Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (11)


Appreciative Coaching

เวลาผมทำโครงการ AI ร่วมกับผู้ประกอบการและนักศึกษา พอสนิทๆกันแล้วมักมีเรื่องส่วนตัวต้องมาคุยกันครับ บางเรื่องเป็นเรื่องที่อาจเป็นเรื่องที่มีผลต่อความรุ่งเรือง หรือความย่งเหยิงในอนาคตของบริษัท กรณีหนึ่งคือ "หุ้นส่วน" หลายคนตอนเริ่มก่อร่างสร้างตัวจะเริ่มมีคำถาม ไม่ว่าจะถูกชวนไปลงทุน หรือชวนใครมาลงทุน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการถูกชวนไปลงทุน ผมจะถูกถามว่าอาจารย์คิดยังไง สิ่งที่ผมได้ให้คำแนะนำคือ "ให้สังเกตลักษระการฟังของคนนั้น เขาฟังคุณอย่างไร ถ้าเป็นประเภที่ ฟังเพื่อทำความเข้าใจกับคุณ แล้ววกเข้าทางของเขา" นั้นไม่ใช่แน่นอนครับ ตามประสบการณ์ของผมที่คุยกับผู้ประกอบการมา ประเภทหลังมักเกิดปัญหาในภายหลัง เป็นการคุยลักษณะเร่งเร้า ไม่ได้ฟังจริงๆครับ พูดง่ายๆผมกำลังจะบอกว่าใครที่คุยแบบ Dialogue เป็นโดยธรรมชาตินี่เป็นผู้ร่วมงานและหุ้นส่วนที่ดีครับ เท่าที่ผมให้ผู้ประกอบการนึกย้อนไป (บางคนเคยเจ็งมาเพราะหุ้นส่วนประเภทฟังแบบไม่ฟังนี่แหละครับ) ก็เจอแบบที่ผมตั้งข้อสังเกตจริงๆ  รายหนึ่งเคยชวนผมไปทำโนนทำนี่แต่ผมก็สังเกตว่าเขาไม่ฟังจริงๆครับ เขาให้ผมเล่าไปเล่ามา สุดท้ายก็จะตบเข้าทางเขาทุกที ผมก็ไม่เอาด้วยครับ ที่สุดผมได้ข่าวมาว่าบริษัทปิดไปหลังจากนั้นปีหนึ่งครับ เรื่องนี้เชื่อมโยงได้ถึงคำว่ายั่งยืนครับ หลายครั้งบอกได้เลยว่าถ้าเจ้าของ หรือผู้บริหารฟังไม่เป็น หรือฟังแล้วหาทางเล่าความสำเร็จ หรือ โชว์พาว เมื่อไร อันนั้นขาลงทั้งนั้นครับ

ผมอยากจะบอกจังเลยว่า PMQA อาจประเมินเพียงข้อเดียวก็พอครับว่า ผู้บริหารและคนในองค์กร "ฟังเป็นหรือเปล่า" ข้อเดียวก็พอแล้วครับ

คำสำคัญ (Tags): #ai#ukm16#appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 319280เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2009 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่าน อ.ดร.โย สุดสุดเลย "ฟัง.....เป็น" กับ "รับ...ฟัง"

อ.โย  ครับ   เป็นเคล็ดวิชา(และเป็นความรู้ใหม่ของผม) ที่ดีมากเลยครับ

*  ใครที่คุยแบบ Dialogue เป็นโดยธรรมชาตินี่เป็นผู้ร่วมงานและหุ้นส่วนที่ดีครับ

*  PMQA อาจประเมินเพียงข้อเดียวก็พอครับว่า ผู้บริหารและคนในองค์กร "ฟังเป็นหรือเปล่า" ข้อเดียวก็พอแล้วครับ

            ขอบคุณบันทึกดีๆครับ  บันทึกนี้ ทำให้ผมมีแรงบันดาลใจเขียนบันทึกใหม่ๆขึ้นมาอีกครับ

สวัสดีครับ อ.โย

ผมกำลังขมักเขม่นฝึกฝนตัวเองเป็นAI ระดับ Beginnerตามคำแนะนำของอาจารย์ครับ

ทั้งเรื่องในครอบครัวและในการทำงาน

ในการทำงานผมเริ่มใช้คำถามAI ถามผู้นำชุมชนในเรื่องแผนแม่บทชุมชนได้สัก 10 คนแล้วครับขาดอีก 20 จะตามสัมภาษณ์ให้ครบ 30 คนตามคำแนะนำของอาจารย์ครับ

รวมทั้งผมมีการพัฒนาเครื่องมือAIในการทำวิจัยด้วยครับ(ทำการบ้านส่งครู เพื่อจะรีบจบครับ)

"เราฝึกคนให้ทำ AI ให้เป็น .......... ขั้นแรกต้องทำ Appreciative Interview สักประมาณ 30 ครั้ง (Discovery) ผู้ทำจะเริ่มเจอโอกาสเองว่าอยาก Dream, Design และ Destiny อะไร เพราะฉะนั้นเราสามารถกำหนด KPI (แบบ Performance Driver) ได้เป็น ถาม 30 ครั้ง จะมีโอกาสเกิด Outcome คือ คนที่มีทักษะการทำ AI ระดับ Beginner 1 คน เพราะฉะนั้นหากเราอยากสร้าง Beginner 1 รายสิ่งที่องค์กรต้องพยายามทำคือ สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม และโอกาสให้เขาถามให้ได้ 30 คนครับ"

ขอบคุณครับ อ.โย สำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

ขอบคุณทุกท่าน แรงบันดาลใจของผมมาจาก www.gotoknow.org นี่แหละครับ ผมมีความสุขที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นี่ครับ

จะว่าไปแรงบัยดาลใจการทำป.เอก ของผมก็มาจากการได้ยินท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พูดถึง AI นี่แหละครับ จะว่าไปเครือข่ายของผม AI Thailand มีจุดเริ่มมากจากประกายความคิด การให้ของผู้ใหญ่ใน gotoknow นี่เองครับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเขียนตอบ Feedback ครับเป็นตัวอย่างในการทำ KM แบบจิตสาธารณะให้ผมครับ

เป็นประโยชน์อย่างมากมายครับ หัวข้อนี้

ถึงผมจะอายุยังน้อยแต่คิดว่า ในอนาคตเรื่องนี้ เป็นประโยชน์

กับผมอย่างแน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท