พ่อแม่ครูอาจารย์


การเรียนรู้โดยการฟังหรืออ่านนั้นจะเทียบกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนั้นไม่ได้ เพราะภาษาหรือคำพูดมีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายบางอย่างได้หมด...

 

Laungta01

 

 

  • ตอนที่เข้ามาทำงานในภาควิชาการบริหารการศึกษาใหม่ ๆ นั้น อาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้มอบหนังสือ "พ่อแม่ครูอาจารย์" ให้ เป็นหนังสือเล่มขนาดใหญ่ปกสีทอง สันสีทอง ที่ศิษย์ยานุศิษย์ท่านหลวงตามหาบัว ได้เรียบเรียงขึ้นถวายหลวงตา
  • ผมอ่านอยู่หลายต่อหลายครั้ง และทุกครั้งที่อ่านนั้นแทบจะวางไม่ลง เพราะเป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ อีกเล่มหนึ่ง แต่ก็แปลกเหลือเกินอ่านอย่างไรก็อ่านไม่จบ  
  •  เมื่อคืนนี้เป็นอีกคืนหนึ่งที่มีโอกาสได้อ่านอีกครั้งหนึ่ง คืออ่านตั้งแต่ประมาณ 4 ทุ่ม จนถึงประมาณตีสอง สุดท้ายก็อ่านถึงที่เดิม คือ ช่วงที่ท่านจะบรรลุธรรมในพรรษาที่ 16 หรือประมาณปี พ.ศ.2493
  • ที่อ่านผ่านตรงนี้ไม่ได้ ผมประมาณว่า การเรียนรู้โดยการฟังหรืออ่านนั้นจะเทียบกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนั้นไม่ได้ เพราะภาษาหรือคำพูดมีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายบางอย่างได้หมด...
หมายเลขบันทึก: 317986เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

การเรียนรู้โดยการฟังหรืออ่านนั้น จะเทียบกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนั้นไม่ได้ เพราะภาษาหรือคำพูดมีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายบางอย่างได้หมด.

จริงอย่างว่าค่ะ

การเรียนรู้โดยการฟังหรืออ่านนั้น จะเทียบกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนั้นไม่ได้ เพราะภาษาหรือคำพูดมีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายบางอย่างได้หมด.

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

การเรียนรู้โดยการฟังหรืออ่านนั้น จะเทียบกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนั้นไม่ได้ คงเหมือนเราสอนการทำแกงว่าใส่อะไรบ้างสีสรร รสชาดเป็นอย่างไร อร่อยอย่างไร ผู้เรียนก็คงไม่รู้เท่าเทียมได้กับได้ลองทำและปฏิบัติจริงและลิ้มลองดัวยตนเองจริงว่าแกงนั้นอร่อยหรือรสชาดอย่างไร

ขอบอกเบอร์โทรอาจารย์นะคะ นางอัจฉราภรณ์ ร่มแก้ว 089-4210533

 

สวัสดีครับ คุณ อรทัย 

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
  • ขอให้มีความสุขกับ Gotoknow นะครับ

 

สวัสดีครับ คุร ภูมิผักแว่น     

 

  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
  • ขอให้มีความสุขกับ Gotoknow นะครับ
  • เห็นด้วยกับคุณอัจฉราภรณ์ ว่าการเรียนรู้โดยการฟังหรืออ่านนั้น จะเทียบกับการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงนั้นไม่ได้ เพราะประสบการณ์ล่าสุดเมื่อปีใหม่ ( 2553 ) หนูได้จดสูตรการทำน้ำสลัดจากคุณแม่ ซึ่งเป็นผู้รู้และเชี่ยวชาญในเรื่องการคหกรรม เป็นที่เลื่องลือ แต่เมื่อนำมาปฏิบัติด้วยตนเองแล้วกลับมีรายละเอียด เคล็ด อีกมากมายที่จะทำให้น้ำสลัดเลิศรส เข้มข้น และที่สำคัญไม่มีกลิ่นคาว การที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงยิ่งเป็นการฝึกทักษะ แล้วจะยิ่งพบปัญหา อุปสรรค และต้องหาทางปรับแก้ จนเกิดความชำนาญ และมีความรู้ในเรื่องนั้นๆอย่างถ่องแท้

    สวัสดีค่ะอาจารย์

    ได้ความรู้และข้อคิดมากเลยค่ะ

    เคยประสบเช่นเดียวกับอาจารย์ค่ะ คืออ่านหนังสือธรรมะไม่ค่อยจะจบเล่ม เลยคิดว่าน่าจะฟังดีกว่า เลยพับการอ่านไปเป็นการฟัง ได้ยินเสียงธรรมจากครูบาอาจารย์ กล่อมเกลาจิตใจไปด้วย จิตก็นิ่งดี แต่พอฟังไปนานๆ ก็อยากอ่านเนื่องจากการอ่านจะค่อยๆ พิจารณาคำสอนแล้วน้อมเข้ามาสู่จิตใจตน ทำให้จิตนิ่งขึ้น แต่ก็อ่านไม่จบอีกนั่นแหละ ก็กลับไปฟังอีก เป็นอยู่อย่างนี้กลับไปกลับมาค่ะ แต่ทั้งสองวิธีก็เป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้น

    อ่านหนังสือหมื่นเล่ม...มิเท่าเดินทางก้าวเดียว ธรรมะเฉกเช่นกัน ....ต่อให้อ่านพระไตรปิฏกหมดตู้ ก็มิเท่าภาวนาลัดนิ้วมือเดียว ธรรมะสวัสดีครับอาจารย์...

     

    ขอบคุณมากครับ คุณ นันทพร มดแดง กงภูเวช ที่กรุณาแชร์ประสบการณ์ดี ๆ ครับ

     

     

    สวัสดีครับ ขนิษฐา บุรัรัมย์6

    • สลับกันไปมาระหว่างการอ่าน กับ การฟัง ดูเข้าท่าดีนะครับ
    • กระผมเองก็แล้วแต่โอกาสเป็นช่วง ๆ ครับ มีช่วงหนึ่งที่นั่งทำวิทยานิพนธ์ ใจหนึ่งก็อยากอ่านธรรมะ อีกใจหนึ่งก็อยากเขียนวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ ๆ สุดท้ายก็ฟังธรรมะและเขียนวิทยานิพนธ์ไปด้วย โอ้โฮ ดีมากครับ

     

    นมัสการพระคุณเจ้า

    อ่านหนังสือหมื่นเล่ม...มิเท่าเดินทางก้าวเดียว ธรรมะเฉกเช่นกัน ....ต่อให้อ่านพระไตรปิฏกหมดตู้ ก็มิเท่าภาวนาลัดนิ้วมือเดียว

     

    • อ่านหนังสือ "หลักของใจ" ท่านหลวงตามหาบัวท่านก็เตือนเอาไว้เช่นกันครับ
    • กราบขอบพระคุณสำหรับเคล็ดวิชาครับ

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท