Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา : จำเป็น ? ทำไม ?


แต่ในที่สุด หลายเวทีเสวนาผ่านไป ลูกศิษย์หลายคนจบปริญญาโท กำลังจะทำเอก หลายท่านกลายเป็นนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่สนใจค้นคว้ามานานปี แต่ที่น่าแปลกใจ ก็คือ เราเพิ่งมองเห็น “ผลลัพธ์ที่งดงามที่สุดของการประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา” อันได้แก่ มิตรภาพอันแน่นแฟ้นและยาวนานของเหล่านักวิชาการรุ่นเยาว์ในวันที่ทำในประชาคมวิชาการนี้ ในวันนี้ หลายปีผ่านไป ทุกคนในประชาคมก็ยังคบค้ากัน มีชีวิตเกยก่ายกันทั้งในงานและส่วนตัว

จำไม่ได้ว่า เริ่มผลักดันให้นักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษาจัดเสวนาวิชาการเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่เมื่อไหร่แน่ ? น่าจะเป็น ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ? หรือ พ.ศ. ? ก็ไม่ยากที่จะค้นคว้า  แต่ต้องไปค้นดูก่อน

แต่ในที่สุด หลายเวทีเสวนาผ่านไป ลูกศิษย์หลายคนจบปริญญาโท กำลังจะทำเอก หลายท่านกลายเป็นนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่สนใจค้นคว้ามานานปี แต่ที่น่าแปลกใจ ก็คือ เราเพิ่งมองเห็น “ผลลัพธ์ที่งดงามที่สุดของการประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา” อันได้แก่ มิตรภาพอันแน่นแฟ้นและยาวนานของเหล่านักวิชาการรุ่นเยาว์ในวันที่ทำในประชาคมวิชาการนี้ ในวันนี้ หลายปีผ่านไป ทุกคนในประชาคมก็ยังคบค้ากัน มีชีวิตเกยก่ายกันทั้งในงานและส่วนตัว

คุยกันเรื่อง "คนหนีภัยความตาย" เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕

แนวคิดของการสร้างและพัฒนาประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษานั้นเป็นเรื่องง่ายๆ ของการจัดเสวนาขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลจากการวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา และเชิญนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

เราพบว่า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็กลายมาเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่เสนอผลงาน แต่สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาและกรรมการสอบจะมีความลึกและแนบแน่นกว่าที่มีกันโดยทั่วไป ไม่เพียงเจอกันในโต๊ะสอบวิทยานิพนธ์สัก ๒ ชั่วโมง แล้วจบลง จะมีความเอื้ออาทรและร่วมเรียนรู้ในองค์ความรู้ที่ผลิตร่วมกัน และเป็นมิตรภาพที่ไม่รู้จบ

ผลดีของการเสวนาในประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษาได้สร้างสุขอีกประการหนึ่ง ก็คือ  การสร้างคลังความรู้สำหรับนักศึกษาที่สนใจประเด็นกฎหมายเดียวกัน ได้มีโอกาสมาระดมสมองด้วยกัน เป็นโอกาสของการถ่ายทอดความรู้สู่สังคม

แต่อย่างไรก็ตาม การเสวนาจะสร้างสุขสูงสุดหากนักศึกษาปริญญาโทหรือเอกที่เป็นเจ้าของเรื่องตั้งใจที่จะสร้างประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาของตนเองให้ดีที่สุดด้วย แต่หากนักศึกษาเองไม่สนใจจริงจัง ประชาคมวิชาการที่เกิดขึ้นก็ไม่อาจสร้างสุขให้แก่ทั้งตนเองและสังคมโดยรวม

คุยเรื่องผลกระทบของเกมคอมพิวเตอร์ต่อสังคมไทย

เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕

คุณภาพของประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา ขึ้นอยู่กับปัจจัยง่ายๆ อันได้แก่ (๑) นักศึกษาเจ้าของเรื่องปราณีตในการนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนหรือไม่ (๒) นักศึกษาเจ้าของเรื่องปราณีตในการได้กระจายข่าวการนัดทำเวทีวิชาการให้แก่เหล่าเจ้าของความรู้ที่น่าจะสนใจมาร่วมเวทีหรือไม่ (๓) ในเวที มีบรรยากาศที่รื่นรมย์ในการทักทอองค์ความรู้ทางวิชาการหรือไม่  เดิมเราเรียกการเสวนาเป็นภาษาฝรั่งแบบโก้ๆ ว่า “Academic Talk”

คุยเรื่อง "สิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติที่เป็นแรงงานต่างด้าว"

เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕

อุบายทางวิชาการนี้ ผู้เป็นเจ้าของความคิด และออกเงินให้ดำเนินการในระยะต้น ก็คือ ท่านศาสตราจารย์ คนึง ฦๅไชย เราจึงเรียกเงินที่ท่านบริจาคให้ว่า “กองทุนศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย” ซึ่งมี ๒ กอง กล่าวคือ (๑) กองที่ฝากไว้ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ (๒) กองที่ดูแลโดยคณะลูกศิษย์กันเองและฝากไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เงินไม่มาก แต่ก็ไม่เคยหมดไป เงินที่ฝากกับคณะไม่เคยเอามาใช้นานแล้ว แค่เงินที่ดูแลกันเอง ก็ไม่หมดไปเสียที เพราะมีการบริจาคเติมมาเรื่อยๆ ไม่มาก แต่ก็ไม่ขาด

แม้ในสองสามปีหลัง  นักศึกษาจะไม่ค่อยมีความกระตือรือล้นที่จะทำเสวนาวิชาการเพื่อสร้างประชาคมวิจัยเพื่อการพัฒนาและนักศึกษานิติศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษากันนัก แต่ก็พอมีบ้าง ในวันนี้ เรายังเห็นพวกนักศึกษาปริญญาเอกรวมกลุ่มกันมาประชุมทุกสามเดือนประมาณนั้น

แต่ในส่วนปริญญาโทนั้น ไม่ค่อยแน่นอน

แต่ที่เห็นถี่มากขึ้น ก็คือ การเสวนาวิชาการของเหล่านักวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนไร้รัฐไร้สัญชาติทางกฎหมาย ซึ่งมักทำในวันจันทร์ที่สะดวกเพื่อพูดคุยถึงแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่สำคัญ จึงมักเรียกเวทีความคิดแบบนี้ว่า “Monday Meeting” และในวันพฤหัสที่สะดวก ก็มักมีการรวมตัวกันเพื่อคุยเรื่องราวของมนุษย์ที่ประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน จึงเรียกการเสวนาในวันพฤหัสว่า “Thursday Meeting”

แต่ในครั้งหน้าไม่ว่างตรงกันในวันจันทร์ เลยมาคุยกันวันอังคาร จะคุยกันเรื่อง “คนสองสัญชาติ” โดยการนำเสนอของคุณภัทริน ขาวจันทร์ แห่ง สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าท่านใดสนใจ ติดต่อมาเลยนะคะ

ตกลงก็เป็น “Tuesday Meeting” ครั้งแรกซินะคะ

หมายเลขบันทึก: 315128เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2009 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การสร้างประชาคมวิจัย โดยส่วนตัวมองเห็นประโยชน์สามอย่าง

อย่างแรก เราได้ฝึกคิด ทบทวน คิดไปคิดมา ในประเด็นที่เราสนใจศึกษา ต่อเนื่อง เพราะการที่เราให้ความสำคัญกับเนื้อหา ประเด็น เพื่อที่จะนำมาแลกเปลี่ยนในวง ทำให้เราได้ฝึกซ้อมความคิดของเรา

อย่างที่สอง เราได้เห็นมุมมองของ "เพื่อนๆ" "พี่ๆ" มวลมิตร รวมไปถึง อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาซึ่งการ "เหลา" ความคิดให้แหลมยิ่งขึ้น ในฐานะคน"ช่วยคิด" ทำให้งานมีคุณภาพ ลึกซึ้งมากขึ้น

อย่างที่สาม งานความรู้ที่เผลิต บางครั้งสามารถนำมาใช้ หรือ ทดลองใช้ ในการแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะจบการศึกษาเสียด้วย ทำให้เราได้ทดสอบงานความรู้ของเราอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาสำคัญอย่างที่อจารย์แหววบอก นักศึกษาเองอาจจะทำการบ้านอย่าง "ปราณีต" ไม่พอ รวมไปถึง นักศึกษาเองขาดกระบวนการในการสร้างความชัดเจนกับผู้ที่จะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท