ในธรรมชาติมีความเหมือนและความต่าง


เมื่อท่านอ่านหนังสือนี้  ท่านจะเห็นทั้งความเหมือนและความต่าง  เช่น   ก,  ก,  เหมือนกันในแง่การเป็นตัว  ก, เหมือนกันในแง่ของการเป็นตัวอักษรไทย, เหมือนกันในแง่ของการมีเพียงจำนวนหนึ่งตัว,  เป็นต้น  แต่ต่างกันในแง่ของสี,  ต่างกันในแง่ของขนาด,  ต่างกันในแง่ของตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในขณะนี้  คือตัวหนึ่งอยู่หน้า  อีกตัวหนึ่งอยู่หลัง  ฯลฯ

คราวนี้ท่านดูไปที่เฟอนิเจอร์ในบ้านของท่าน  สมมุติว่าท่านเห็นเก้าอี้สองตัว  แน่นอนทีเดียว  ต้องมีทั้งความเหมือนและความต่าง   เช่น  เหมือนกันในด้าน  ใหญ่,เล็ก,สูง,เตี้ย,สี,ลวดลาย,แหล่งผลิต,ต่างก็เป็นวัตถุ,ต่างก็มีน้ำหนัก,ต่างก็มีราคา,ฯลฯ  ส่วนที่ต่างกันก็เช่น  ใหญ่-เล็ก, สูง-เตี้ย,สีดำ-แดง, น้ำหนักเบา-หนัก,ฯลฯ

ต่อไปลองมองออกไปนอกบ้านบ้าง  เราจะเห็นความเหมือน-ความต่างในต้นไม้หน้าบ้าน, เห็นความเหมือน-ความต่างของหมา-แมว,ของสัตว์,ความเหมือน-ความต่างของสรรพสิ่ง, ความเหมือน-ความต่างของกลิ่น,  ความเหมือน-ความต่างของรส,  ความเหมือน-ความต่างของเสียง,

ฯลฯ

มันช่างมหัศจรรย์จริงๆ !

สิ่งทั้งหมดที่กล่าวมา  เราเรียกว่า "ข้อเท็จจริง"  หรือ  Facts

และยิ่งมหัศจรรย์กว่านั้น  เมื่อมนุษย์  หรือสัตว์อื่นเกิดมาในโลกครั้งแรกๆ  ซึ่งเราก็ไม่รู้ชัดเจนว่ามันเกิดมีขึ้นได้อย่างไร?  เพียงแต่เรารู้คร่าวๆว่า  อนุภาคต่างๆรวมกันเป็น อะตอม  อะตอมรวมกันเป็นโมเลกุล  หลายๆโมเลกุลรวมกันเป็นเซลล์  เซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ  เป็นเลือด  เป็นกระดูก  เป็นเอ็น  เป็นตับ  ไต  ไส้  พุง  เป็นสมอง !! และมันเกิดมีหน้าต่างของสมองให้สรรพสิ่งเข้าไปถึงสมองได้  หน้าต่างเหล่านั้น  ก็คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  ปลายรีเซ็ปเตอร์ที่ผิวหนัง เป็นต้น  มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ "ให้สรรพสิ่งภายนอกสมองเข้าไปถึงสมอง"  ดังนั้น  อวัยวะเหล่านี้จึง "ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้" ถ้า"ไม่มีกลิ่น"อยู่ภายนอก  ก็คงจะ "ไม่มีจมูก"กระมัง  เพราะไม่จำเป็น  สัตว์ใดที่มีอวัยวะเหล่านี้ไม่ครบ  ก็รับสัมผัสไม่ได้  เช่น  กบ  สัมผัสสีได้ไม่ครบ  เป็นต้น

แต่หน้าต่างเหล่านี้ก็เพียงให้มันเข้าไป  หน้าต่างเหล่านี้ไม่ "รู้สึก" ใดๆหรอก  สิ่งที่ "เกิดความรู้สึกก็คือ สมอง"  และด้วยเหตุที่ภายนอกมี"ความเหมือน-ความต่าง"  ดังนั้น  สมองก็ "เกิดมี" "ความสามารถ"ที่เรียกว่า "การจำแนก"  และ "การลงสรุปเป็นนัยทั่วไป" ขึ้นมา "เพื่อการนี้" ไว้เป็น "พื้นฐาน" ในการ "รับรู้สรรพสิ่งจากภายนอก"

ความสามารถนี้ทำให้สัตว์เอาชีวิตรอดได้

เมื่องูเห็นคน  มันก็ "เลื้อยหนี"  แต่เมื่อมันเห็น "กบ" มันเลื้อย"เข้าไปหา" เพื่อจับกิน "เพื่อเอาชีวิตรอด"   แสดงว่ามันมีความสามารถด้าน "จำแนก" ระหว่างคนกับกบ ต่อมาเมื่อเห็น"ลูกไก่" มันก็จับกินอีก  นานเข้าก็ทำให้"เมื่อมันเห็นสัตว์ใดเล็กกว่ามันก็จับกิน" เหตุการณ์นี้เรียกว่า "ลงสรุปเป็นนัยทั่วไป" ภาษาตรรกศาสตร์เรียกว่า "อุปนัย"  หรือ Induction

ถ้าใครมีความสามารถนี้มากๆ  จำแนกได้รวดเร็ว  และถู  ลงสรุปได้รวดเร็วและสอดคล้องกัน  ในขณะที่บางคนทำไม่ได้เหมือนตน  เราเรียกว่าเขามี "ปัญญาสูง"  อีกคนหนึ่งก็"มีปัญญาต่ำ"  หรือถ้ามีความเกลียดชังอยู่ด้วยก็จะใช้คำอื่นแทน  เช่น  โง่  หนักเข้าไปอีกก็  โง่เง่าเต่าตุ่น  บัดซบ !!  ก็มีใช้กันในสังคมของเรา

ช่างไม่ให้เกียรติในความเป็นเพื่อนมนุษยืกันบ้างเลย.

หมายเลขบันทึก: 318432เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2009 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน ท่านอาจารย์ไสว  ผมน้องใหม่ เพิ่งนำเสนอแนวคิดผ่านเว็บ

http://www.nature-dhama.ob.tc  ฝากข้อคิดเห็นให้กระผมบ้างเป็นพระคุณยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท