บทวิเคราะห์เรื่องบ้านเกิด


วิเคราะห์วรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ หนังสือรวมเรื่องสั้นชุด แผ่นดินอื่น ของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ "เรื่องบ้านเกิด"

                          วิเคราะห์วรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์

             หนังสือรวมเรื่องสั้นชุด แผ่นดินอื่น ของ  กนกพงศ์  สงสมพันธุ์   

 

 

 

บทวิเคราะห์ 

 

เรื่องบ้านเกิด 

 

1. รูปแบบ  เรื่องบ้านเกิดเป็นบันเทิงคดี   ประเภทเรื่องสั้น 

1.1 เรื่องบ้านเกิดจัดเป็นเรื่องสั้นชนิดแสดงแนวคิด  เนื่องจากผู้เขียนแสดงทัศนะ  แนวคิดแก่ผู้อ่าน  และเข้าใจความจริงของชีวิตของผู้เขียน  โดยสะท้อนและถ่ายทอดโดยไม่ได้บอกตรง ๆ แต่ผู้อ่านสามารถสรุปได้เอง  เมื่ออ่านจบผู้อ่านจะเกิดความรู้สึกฉุดใจคิด  ตัวละคร  เหตุการณ์ ฉากและบรรยากาศเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้แนวคิดของเรื่องนั้นเด่นชัดมากขึ้น

1.2 เรื่องบ้านเกิดจัดเป็นเรื่องสั้นชนิดสร้างบรรยากาศ   เนื่องจากผู้เขียนได้บรรยายบรรยากาศของเรื่องได้สมจริง  ผู้อ่านสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน  จูงใจให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามเหตุการณ์  ตัวละคร  และพฤติกรรมต่าง ๆ มีความเกี่ยวพันกับฉาก  โดยที่ผู้เขียนใช้เรื่องราวที่กระทบใจผู้อ่านในด้านอารมณ์และความรู้สึก  

 

2. แนวคิด  

2.1 แนวคิด (แก่นเรื่อง)  เรื่องบ้านเกิดมีสาระสำคัญที่ผู้เขียนตั้งใจเสนอให้ทราบคือ     แสดงถึง  ปัญหาของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม นำเสนอชีวิตหลากหลาย ด้วยแนวธรรมชาตินิยม สะท้อนความคิด ความเชื่อ คุณค่าและคตินิยมพื้นถิ่นอย่างลึกซึ้งและแหลมคม ให้เห็นว่า แม้ในสังคมที่ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ มนุษย์ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยไมตรีสัมพันธ์ 

 

3. โครงเรื่อง   เรื่องบ้านเกิดเป็นโครงเรื่องแบบใหม่  เนื่องจากจะไม่เน้นความสำคัญ  และความสัมพันธ์ของลำดับเหตุการณ์   แต่จะเน้นที่พฤติกรรม  และสภาพความรู้สึกนึกคิดของตัวละครเป็นสำคัญ 

3.1 การเริ่มเรื่องหรือการเปิดเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนใช้กลวิธีในการเปิดเรื่องโดยการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ   แบบถามเองตอบเองของตัวละคร “ ฉัน ”

“ ทำไมฉันจะจำเธอไม่ได้  ปรียา  ในเมื่อเธอคือความทรงจำซึ่งฉันพยายามลืมให้สนิทที่สุดในบรรดาความทรงจำทั้งหลายเกี่ยวกับบ้านเกิด  ปรียา... เธอเคยได้ยินบ้างหรือเปล่า  ที่เขาพูดกันว่าชีวิตซิ่งผ่านไปคือฝันร้าย  ฉันรู้ว่าความโหดร้ายของมันอยู่ที่ความเป็นจริง  อดีตกำลังทำร้ายเรา  แม่เคยบอกฉันเสมอ-  จงลืมวันวานเพื่อเช้าวันนี้จะได้สดใส  แต่ใครเคยทำเช่นนั้นได้บ้างเล่า  แม้แต่แม่”                                                                                             

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด   หน้า 45  )

3.2 การดำเนินเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนใช้กลวิธีในการดำเนินเรื่อง โดยการลำดับเรื่องแบบย้อนกลับ   เป็นการเล่าเรื่องย้อนหลังจากตอนจบเรื่องแล้วเริ่มเล่าเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวพันกับปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นจุดสำคัญของเรื่อง   ซึ่งกล่าวถึงครอบครัวของเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่มีพ่อเป็นนักดนตรีและมีแม่เป็นครู  ต้องพลิกผันและประสบชะตากรรมอันเลวร้ายก็เนื่องมาจากสงครามนี้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรัก  ความสัมพันธ์ระหว่างญาติมิตร  สงครามทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปหมด  เสียงแซ็กโซโฟนของพ่อที่เคยร้อยรัดหัวใจของคนทั้งหมู่บ้านเอาไว้กลายเป็นเสียงปืน  ความรักกลายเป็นการกระทำผิดบาปซึ่งกันและกัน

3.3 การจบเรื่องหรือการปิดเรื่อง  เรื่องบ้านเกิดผู้เขียนจบเรื่องแบบชีวิตจริงหรือแบบที่ให้ผู้อ่านคาดเดาเหตุการณ์เอง  เป็นการจบเรื่องโดยที่ผู้เขียนไม่ได้สรุปหรือบอกกล่าวโดยตรง  แต่ผู้อ่านจะต้องคิดเองตามทัศนะของแต่ละบุคคล  มีการใช้คำพูดเน้นเสียงหนัก  ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ตื่นเต้นและเข้มข้นสะเทือนใจในตอนจบเรื่อง 

“ หยุดนะ! ไอ้ช้วน ”   ฉันจำได้แม่นยำ  สเยงนั้นคือเสียงแม่---  ฉันหันไปมอง---  เสือช้วนหันมา  เอ็ม. 16  ประทับไหล่แล้วกระสุนก็คำราม…

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด   หน้า  107  ) 

 

4. ตัวละคร  

4.1 การสร้างตัวละคร  ผู้เขียนสร้างตัวละครได้สมจริง  ตัวละครมีลักษณะนิสัยเป็นไปตามธรรมชาติ  ไม่ได้มีการจำกัดตัวละคร  โดยตัวละครทุกตัวมีบทบาทสอดคล้องสัมพันธ์กันกับเนื้อเรื่อง    ตัวละครมีลักษณะนิสัย  อารมณ์  ความรู้สึกหลากหลาย  และมีความสมจริงตามลักษณะของตัวละคร  ทำให้เรื่องดำเนินไปได้ด้วยดี 

4.2 การนำเสนอตัวละคร  ผู้เขียนนำเสนอตัวละครโดยอ้อม  ใช้สอดแทรกอยู่ในการเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยให้ผู้อ่านรู้จักตัวละครผ่านทางพฤติกรรมที่แสดงออก  การกระทำ  คำพูดที่พูดกับตัวละครอื่นหรือคิดในใจ   ตัวละครบางตัวใช้วิธีการนำเสนอผ่านทางความคิดของตัวละครเอก

4.3 ลักษณะนิสัยและบุคลิกลักษณะของตัวละคร  ผู้เขียนสร้างตัวละครแบบตัวกลม  มีลักษณะนิสัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันทั้งที่เป็นส่วนดีและส่วนบกพร่อง  ซึ่งมีลักษณะนิสัยซับซ้อน  เป็นลักษณะธรรมชาติของมนุษย์โดยทั่วไป  ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอารมณ์และเหตุการณ์  คล้ายกับชีวิตจริง  สร้างความประทับใจให้ผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง  ตัวละครมีบุคลิกไม่คงที่คือ  มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพไปตามเหตุการณ์

4.4 บทบาทของตัวละคร  ในเรื่องบ้านเกิดประกอบด้วยตัวละครดังนี้

ตัวละครเอก  ในเรื่องบ้านเกิดมีตัวละคร  “ ฉัน ”  เป็นตัวละครเอกของเรื่อง  และเป็นศูนย์กลางของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด  มีบทบาทสำคัญขณะดำเนินเรื่อง  เป็นตัวละครที่เกิดความขัดแย้ง  ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เรื่องมีการเปลียนแปลงเกิดขึ้น

ตัวละครประกอบ  เป็นตัวละครที่ช่วยในการดำเนินเรื่อง  ได้แก่  ปรียา  พ่อ  แม่  พี่ชาย 

ครูสว่าง 

                ตัวละครที่ปรากฏชื่อแต่ไม่ปรากฏการกระทำ  มีเพียงตัวละครอื่นในเรื่องกล่าวถึง  ได้แก่  ครูเจริญ   ครูอารมณ์   ครูอ่ำ   ครูเตือนใจ   ผู้ใหญ่ถวิล   ลุงเกตุ   นายช้วน   น้าชัย   ยายแฟง

ทหารสี่ห้านาย 

 

5. บทสนทนา       ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนสื่อแนวความคิดหรือทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางบทสนทนของตัวละคร  เป็นการแสดงความรอบรู้ของผู้เขียน  และเป็นบทสนทนาที่คมคาย  แฝงแง่คิด  ทำให้เรื่องมีความน่าสนใจสนุกสนาน  และมีชีวิตชีวาดูสมจริงมากยิ่งขึ้นของเรื่อง  โดยผู้เขียนใช้บทสนทนาในเรื่องไม่มาก  แต่มีความกระชับรัดกุม  มีความเป็นธรรมชาติเหมือนข้อความที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  มีการเลือกสรรคำที่มีความหมายกับเนื้อเรื่องและช่วยในการดำเนินเรื่อง  ตัวละครพูดจาโต้ตอบกัน  ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวามากขึ้น 

ตัวอย่างเช่น             แม่มองไก่มองเข็มตาชั่ง  แล้วมองหน้าฉัน

ฉันยิ้ม   “ นี่ไก่ของเธอ ” 

            “ ครับ ”   ฉันตอบไม่เต็มปาก

        แม่ฟาดไม่เรียวขวับเข้าที่ต้นแขนฉัน

             “ เธอโกหกครูได้ ”   แม่พูด

             “ แต่อย่าโกหกแม่ของเธอ ” 

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  47  )

                เป็นบทสนทนาระหว่างตัวละคร  “ แม่ ”  กับ  “ ฉัน ”  บทสนทนานี้ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงบทสนทนาสั้น ๆ แต่ก็สามารถแสดงอารมณ์ของตัวละครในเรื่องได้ดี  อีกทั้งยังมีการใช้คำบรรยายประกอบบทสนทนาให้เห็นภาพเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี

 

6. ฉากและบรรยากาศ        ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนบรรยายภาพของสถานที่ต่าง ๆ อย่างละเอียด  ทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับสถานที่นั้น ๆ อย่างละเอียดชัดเจน  มีการใช้คำบอกให้ผู้อ่านทราบสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ของเรื่องไว้อย่างชัดเจน 

ตัวอย่างเช่น    “ ที่บ้าน? --- ฉันต้องพูดแบบนี้จริง ๆ ด้วยละ ” 

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  46  )

เป็นการบอกให้ทราบว่าฉากของเรื่องในตอนนี้คือที่บ้าน   และนอกจากนี้บรรยากาศในเรื่องจะเปลี่ยนไปตามอารมณ์ของตัวละคร  บรรยากาศแสดงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสังคมชนบท   

ตัวอย่างเช่น  “ กลางคืนที่ทั้งบ้านสว่างไสวได้  คืนที่มีคนมาอออยู่เต็มลานหน้าบ้าน  ไล่หมาให้ไปหอนกันอยู่กลางทุ่งนา ” 

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  56  )

7. กลวิธีในการเขียน 

                7.1 กลวิธีการเล่าเรื่อง  ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนเล่าเรื่องแบบมุมมองของผู้เล่าเรื่องปรากฏตัวในฐานะตัวละครในเรื่อง   โดยที่ผู้เล่าเรื่องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่อง  ผู้เล่าเรื่องแทนตัวเองด้ยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ  “ ฉัน”  เป็นตัวละครเอกของเรื่อง  ทำหน้าที่เล่าเหตุการณ์ที่ได้ประสบ  มาให้ผู้อ่านได้ทราบ

7.2 กลวิธีการตั้งชื่อเรื่อง   “ บ้านเกิด ”  เป็นชื่อเรื่องมีความน่าสนใจ  ทำให้ผู้อ่านอยากที่จะรู้เนื้อหาภายในเรื่องและติดตามอ่าน  เป็นการตั้งชื่อเรื่องโดยตั้งตามลักษณะแนวคิดสำคัญของเรื่องที่สะท้อนให้เห็นปัญหาของชีวิตในระดับครอบครัว

 7.3 กลวิธีการสร้างความขัดแย้ง   ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนใช้กลวิธีการสร้างความขัดแย้งที่เป็นปัญหาสำคัญของเรื่องซึ่งตัวละครต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นปมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในตัวละครเอง  ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในจิตใจของตัวละครเอง  แล้วมีผลทำให้ตัวละครเกิดความทุกข์  โดยการสร้างตัวละครที่มีลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิดและการกระทำ  ฉันเป็นตัวละครที่มีความขัดแย้งทางความคิดดีเพราะอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น  แต่ได้กระทำสิ่งที่ขัดต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เลวร้าย

 

8. สำนวนภาษา

                8.1 การใช้ถ้อยคำ  ในเรื่องบ้านเกิดผู้เขียนมีการเลือกสรรคำที่มีความประณีต  มีความไพเราะของเสียง 

คำซ้ำช่วยในการย้ำความหมายมีการใช้อยู่มากมาย  ที่ปรากฏในเรื่องส่วนใหญ่เป็นการซ้ำคำโดยใช้ไม้ยมก  ตัวอย่างเช่น

“ แม่เองก็มีงานวุ่นอยู่ในสวนครัวเล็ก ๆ ใกล้ ๆ สวนมะพร้าวของพ่อ ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  54  )

“ จำได้ไหมเมื่อวงดนตรีสมัครเล่นของพ่อได้ออกงานไปครั้งสองครั้ง   พวกเขาก็คิดจะตั้งวงกันจริง ๆ จัง ๆ พ่อเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเดินไปเยี่ยมบ้านต่าง ๆ พร้อมรถเข็น ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  62  )

“ ฉันไม่สนุกนักหรอก  ฉันกลายเป็นเด็กเงียบ ๆ หงิ่ม ๆ บางทีออกจะซึม ๆ ด้วยซ้ำ ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  85  )

และยังมีการซ้ำคำโดยการใช้คำคู่อยู่บ้าง  ตัวอย่างเช่น

“ พี่เป่าทรัมเป็ตได้  เป่าคลาริเน็ตได้  แล้วพี่ยังเล่นแอคคอเดียนได้อีก  ขณะฉันเป็นแต่ตีทอมบาให้ดังตุ้มตุ้ม  ไม่มีใครสอนฉันเลยนี่ ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  60  )

 

คำซ้อนมีปรากฏอยู่มากมาย  มีทั้งที่เป็นซ้อนเสียงและซ้อนความหมาย  ทำให้เกิดคำที่เน้นความหมาย  และมีเสียงที่ไพเราะ 

ซ้อนเสียง  ตัวอย่างเช่น 

“ ฉันจำได้ว่าแกมีทีท่าเป็นไข้หนักปานใด  เมื่อมืดค่ำแล้วเครื่องขยายเสียงยังมาไม่ถึง  และยังจำได้ว่าแกตื่นเต้นดีใจเพียงใด ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  48  )

ซ้อนความหมาย  ตัวอย่างเช่น

  “ ฉันได้เห็นรูปภาพเหล่านั้น  มันทำให้ฉันทั้งตื่นเต้นและนึกขำพวกผู้ใหญ่ไปในขณะเดียวกัน ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  70  )

  “ เมื่อค่ำคืนมาถึงไม่มีแสงเจ้าพายุและเสียงดนตรีอีก  ความสนุกสนานได้บินหนีจากบ้านเราไปแล้ว ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  75  )

  “ ฉันไม่รู้หรอกว่า  ในหัวซึ่งสับสนอลหม่านนั้น  ฉันได้คิดถึงอะไรบ้าง ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  88  )

การเล่นคำเพื่อย้ำความหมายและเสียงก็มีปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน  เช่น  คลั่งไคล้ใหลหลง   สับสนอลหม่าน  หลอมละลาย  เละเทะปนเประ  เพ้อเจ้อเหลวไหล  เหตุผลกลใด  ตกอกตกใจ    เศร้าเสียใจ  นินทาว่าร้าย  ยากเย็นแสนเข็น  เป็นต้น

“ ไม่มีใครไปด้วยเลย  ไม่มีเธอ  ไม่มีพ่อ  ไม่มีแม่  มีแต่พี่ …”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  79  )

เป็นการย้ำคำให้เห็นว่าไม่มีใครไปด้วยเลยจริง ๆ นอกจากพี่  ทำให้ถ้อยคำมีความไพเราะของเสียงมากยิ่งขึ้น

 

                8.2 การเรียบเรียงประโยค  ประโยคที่ใช้ส่วนใหญ่ผู้เขียนเรียบเรียงอย่างประณีต  มีความไพเราะในด้านของเสียง  แต่ก็ไม่ละทิ้งการสื่อความหมายแบบตรงไปตรงมา  ได้ความ 

  ตัวอย่างเช่น  “ ใคร ๆ ต่างก็ชมว่าฟันเธอสวย  ซีคม  เป็นแถวเรียบและขาววับ  เป็นเพราะพ่อนั่นหรอกที่สอนให้พวกเราแปรงฟัน ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  48  )

นอกจากนี้ยังมีการใช้คำวิเศษณ์มาช่วยในการเสริมความหมายของคำในประโยคให้มีความงดงามมากยิ่งขึ้น

  ตัวอย่างเช่น  “ เรานั่งมองตาแป๋ว  ปล่อยจานขนมไว้จนเย็นชืด

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  55  )

                8.3 การใช้โวหาร   ในเรื่องบ้านเกดมีการใช้โวหารภาพพจน์หลายชนิดทำให้สำนวนภาษามีความไพเราะ  นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านเกิดภาพและอารมณ์คล้อยตาม

อุปลักษณ์    เช่น  “ สนานหน้าโรงเรียนกลายเป็นทะเล ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  46  )

“  อดีตซึ่งหวนมาทำร้ายเป็นกาฝากแห่งวันวานซึ่งคอยดูดกินเรา ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  98  )

“ ตอนนั้นถนนยังคงเป็นฝุ่นดินแดง ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  103  )

 

“  ฉันรู้สึกว่าโลกนี้ไม่มีใครเลย  รอบกายคือเนื้อที่ว่างเปล่า ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  105  )

 

อุปมา    เช่น  “ ฉันรู้สึกราวกับกำลังปีนภูเขา ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  50  )

 

  “ ปักไม้รวกแล้วเดินคลี่กัดสบายราวกำลังเดินอยู่บนถนน ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  50  )

  “ ฝักถั่วทำให้คันราวโดนบุ้ง ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  54  )

  “ สองมือประคองไมโครโฟนรูปสี่เหลี่ยมแบน ๆ ไว้  ทะนุถนอมราวเป็นไข่ไก่ ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  58  )

  “ ผิวขาวราวไม่เคยโดนแดด ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  68  )

  “ คราวนี้ฉันกลับเจอปืน--  ปืนพกกระบอกโตและกระสุนอีกกล่องหนึ่ง  ฉันกลัวราวรื้อไปเจองูเห่า  ซ้ำมันยังชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ฉัน ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  77  )

 

อติพจน์   เช่น “ บ้านทั้งหลังกระเทือนด้วยเสียงหัวเราะ ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  55  )

ในเรื่องบ้านเกิดยังมีการใช้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศอยู่บ้างแต่ก็ไม่มีนัก  ซึ่งเป็นคำที่ผู้อ่านและคนทั่วไปคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว  เช่น เบบี้  เป็นต้น

8.4 ระดับภาษา   ในเรื่องบ้านเกิดมีการใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการ  เป็นภาษาแบบที่คนทั่วไปใช้พูดกัน  ทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาษาได้ง่าย 

ตัวอย่างเช่น  “ โง่ ๆ อย่างแกไปฝึกทอมบาโน้น ไป๊! ”

( ตัดตอนมาจากเรื่องบ้านเกิด หน้า  61  )

 

 ...................................................................................................................

 

แผ่นดินอื่นวรรณกรรมอันล้ำค่า

ห้วงเวลาจารึกไว้ใต้ฟ้าใส

ห้วงคำนึงระลึกถึงแม้จากไป

ด้วยอาลัยแด่...กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

สุนทรี คุณจักร์. (2539). เอกสารประกอบการสอนการอ่านเชิงวิเคราะห์. ชลบุรี :  

          มหาวิทยาลับบูรพา. (อัดสำเนา).

กนกพงศ์ สงสมพันธุ์.(2539). แผ่นดินอื่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี : นาคร.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 317472เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2009 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ผมอ่านบทวิเคราะห์ของพี่แล้วนะคับ...พี่วิเคราะห์ได้ละเอียดดีจริง

ผมอยากให้พี่ลง เรื่องย่อ ของ บ้านเกิด ด้วยอ่ะคับ...ผมอยากได้มากเลยคั

ผมขอความกรุณาช่วยลง เรื่องย่อ บ้านเกิด ให้ด้วยนะคับ

จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง...ขอบคุณคับ

อยากได้เรื่องย่อ บ้านเกิด จังเลยคับ

ช่วยอนุเคราะห์ทีคับ...

[email protected]

วิเคราะละเอียดดีต่ะ ใช้เป้นตัวอย่างใในการทำ รายงานสองครั้งแล้ว

นู๋ได้อ่านบทวิเคราะห์ของพี่มาหลายรื่องแล้ว พี่วิเคราะห็ละเอียดดีมากค่ะ

พี่ค่ะนู๋อยากได้บทวิเคราะห์วรรณกรรมซีไรท์ เรื่อง ลับแลแก่งคอยคร่าา

อยากศึกษาเป็นแนวทางในการวิเคราะห็ค่ะ (ส่งงานจารย์) พี่ช่วยตอบด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^^

เรื่องนี้ดีมากเลยค่ะมีสาระดี

หนูไดเอาไปเป็นเเบบในการเขียนโครงงานด้วยค่ะ

พี่ค่ะ คือหนูพยายามหาเรื่อง บ้านเกิด แบบเต็มมาทำงานส่งครูมากเลย

พยายามหาแล้วหาไม่ได้ ช่วยกรุนาส่งเมล์มาให้ได้ไหมค่ะ

[email protected]

สำหรับน้องๆ หรือผู้ที่สนใจ อ่านเรื่องสั้นเรื่อง "บ้านเกิด" หรือต้องการเนื้อหา ที่จริงผมมีหนังสือเรื่อง "แผ่นดินอื่น" อยู่แต่ไม่รู้ว่าแบ่งปันอย่างไรดี? ถ้าใครสนใจจริงๆ ลองไปหาตามร้านหนังสือ หรือห้องสมุดต่างๆ มีแน่นอน เรื่องบ้านเกิด อยู่ในหนังสื่อรวมเรื่องสั้น ชุด แผ่นดินอื่น ของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ประกอบด้วยเรื่องสั้น 8 เรื่อง ที่สะท้อนปัญหาของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม นำเสนอชีวิตหลากหลายด้วยแนวธรรมชาตินิยมสะท้อนความคิด ความเชื่อ คุณค่า และคตินิยมพื้นถิ่นอย่างลึกซึ้งและแหลมคม ชี้ให้เห็นว่าสังคมแม้ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ มนุษย์ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไมตรีสัมพันธ์ เป็นเรื่องสั้นที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การนำเสนอรายละเอียดประณีต เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ใช้จินตนาการที่เป็นอิสระ ผู้เขียนใช้ภาษาถ่ายทอดเหตุการณ์และความรู้สึกได้อย่างงดงาม (วิกิพีเดีย)

อยากได้เนื่อเรื่งบ้านเกิดมากเลยคะ

ส่งเรื่องย่อ บ้านเกิดมาให้หน่อยคับ

[email protected]

อยากได้รื่องย่อมากค่ะ รบกวนส่งให้หน่อยได้มั่ยค่ะ

อยากได้เรื่องย่อมากๆครับ  รบกวนด้วยนะครับ

หนูได้อ่านแล้ว พี่ วิเคราะห์ได้ดีมากค่ะ แต่หนูอยากได้เรื่องย่อเรื่อง บ้านเกิดมาอ่านดู รบกวนส่งมาให้อ่านหน่อยได้ไหมค่ะ ที่ [email protected]

อยากรู้การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ กำลังทำรายงานเรื่องนี้อยู่

หนังสือเล่มนี้น่าสนใจดีนะ เรื่องราวในหนังสือสื่อถึงอะไร น่าติดตามแค่ไหน ลองมาอ่านรีวิวได้ที่นี่จ้า http://goo.gl/YP7dIo

รบกวนช่วยส่งเนื้อเรื่อง ของ "บ้านเกิด" ให้หน่อยได้ไหมครับที่

[email protected]

รบกวนช่วยส่งเนื้อเรื่อง หรือย่อให้หน่อยได้มั้ยคะ พอดีจะเอาไปเขียนรายงานส่งอาจารณ์อ่ะค่ะ พลีสสสสสสสส!!

[email protected]

เนื้อเรื่อง เรื่องบ้านเกิดสามารถหาอ่านในเว็บไหนได้บ้างค่ะ หรือใครมีเนื้อเรื่องรบกวนส่งลิงค์มาให้หน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ


อยากได้เนื้อเรื่อง เรื่องบ้านเกิด รบกวนส่งเนื้อเรื่องมาให้หน่อยได้ไหมค่ะ ได้โปรดเถอะค่าาาา


[email protected]

ชนิภา วงศ์รัตนากร

แอดคะรบกวนช่วยส่งเนื้อเรื่อง หรือย่อให้หน่อยได้มั้ยคะ เพราะหนูต้องทำการบ้านส่งครูคะ

อยากได้สรุปเนื้อเรื่องไปส่งอาจาย์โปรดเมตตาหนูด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท