Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (10)


ทำให้การชื่นชมเป็น Appreciative Evaluation

เคยทำแบบประเมินกันทุกคนใช่ไหมครับ แล้วก็พบว่าไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ แถมยังเจอบ่นเรื่องเดิมอีก เป็นไปได้ไมหเราอาจต้องมีทางเลือกในการประเมินใหม่ๆ บางที่อาจเจออะไรแปลกๆ เช่นเมื่อคราวผมไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำ KM แนว AI ที่คณะทันตแพทย์ มข. ตอนท้ายผมให้ลองประเมินโดยใช้แนวทาง Appreciative Evaluation ผมถามง่ายๆว่า ที่ผมมาวันนี้ "ชอบจุดไหนที่สุด หรือตอนไหนที่สุด" ครับ มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งพูดไว้น่าสนใจครับ เขาชอบที่เขาได้มีโอกาส "เตรียมอาหาร" มาร่วมทานกลางวันไป เพื่อทำ KM กันไปครับ หลายคนรีบพยักหน้าครับ ผมว่านี่อาจเป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง โดยทั่วไปคนเราอาจจัดการสัมมะนาโดยพยายามอำนวยความสะดวกให้ผู้มาร่วมงงาน โดยจัดเบรค จัดอาหารให้ ในที่สุดเราอาจได้งานสัสมมะนาแบบ "บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป" คือหาการมีส่วนร่วมไม่ค่อยได้ ลองทำอะไรแบบนี้สิครับ ลองให้ผู้เข้าร่วมงานหาอาหารมาแบ่งกันกิน สนุกดีครับ และวันน้นเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ที่ผมมีความสุขมากวันหนึ่งเลยครับ สนใจเรามีทีมให้คำปรึกษาเรื่อง Appreciative Evalaution หรือสนใจอ่านจาก หนังสือเรื่อง Appreciative Evalaution ได้

 

  

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#ai
หมายเลขบันทึก: 319112เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

   ผมเคยลองประเมินแบบสนทนากลุ่ม(Focus group) ดู  พบว่าผู้ถูกประเมินมีความพึงพอใจครับ ที่เขาได้พูดและมีคนฟังเขา  ผมเองก็ได้ข้อมูลเชิงลึกครับ

   ประเมินแบบนี้  ไม่มีการจับผิดครับ   เน้นการใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์และพัฒนา

ขอบคุณครับ ผมลองเอามาประเมินหลังเรียนแล้วดีมากครับ ใช้ที่ MBA ก็ work ครับได้รู้อะไรแปลกเยอะดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท