อิสติฆฟาร


การขออภัยโทษต่อพระผู้สร้าง

อิสติฆฟาร

          ภาษาอาหรับ หมายถึง การขอให้อัลลอฮฺอภัยโทษให้กับบาปและความผิดที่เราได้กระทำลงไปโดยเราสำนึกผิดและไม่คิดจะกลับไปทำอีก

          อิบนุก็อยยิม อธิบายว่า อิสติฆฟาร คือ การกลับตัวหรือการเตาบะฮฺ การขอให้อัลลอฮฺอภัยโทษ ลบล้างบาป ขจัดพิษภัยให้หมด พร้อมกับขอให้พระองค์ปกปิดมันไว้ (มะดาริจญ์ อัส-สาลิกีน 1:307)

คุณค่าและความสำคัญของอิสติฆฟาร คือ

          (1) อิสติฆฟารเป็นเครื่องหมายของการตักวา มีบางอายะฮฺในอัลกุรอานที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงคุณลักษณะต่างๆ ของมุตตะกีน หรือบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระองค์ โดยระบุอิสติฆฟารเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ชัดเจนของพวกเขา (ดู อาล อิมรอน : 15-17, อัซ-ซาริยาต : 15-18)

 

           (2) อิสติฆฟารเป็นเครื่องป้องกันจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ในอัลกุรอานอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 

«وَمَا كَانَ اللّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ وَأَنتَ فِيهِمْ وَمَا كَانَ اللّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَهُمْ يَسْتَغْفِرُونَ» (الأنفال : 33 )

ความว่า และอัลลอฮฺจะไม่ลงโทษพวกเขาในขณะที่มีเจ้า(มุหัมมัด)อยู่ระหว่างพวกเขา และอัลลอฮฺจะไม่ลงโทษพวกเขาทั้งๆ ที่พวกเขานั้นได้อิสติฆฟาร

 

โองการนี้ได้พูดถึงบรรดาพวกมุชริกีนมักกะฮฺที่ปฏิเสธการเชิญชวนของท่านนบี
ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเยาะเย้ยท่านด้วยการเรียกร้องให้ท่านนำการลงโทษของอัลลอฮฺมาให้พวกเขาเห็น แต่อัลลอฮฺก็มิได้ทรงลงโทษพวกเขาในทันทีทันใด ทั้งนี้เพราะเหตุที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม อยู่พร้อมกับพวกเขา และตัวพวกเขาเองนั้นถึงแม้จะเหยียดหยามท่านนบีอย่างไร ก็ล้วนรู้อยู่แก่ใจว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งที่เลวทราม และกลัวอยู่ลึกๆ ว่าอัลลอฮฺจะลงโทษพวกเขาจริง จึงได้กล่าวอิสติฆฟารต่ออัลลอฮฺ นี่คือความหมายของประโยคที่ว่า "และอัลลอฮฺจะไม่ลงโทษพวกเขาทั้งๆ ที่พวกเขานั้นได้อิสติฆฟาร" การอิสติฆฟารของพวกเขาเป็นเหตุป้องกันไม่ให้อัลลอฮฺส่งการลงโทษของพระองค์ลงมา (ดู ตัฟซีร อัส-สะอฺดีย์ หน้า 297)

          มีรายงานจากเศาะหาบะฮฺบางท่านกล่าวว่า มนุษย์ทั้งหลายมีมูลเหตุแห่งความปลอดภัยจากการลงโทษอยู่สองประการ นั่นคือ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และการอิสติฆฟาร ท่านนบีนั้นได้จากไปแล้ว ในขณะที่อิสติฆฟารจะยังคงอยู่จนถึงวันกิยามะฮฺ (ดู ตัฟซีร อัต-เฏาะบะรีย์ 2:381)

          อาจกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า มนุษย์ทุกคนในแต่ละวันอาจมีการกระทำความผิดไปโดยปราศจากความตั้งใจ แต่ประเด็นสำคัญคือ เค้าเหล่านั้น มีการขออภัยโทษต่อพระองค์บางหรือเปล่าในแต่ละวัน วันหนึ่งๆ เค้าเคยนั่งหลังละหมาด แล้วกล่าวว่า      อัสเตาฟิรุลลอฮฺ บางหรือเปล่า

 

 

หมายเลขบันทึก: 318929เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ข้อคิดที่น่าสนใจมากครับ...สู้ๆนะน้อง

เมื่อวาน ตอนนั่งรถกลับ ก็เปิดวิทยุ คณะอิสลามศึกษา มอย.

เขาเปิดเทปอธิการสอนเรื่องนี้พอดี ...

ท่านว่า.. เรื่องดนยา ความสะดวกสบาย เรามีเหนือนบีทุกอย่าง

แล้วทำไมเรื่องนี้เราไม่ทำให้เกินเลยนบีบ้าง

นบี อิสติฆฟารฺ วันละร้อยครั้ง ... ท่านว่าเราจะเป็นพันครั้ง ..

เพราะทำได้ทุกที่ ... อย่าเอาอย่างบางคนบอกว่าค่อยไปทำตอนทำฮัจญ

เพราะ..เรื่องอิสติฆฟารฺและเตาบัตนี้ เป็นวาญิบ ฟัรฎูอีน ต้องทำในทันทีน จะผัดวันประกันพรุ่งไม่ได้

P
เสียงเล็กๆ فؤاد
เมื่อ อ. 08 ธ.ค. 2552 @ 18:27
ขอบคุณครับสําหรับกําลังใจที่ให้เสมอมา
P
Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق
เมื่อ พ. 09 ธ.ค. 2552 @ 06:14
 จริงครับอาจารย์ เพราะเรื่องเหล่านี้มนุษย์ผู้อยู่ในความขาดทุน จะต้องพึงสังวร
ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท