เน้นภาษาถิ่น...ถูกต้องหรือ


เมื่อวันก่อนได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่องเกี่ยวกับการสร้างคุณภาพการศึกษาภาคใต้ เรื่องหนึ่งที่ อ.เสียงเล็กๆ ยกขึ้นพูดน่าคิดพอควร คือ การสอนแบบทวิภาษา เป็นการสอนผสมปนเประหว่างภาษาไทยกับภาษาถิ่น และเท่าที่ฟังวิธีการนี้เข้าทางการเมืองแล้วเพื่อจะปรับใช้ในภาคใต้ แต่ที่สะดุดหูชวนให้ผมคิด คือ การใช้ภาษาถิ่นสอนถูกต้องหรือเปล่า เพราะภาษาถิ่นก็คือภาษาพูด สำเนียงและคำบางคำจะไม่มีจดเขียนในหนังสือ บางคำอย่างที่รู้ๆ แม้จะพูดประจำแต่เวลาใช้ที่เป็นทางการก็ต้องใช้คำอื่น เช่น คำว่า กู มึง นี้แม้จะพิมพ์ตรงนี้ผมเองก็ยังกระดาก

วันนี้เป็นวันอีด หรือวันรายอ (บางคนแปลเป็นไทยว่าวันตรุษ) งานหลักของมุสลิมในวันนี้คือร่วมกันละหมาด ก่อนหน้านี้เกือบจะทุกแห่งในประเทศไทยจะละหลาดภายในมัสยิด แต่ภายหลังมีการศึกษาหลักศาสนาอย่างจิรงจัง หลายคนจึงเลือกวิธีที่ดีที่สุด คือ ละหมาดแทนที่จะใช้มัสยิดไปใช้ในสนามแทน เพื่อให้ทุกคนออกไปร่วมกันกลางสนาม ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ชายหญิง ผู้เฒ่า คนชรา ถ้ามีความสามารถให้ออกไปร่วมหมด แม้ว่าบางคนละหมาดไม่ได้ก็ให้ออกไปร่วมด้วย ที่บ้านของผมครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้วที่โต๊ะอิมามตัดสินใจละหมาดที่สนาม


(ภาพสดๆของวันนี้ ที่สนามหน้ามัสยิดดารุสสาลาม ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา)

คนที่ขึ้นไปอ่านหรือกล่าวคำตักเตือนกันวันนี้ เป็น อ.อิสมาอีล บือราเฮง จากคณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเรา ทั้งเนื้อหาและสาระโดนใจผมมากเพราะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังเป็นปัญหาค่อนข้างใหญ่ในสังคมบ้านเรา โดยเชิญชวนพวกเรา(มุสลิมทุกคน) ร่วมกันเอาจริงเอาจังในการแก้ไข เช่น

  • เรื่องยึดติดกับยศ บรรดาศักย์ ทำงานเพื่อฐานะ เพี่อเกียรติ เพื่อเงินทอง เพื่อให้คนเยินยอ ขอให้พวกเราให้ห่างไกลจากสิ่งเหล่านี้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะมาร่วมกับชัยฏอนที่พร้อมจะทำลายมนุษย์ ทุกเมื่อ
  • เรื่องความรับผิดชอบของ สามีต่อภรรยา ภรรยาต่อสามี ความรับผิดชอบของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ปล่อยปละละเลยให้ลูกอยู่กับความทันสมัย โดยไม่ได้ดูเลยว่าความทันสมัยนั้น ถ้าไม่ป้องกันหรือดูแลอย่างใกล้ชิด ก็จะนำลูกหลานเราสู่หายนะได้
  • ความรับผิดชอบของผู้นำต่อผู้ที่ถูกนำ พ่อต้องนำภรรยาและลูกเมีย โตะอิมาม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครูบาอาจารย์ หรือคนรอบข้าง
  • การดูแลในเรื่องยาเสพติดที่ระบาดการแพร่หลายมาก
  • การเสียสละ การฆ่าสัตว์พลีในวันนี้ โดยมีเป้าหมายหลักคือทำตามที่อัลลอฮฺบัญชา ไม่ได้ทำเพื่อเฉลิมฉลองหรือรื่นเริง และเนื้อสัตว์ที่ได้เน้นการบริจาคแก่คนยากคนจน
  • ฯลฯ

ภาษาที่เขาอ่านหรือกล่าวตักเตือนนั้นเป็นภาษามลายู แต่เวลาขึ้นไปอ่านหรือไปกล่าวอย่างเป็นทางการลักษณะนี้ ภาษาที่ใช้ก็ต้องใช้ภาษากลาง และสำนวนที่เขาใช้นั้นเสนาะหูน่าฟังมาก แต่ผมกลับไปนึกว่า แบบนี้ชาวบ้านจะเข้าใจทุกคำหรือเปล่า และต่อไปก็ยิ่งยากเพราะเขาจะไปเน้นภาษาถิ่นไม่ค่อยเน้นภาษาสวยๆเสนาะหูแบบนี้แล้ว

แล้ว... ที่เขาว่าภาษาถิ่นนั้นดี ดีจริงหรือ ดีกับใคร เมื่อไร ... ผมว่าต้องช่วยกันคิดและหาทางออกที่ดีที่สุด

(ภาพการฆ่าวัวตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺ เพื่อนำเนื้อมาแจกจ่ายให้แก่คนยากคนจน)

 

หมายเลขบันทึก: 316464เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มะอัฟสำหรับทุกสิ่งด้วยครับอาจารย์...เห็นภาพบรรยากาศแล้วอดคิดถึงหลายๆปีที่เคยไปละหมาดที่นั่นไม่ได้ครับ...ขออัลลอฮฺโปรดชี้นำแนวทางให้แก่เราทุกคนด้วยครับ

maaf zahir dan batin

มีความสุขตลอดไปนะครับ

เช่นกันนะครับ

تقبل الله منا ومنكم

وكل عام أنتم بخير

ทั้งสองคนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท