ประสาร สุขสุคนธ์
นาย ประสาร ประสาร สุขสุคนธ์ สุขสุคนธ์

สรุปงานวิจัย เรื่องที่ 4


สรุปงานวิจัย เรื่องที่ 4

ชื่อเรื่อง สภาพและความต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1

ผู้วิจัย  วิระเวก  สุขสุคนธ์

ปีที่วิจัย 2550

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1

2. เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1

3. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1

4. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำแนกตามเพศและระดับช่วงชั้น

5. เพื่อเปรียบเทียบสภาพกับความต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1

 

วิธีวิจัย เชิงสำรวจ (Field Survey)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                1. ประชากร  ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1,180 คน โดยแยกเป็นเพศชาย จำนวน 520 คน เพศหญิงจำนวน 588 คน ระดับช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 707 คน ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 401 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp 608-60) ได้กบุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 258 คน จากนั้นจึงดำเนินการสุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามช่วงชั้นแล้วนำมาคำนวณหาสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างระดับช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 182 คน และระดับช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 103 คน

 

เครื่องมือ

เป็นแบบสอบถามตามทฤษฎีของแอสติน (Astin) แบ่งออกเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 แบบสอบถามแบบสำรวจตรวจสอบรายการเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพศและระดับช่วงชั้น

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ตามแนวคิดของลิเคอร์ (Likert, 1978 cited in Best & Kahn, p.247) เพื่อวัดระดับสภาพความต้องการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 6 ด้าน สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมด้านการให้บริการผู้เรียน สภาพแวดล้อมด้านการจัดการศึกษาเพื่อสนองความมุ่งหวังของผู้เรียน สภาพแวดล้อมด้านการจัดกิจกรรมผู้เรียน และสภาพแวดล้อมด้านสังคมกลุ่มเพื่อน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ มีจำนวน 60 ข้อ

 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากภาควิชาบริหารการศึกษา เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการจัดเก็บข้อมูลถึงผู้บริหารโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1
  2. ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวมรวบข้อมูลด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด จำนวน 285 คน และได้รับแบบสอบถามนำกลับมาวิเคราะห์จำนวน 285 ฉบับ คิดเป็น 100 %

 

การเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาลงรหัส ให้คะแนนตามน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อและบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows ต่อไป

             สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติพื้นฐาน   ค่าเฉลี่ย    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

สถิติอ้างอิง    การทดสอบค่าที (t-test)

สรุปผลการวิจัย

1.  สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. ความต้องการพัฒนาทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 ตามความคิดเห็นของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

4. ผลการเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมและรายด้าน

- จำแนกตามเพศ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

- จำแนกตามช่วงชั้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

5. สภาพความต้องการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองหาดพิทยาคม โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านอาคารสถานที่ ด้านการให้บริการผู้เรียนและด้านการจัดการศึกษาเพื่อสนองความมุ่งหวังของผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมผู้เรียนและด้านสังคมกลุ่มเพื่อน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

หมายเลขบันทึก: 317465เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2009 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เก่งจริงนะ เรื่องที่ 4 แล้ว คืนนี้พี่ก็จะลงเรื่องที่ 4 เหมือนกัน

เก่งจริงนะน้องบอยเดี๋ยวพี่จะตามให้ทันเลย คอยดู

ได้เลยครับพี่ ตามใฟ้ทันนะครับ

ไวจัง.....เรื่องที่4 แล้ว รอเพื่อนหน่อยนะจ๊ะ

ทำไมนามสกุลเดียวกันเลยอ่ะ

คนวิจัยเก่งจัง...ใครได้เป็นแฟนคงโชคดีสุด ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท