สัมผัสน้องหมาลดปวดได้ครึ่งหนึ่ง [EN]


การศึกษาใหม่พบว่า คนไข้ที่ได้ลูบคลำน้องหมาปวดน้อยลงจนลดปริมาณยาแก้ปวดลงได้ครึ่งหนึ่ง [ Mailonline ] 

...

 [ RP2 ]

คำบรรยายภาพนี้ คือ "ไม่สำคัญว่าทำไมถึงได้เจ็บปวด น้องหมา(หลายตัว)ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้" > [randomplanet2]

...

การศึกษาทำในคนไข้หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อพบว่า คนไข้ที่ได้เล่นกับเพื่อน 4 ขา (four-legged friend) ฟื้นตัวดีขึ้น ปวดน้อยลง และใช้ยาแก้ปวดลดลง 50%

อ.จูเลีย ฮาเวย์ หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยลาโยลา ชิคาโก US กล่าวสนับสนุนการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง (pet therapy) ว่า การฝึกเจ้าเพื่อน 4 ขาให้ช่วยคนไข้เป็นงานที่เธอรัก (labour of love)

...

อ.ฮาเวย์เป็นนักคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) ที่มหาวิทยาลัย ท่านร่วมมือกับ อ.ดร.ฟรานเซส วลาสส์ พยาบาล เพื่อฝึกหัดน้องหมาให้เป็นผู้ช่วยผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร (non-profit organization / NPO = NGO)

น้องหมาที่ใช้ในการวิจัยได้รับการสอนให้ทำตามคำสั่งได้มากกว่า 40 รายการ

...

การศึกษาก่อนหน้านี้จากมหาวิทยาลัยวอร์วิคพบว่า น้องหมาน้องแมวช่วยให้ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมมีความเจ็บปวด และความกลัวลดลงได้

ทีมนักจิตวิทยาเปรียบเทียบผลกระทบในผู้หญิงที่มีสุขภาพจิตดีพบว่า น้องหมาน้องแมวช่วยให้จิตใจดีขึ้นได้มากกว่าสามีอันเป็นที่รัก และทำให้ผู้หญิงที่ถูกตัดเต้านมออกไปรู้สึกดีขึ้นกับความผิดรูปหลังผ่าตัดเต้านม

...

การศึกษาก่อนหน้านี้จากสหรัฐฯ พบว่า การเลี้ยงสัตว์เป็น "กันชนความเครียด (buffer to stress)" ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

คนที่เลี้ยงสัตว์มีชีพจร (อัตราการเต้นของหัวใจ) ช้ากว่า และความดันเลือดต่ำกว่าคนที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ในการแบบทดสอบประเภทสร้างความเครียด ทั้งก่อนทำ-ระหว่างทำ-และหลังทำ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Dog stroking is good for your health: Patting a four-legged friend helps patients halve number of painkillers they take'

แปลว่า "การลูบคลำน้องหมาดีกับสุขภาพของคุณ: การตบน้องหมาเบาๆ ช่วยให้คนไข้ลดยาแก้ปวดลงครึ่งหนึ่ง"

...

@ stroke = ลูบไล้

@ pat = ตบเบาๆ

@ patient = คนไข้

@ painkiller = ยาแก้ปวด

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 21 พฤศจิกายน 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 315244เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท