ่านแล้วรู้สึกอยากเรียนมากขึ้น ทำให้ผู้อ่านมีความสนใจดีค่ะ

อ่านแล้ว ดีมาค่ะอยากทำให้เข้าไปเรียน ดีทีเดียวที่อาจารย์นำสิ่งรอบตัวมาสอนให้นักเรียนค่ะ สบายดีเจ้า 008

  • *-*ก็ดีคับอ่านแล้ว สนุกด้วย 016
  • *-*ก็ดีคับอ่านแล้ว สนุกด้วย 053
  •  
    • อ่านแล้วเหมื่อนว่า งง นิดๆๆ 016

++++ 016 +++ ดีค่ะ อ่านแล้วได้สาระดีค่ะ

----- 053 ---- ดีคับอ่านแล้วสนุกนะคับ

นางสาวขรินทร์ทิพย์ ทองสลับ คอมฯ ปวส1

น่าจะมีรูปประกอบค่ะจะได้เห็นภาพด้วยค่ะเนื้อหาอ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะ

ดีค่ะเอาธรรมมาผสม

ดีครับเห็นด้วยเลยเป็นแนวทางที่ดีสำหรับครูผู้สอนและผู้เรียน

สอดแทรกหลักธรรมเข้าไปด้วย

(009)

ดีนะคะเป็นแนวคิดที่ดีในการสอนเลยล่ะค่ะ

ดีนะคะเป็นแนวคิดที่ดีในการสอนเลยล่ะค่ะ(026)

ดีครับเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนได้ดีเลยครับ

ดีครับเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนได้ดีเลยครับ----026-----

นำความรู้ที่ได้มาดัดแปลงใช้กับสถานการณ์จริง

เห็นด้วยคะ

(009)

ดีมากเลยครับ

นำไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ดีเลยทีเดียว

ควรจะมีภาพประกอบด้วยนะครับ

......009.....

เป็นแนวทางที่ดีของครูผู้สอนที่ยังไม่มีประสบการณ์

........009

ดีครับ

มีเนื้อหาครบทุกวิขาและเรื่องต่างมีมากมาย

ปนิดา(019)

ก็ดีคะ อ่านแล้วได้ความรู้มากเนื้อหาดีอ่านแล้วสนุกค่ะ

วิภา(002)

ดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วไม่ข้อคิดดีๆมากมาย

นริสรา พลยศ ปวส.1 คอมฯ

อ่านแล้วเนื้อหาดีมากให้ความรู้ดีค่ะ

สุภาพร (004)

ก็ดีคะ อ่านแล้วทให้เพลิดเพลินสามารถนำมาใช้ในการเรียนได้ด้วย

ดอกไม้(007)

ดีค่ะอ่านแล้วเป็นเนื้อหาสาระที่ดี

รหัส 008

ดีค่ะอ่านแล้วเข้าใจดีมาก

รหัส004

ดีมากเลยครับมีสาระดีมาก แต่ถ้ามีภาพประกอบจะดีกว่านี้ครับ

                              รหัส 008

ดีมากเลยค่ะที่นำเอาหลักธามมาสอนเป็นเรื่องที่ดี ยังมีต้ายสำนึกที่ดีด้วยนะ

                                 รหัสน้องสาว 008

ถ้าเด็กทำได้จะทำให้สังคมของเราดีขึ้นมากเลย

ถ้าเด็กทำได้จะทำให้สังคมของเราดีขึ้นมากม๊าก

ถ้าเด็กทำได้จะทำให้สังคมของเราดีขึ้นมากม๊าก

นายพงษ์พัฒน์ อามาตร์ คอม

อ่านแล้วก็ดีนะครับ ให้ความรู้ได้หลายเรื่องหลายวิชา และยังได้ข้อคิดอีกหลายๆอย่างครับ

เนื้อหาดีมากค่ะ มีสาระน่าอ่านมีเนื้อหาครบหลายวิชาที่ต้องศึกษา

****016**** ดีคับ สนุกดี

+++++016++++ ได้ความรู้คับ

016 ดีคับสวยดี

016 น่าจะใส่รูปอีก

* * * * * 053 * * * * * ดีนะคับที่มีอย่างงี้ให้อ่าน

+ + + + 053 + + + ดีคับ อ่านสนุกดี

- - - - - 016 - - - - ดีคับได้ความ รู้ดี

ดีนะค่ะ...อ่านแล้วรู้สึกว่าได้เกร็ดความรู้มากเลยค่ะ

===== 016 ==== ดีนะคับที่ได้อ่าน

!!!!!! 016 !!!!! ดีคับอ่านสนุกได้ใจความดี

%%%%% 053 %%%%% ออกความคิดเห็นนะค่ะ

*-* 016 -**-* อ่านสบายดีคับ

///// 016 ///// อ่าน สนุกดีคับ

เป็นข้อท่คุณครูควรปฏิบัติอย่างยิ่งไม่ใช่จะเอาแต่กฏเกณฑ์ของตัวเองเป็นใหญ่

ก็ดีค่ะได้ความรู้ดี

ก็ดีค่ะ ^_^ สามารถนำมาใช้และปฏิบัติได้จริง

(041)ดีค่ะได้ความรู้ใหม่ๆดีค่ะ ^_^!!!!! ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะT.,T

ดีมากเลยค่ะ อ่านแล้วรู้สึกดีและเราสารถนำไปใช้และนำไปปฏิบัติได้จริง

ดีครับสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

ดีค่ะชอบมากเลย

ดีมากค่ะ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

อ่านแล้วได้ความรู้มากมาย

ดีค่ะ แล้วหนูจะนำไปใช้นะคะ เผื่อจิตพิสัยจะเพิ่มบ้าง

ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ครับ (ส.048)

เห็นสมควรนำสาระนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

อาชีพ...0011

ควรจะมีภาพประกอบเยอะๆจะได้ดูน่าสนใจมากกว่านี้

009 รัตนา

ก็ดีค่ะแล้วดิฉันจะนำไปปฏิบัติเผื่อจะได้จิตพิสัยดีเต็มร้อยไงค่ะอาจารย์

เป้นความรู้ที่ทุกคนควรนำไปปฏิบัติเพื่อที่จะมีจิตพิสัยที่ดี มีความรับผิดชอบมากขึ้นค่ะ

ดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

นางสาวรจนา วิณโรจน์

เนื้อหาสาระดีมากค่ะ

เหมาะแก่การเรียนการสอน

นางสาว จิราพร ยางธิสาร

อ่านแล้วดีมากสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นางสาว จิตตรา ค้ำคูณ

อ่านแล้วดีมากๆเนื้อหาสาระดี

นางสาว จิตตรา ค้ำคูณ

อ่านแล้วดีมากๆเนื้อหาสาระดีมากๆสามารถนำไปปฏิบัติได้

เมื่ออ่านแล้ว ก็ดีนะครับ ได้ความรู้ และข้อคิดมากมาย แต่ถ้ามีรูปประกอบมากกว่านี้ก็คงจะดีมากๆ

ก็ดีนะคับอ่านแล้วก็มีสารมากมาย

ก็ดีนะคับอ่านแล้วก็มีสารมากมาย

นายสุขภัสสร ธีสุระ

ดีครับ ผมคิดว่าหน้าจะเป็นอย่างนี้ทุกสถานศึกษา

เป็นสิ่งที่ดีมากเลย เพราะสามรถนำไปปฏิบัติได้จริง

เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

อ่านแล้วคุณสอดแทรกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาดีค่ะ

ได้ความรู้ที่ดีกลับไปด้วยค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้มากมายเลยค่ะ

ให้ความร฿ดีมากค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้

ได้ความรู้มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยคับ

เห็นด้วยค่ะมีความรู้ดีค่ะและสามารถนำไปใช้กับชีวิตเราได้จริง

อ่านแล้วก็ดีนะค่ะในการเรียนสอดแทรกพระพุทธศาสนาด้วย

ดีมากคะเข้าจัยในหลักพระธรรมและจริยธรรมด้วย

อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยค่ะ

ยอดเยี่ยมครับ

ส.1 040

อ่านแล้วได้ความรู้มากค่ะ นักศึกษาก็มีจริยธรรมไปด้วย

อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากๆเลยค่าเพราะเราจะได้ทราบถึงลายละเอียดต่างๆๆๆๆๆ

เป็นการให้ความรู้ที่ดีมากค่ะ030

ค่ะดีๆมากๆๆๆๆเลยค่ะเพราะเป็นการส่งเสริมที่ดี

ค่ะเป็นการส่งเสริมที่ดี

อ่านแล้วได้ความรู้มากๆๆๆๆๆค่ะ

อ่านแล้วมีความรู้และสามารถนำไปดำเนินชีวิตประวันได้และมีการสอดแทรกคุณธรรมที่ดีค่ะ

นางสาว บุษราภรณ์ วงคำแสง

อ่านแล้วมีความรู้ รับรู้ข่าวสารมากมาย ดีมาก ๆค่ะ

****-*-* 016 *-*-*-** อ่าน แล้ว สนุกดีคับ

- - - - - - - 016 - - - - - - - อ่านแล้วได้ความรู้ มาก มายเยย คับ

* * * * * * 016 * * * * * ไม่เข้า ใจเท่า ไรนะคับ

/ / / // / / / / / / 016 // / / / // น่าจะมีภาพสาวๆๆเยอะๆๆ

*- *- *- *- * -* 016 *- * *- *- *- * อ่านแล้วมีความรู้และสามารถนำไปดำเนินชีวิตประวันได้และมีการสอดแทรกคุณธรรมที่ดีคับผม

ทราบถึงแนวคิดและทฤษฎีในการสร้างเสริมจิตพิสัยค่ะ //*-*//

อ่านแล้วทำให้เราได้มีสติมากขึ้นเหมือนเรียนพระพุทธศาสนาไปในตัวอีกด้วยค่ะ =^-^"=

เนื้อหาดีมากค่ะแต่มีรูปภาพน้อยน่าจะมีมากกว่านี้เพื่อคนอ่านดูแล้วจะไม่น่าเบื่อค่ะ เรียนมาเพื่อทราบ//^^"//

อ่านแล้วทำให้เรามีสติมากขึ้น

เนื้อหาดีมากค่ะ

*-*-* -* -* -* 016 *- *-*-* -* อ่าน ได้ ใจความ ดีค่ะ

/ / -/ -/-// - 016 / -/ /-// /- / อ่านแล้วทามให้สงบใจได้

* * * * * 016 * * * * ** ก็ได้อ่านแล้วก็ดีมากเยยคับ

*-*- *-* - *-* - 016 * -* -* -*-* อ่านแล้ว ก็ดีมากๆๆๆเลยนะคับ

ดีคะ มีสาระน่าอ่าน (035)

อ่านแล้วได้สาระดี(035)

อ่านแล้วดีมากมีความรู้ด้วย

ณัฐวุฒิ จิ่นจันทร์

ได้ความรู้ครับ

ส1 .040

ดีมั้งครับ

อ่านไปอ่านนมางง นิดๆ ตัวหนังสือเล็กเกินรึเปล่าครับ

สาระดีนะครับ

แต่ตัวหนังสือเยอะไปทำให้ขี้เกียจอ่านนิดๆ(035)

ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์อย่างมาก -----026-----

ดีครับ มีประโยชน์

ส1.040

*- *- * -* -* -* 016 *- - *- *- * -* ดี คับ สนุก ดี อ่าน ได้ ใจ ความสุขคับ

+ + + + + + 016 + + + + + + ดีใจคับ ที่ได้ อ่าน

อ่านแล้วดีมีสาระ ทำให้ทุกคนได้นำไปเป็นข้อคิดและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วยครับ (035)

ดีค่ะอ่านแล้วมีสาระดี

รหัส 008

ดีค่ะอ่านแล้วมีสาระดี

รหัส 008

ดีค่ะได้ความรู้หลายอย่างมากเลยค่ะ

**-*-*-* 016 *-*-**-* ดีคับ อ่าน ได้ สาระดี

//-/-/-/-/-/ 016 /-/-/ -/ -/ -/ - ได้ ความ รู้ ดี คับ ป๋ม

หวัดดีค่ะ...ขอบคุณที่เยี่ยมชมค่ะ

บันทึกถ้ามีรูปภาพประกอบจะดีมากเลยค่ะ

************* 016 *****************ได้นำไปเป็นข้อคิดและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วยครับ

ได้นำไปเป็นข้อคิดและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (016)

บันทึกถ้ามีรูปภาพประกอบจะดีมากเลยค่ะ *-* (016)

มาทักทายนะค่ะ (016)

*-* *-*-* 016 *-*-*- * -*-*-* ดีคับ สนุกดี

หวัดดีจาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท