พระบรมราโชวาท -พระราชบัญญัติลูกเสือ - พระราชบัญญัติการศึกษา


การลูกเสือ มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างความมั่นคงของบ้านเมือง เพราะ ? ..... เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศิลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทาง.......การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ วันรับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีว่า   

 “  การลูกเสือ มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างความมั่นคงของบ้านเมือง          เพราะเป็นงานที่มุ่งจะสร้างคนให้ดีและสร้างสังคมให้เรียบร้อยเป็นปึกแผ่น การฝึกหัดอบรมตามแบบอย่างอันถูกต้อง ครบถ้วนของลูกเสือนั้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการที่จะทำให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง  ซื่อสัตย์  สุจริต  มีความรู้   รู้จักใช้ความรู้   มีความคิดและมีวินัยที่ดี  สามารถเป็นที่พึ่งของตนเองและของผู้อื่นได้โดยแท้จริง  ผู้ใดก็ตามที่น้อมนำเอาวิธีการของลูกเสือไปใช้ในกิจการงานอื่น ๆ ย่อมจะได้ประโยชน์อย่างกว้างขวางออกไปด้วยกันทั้งนั้น  เพราะการงานต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพ  ”  

ใน พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 มาตรา 8 จึงกำหนดวัตถุประสงค์การสอนลูกเสือไว้ว่า

" เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ และศิลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้

  1. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
  2. ให้ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  3. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
  4. ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
  5. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใด ๆ ”

 

สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มาตรา 6 กำหนดให้

“ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ”

          จากการที่ได้ศึกษาสภาพปัญหา สถานภาพของครูพบว่า ครูที่รับการฝึกอบรม หลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือขั้นความรู้ชั้นสูง  A.T.C. (AdvancedUnit Leader Training Course) แล้วกลับมาพัฒนาตนเองเพื่อรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ ภายในเวลา 2 ปี มีการพัฒนาตนเองเพียงระยะเวลาอันสั้น ไม่ต่อเนื่อง      การสอนหลักสูตรลูกเสือ–เนตรนารีในสถานศึกษา ผู้บริหารมีส่วนในการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรค่อนข้างน้อย,ครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีมีไม่เพียงพอ , เวลาที่กำหนดให้ในหลักสูตรไม่เหมาะสมกับเนื้อหา , นักเรียนให้ความสำคัญในการเรียนลูกเสือ-เนตรนารีน้อยเมื่อเทียบกับวิชาอื่น , ครูได้รับการช่วยเหลือจากศึกษานิเทศก์น้อยและ มูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่งเนื่องจากผู้บริหารที่รับผิดชอบขาดการบริหารตามกระบวนการลูกเสือ ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน  ประกอบกับครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงที่จะนำทักษะขบวนการลูกเสือไปถ่ายทอด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โรงเรียนไม่สามารถจัดได้ ตามเวลา ตามหลักสูตรที่กำหนดเป็นผลให้ นักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์  ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์  เพราะข้อจำกัดด้านบุคลากรในโรงเรียน ครูให้ความสำคัญกับกิจกรรมอื่นที่เข้ามาสอดแทรกมีมาก  และอีกหลายสาเหตุที่ทำให้การเรียนการสอนไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ  

คำสำคัญ (Tags): #scousting for boys
หมายเลขบันทึก: 315197เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอคุณคุณที่ให้ข้อมูลดีๆ นำไปพัฒนาเยาวชนอนาคตของชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท