กล้าสอน : บูรณาการผ่านวิถีชีวิต


การสอนเนื้อหาที่เข้าใจยาก นามธรรม จำเป็นยิ่งที่ครูต้องใช้การบูรณาการเนื้อหาให้เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต และประสบการณ์เดิมที่นักเรียนมี จึงจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี
    การสอน แบบกล้าสอน ที่ ผมขอนำมาเล่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ นั้น เป็นการสอนที่ไม่ได้ยึดติดทฤษฎีอะไร แต่ก็ได้ทดลองใช้กับนักเรียนมาแล้วหลายรุ่น และก็พบว่า ได้ผลดี นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องที่ยาก และเป็นนามธรรมได้ง่ายและดีขึ้น ซึ่งจะเรียกว่า การบูรณาการเชื่อมโยงผ่านวิถีชีวิต ผ่านประสบการณ์ ที่นักเรียนมี จากนั้นก็ใช้วิธีการสรุปด้วยภาพ ให้เกิดภาพในใจ ในลักษณะโมเดล เช่น 
   -วิชาฟิสิกส์ สอนเรื่องแรงเชื่อมแน่นและแรงยึดติดก็บูรณาการไปถึงการต่อตัวกันข้ามกำแพง 
   -วิชาดาราศาสตร์สอนเรื่องการกำเนิดเอกภพก็บูรณาการไปถึงการจุดปั้งไฟ (ที่ชุมชนมีประเพณีบุญตั้งไฟ) หรือการเป่าลูกโป่ง  สอนเรื่องโครงสร้างของโลก  เหตุการณ์แผ่นดินไหว  หรือภูเขาไฟระเบิด ก็บูรณาการไปถึงการต้มไข่บนเตาถ่าน  ได้ โมเดล “หม้อต้มไข่”
   -วิชาชีววิทยาการสรุปเรื่องโครงสร้างของเซลล์ก็บูรณาการไปถึงถ้วยขนมบัวลอยไข่หวาน  จนได้โมเดล    “บัวลอยไข่หวาน” (นักเรียนหลายคนเคยกิน)
    การที่ผม "กล้าสอน" แบบนี้มันเกิดจากการฉุกคิดของครูที่ต้องฉลาดที่จะดึงเอาประสบการณ์ บริบทใกล้ตัวนักเรียนมา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย
   ขอเพียงแต่ครู กล้าที่สอน อะไรใหม่ ๆ กล้าที่จะนอกกรอบจากความคิดเดิม แล้วเด็กของเราก็จะกล้าคิดเช่นกัน
หมายเลขบันทึก: 317892เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

  • มาชื่นชมคุณครูผู้กล้าค่ะ
  • อยากจะเชิญไปเที่ยวค่ายฯ ค่ะ
  • พี่คิมเตรียมไปนอนที่โรงเรียนพรุ่งนี้แล้วค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท