สรุปงานวิจัยเรื่องที่ 2


สืบค้นวิจัย

1. ชื่อเรื่อง       การศึกษาความต้องพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตามทัศนะของ

                      ข้าราชการครู โรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

2. ผู้วิจัย          ว่าที่ร้อยตรี เมฆิน ลิ้มเจริญ

3. ปีที่วิจัย        มีนาคม 2544

4. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูโรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
  2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน จำแนกตามทัศนะของข้าราชการครูโรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตามเพศ ประสบการณ์และตำแหน่ง

5. วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาจากประชากร ซึ่งเป็นข้าราชการครูของโรงเรียนศรีมโหสถ ปีการศึกษา 2543 จำนวนทั้งสิ้น 30 คน

6. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่สอบถามเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูโรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert Scale) คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

          1. ลักษณะของแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอนได้แก่

ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ

ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตามทัศนะข้าราชการครู โรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ตามมาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสำหรับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัย

  1. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.1    การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฏีการบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.2    ศึกษาการสร้างเครื่องมือ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยสร้างเครื่องมือมีลักษณะเป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการจำนวน 3 ข้อ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนตามทัศนข้าราชการครูโรงเรียน ศรีมโหสถ ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 32 ข้อ

6.   วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. ขอหนังสือราชการเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาควิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพาถึงผู้อำนวยการโรงเรียนศรีมโหสถ เพื่อขออนุญาตขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  2. แจกแบบสอบถามแก่นักเรียนในโรงเรียนเพื่อตอบและกำหนดส่งแบบสอบถามคืนภายใน 2 สัปดาห์โดยผู้วิจัยจะไปขอรับแบบสอบถามคืนจากข้าราชการครูด้วย   ตนเอง
  3. นำแบบสอบถามที่ได้รัยคืนมาตรวจสอบความถูกต้องสมบรูณ์ ได้แบบสอบถามคืนคิดเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์นำมาวิเคราห์ข้อมูลทางสถิติ
  4. นำแบบสอบถามตอนที่ 2 แบบมาตรส่วนประมาณค่าหาค่าสถิติพื้นฐาน คือค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อรายด้านและโดยรวมของแบบสอบถามแล้วเปรียบเทียบ ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มประชากร

8. การวิเคราะห์ข้อมูล

  1. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมดมาตรวจให้คะแนน โดยกำหนดน้ำหนักคะแนน

ระดับความต้องการพัฒนามากที่สุด           ให้           5              คะแนน

ระดับความต้องการพัฒนามาก                 ให้           4              คะแนน

ระดับความต้องการพัฒนาปานกลาง          ให้           3              คะแนน

ระดับความต้องการพัฒนาน้อย                 ให้           2              คะแนน

ระดับความต้องการพัฒนาน้อยที่สุด           ให้           1              คะแนน

  1. การแปลความหมายของคะแนน ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์ความหมายค่าเฉลี่ยของคะแนนเป็นตัวชี้วัด โดยอาศัยแนวคิดของบุญชม  ศรีสะอาด และบุญส่ง  นิลแก้ว (หน้า 2535, หน้า 23 - 24) แล้วแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

ค่าคะแนนเฉลี่ย           4.15 – 5.00 หมายถึง ความคาดหวังของผู้ปกครอง

                               อยู่ในระดับมากที่สุด

ค่าคะแนนเฉลี่ย           3.51 - 4.50 หมายถึง ความคาดหวังของผู้ปกครอง

                               อยู่ในระดับมาก

ค่าคะแนนเฉลี่ย           2.51 - 3.50 หมายถึง ความคาดหวังของผู้ปกครอง

                               อยู่ในระดับปานกลาง

ค่าคะแนนเฉลี่ย           1.51 - 2.50 หมายถึง ความคาดหวังของผู้ปกครอง

                               อยู่ในระดับน้อย

ค่าคะแนนเฉลี่ย           1.00 - 1.50 หมายถึง ความคาดหวังของผู้ปกครอง

                               อยู่ในระดับน้อยที่สุด

  1. ค่าคะแนนเฉลี่ย (µ)หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ของแบบสอบถามตอนที่ 2 แต่ละข้อและรายงานทั้ง 3 ด้าน เพื่อดูการกระจายของคะแนน
  2. นำค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับความต้องการพัฒนาโรงเรียนจำแนกตามตัวแปร มานำเสนอในรูปแบบตารางพร้อมทั้งคำอธิบายประกอบในลักษณะความเรียงการวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ วิธีทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS แล้วนำมาศึกษาตามความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้

9. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                การใช้สถิติที่จะวิเคราะห์ข้อได้เลือกใช้สถิติตามข้อมูลที่วิเคราะห์ และวิธีการที่สอดคล้องกับการทดสอบสมมติฐานดังต่อไปนี้

                1. วิเคราะห์ระดับความต้องการพัฒนาคุณภาพ โรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูโรงเรียนศรีมโหสถ โดยหาค่าเฉลี่ย (mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

                2. เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชครู โรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี โดยจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ และตำแหน่ง

10. สรุปผลการวิจัย

        1. วิเคราะห์ความต้องการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูโรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และโดยรวมและรายด้าน พบว่าความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอยู่ระดับมากโดยรวมและรายด้านโดยวิธีเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อยได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัย เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายด้านและรายข้อได้ดังนี้

1.1    ด้านผู้เรียน ในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าที่มีคะแนน

มากเป็นอันดับแรก ได้แก่ นักเรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ และข้อนักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

1.2    ด้านกระบวนการ ความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อ

ที่มีคะแนนมากเป็นอันดับแรกได้แก่ ข้อสถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร ความต้องการของนักเรียนและท้องถิ่น

1.3    ด้านปัจจัย ความต้องการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มี

คะแนนมากเป็นอันดับแรกได้แก่ ข้อชุมชนและผู้ปกครองมีศักยภาพในการสนับสนุนการาจัดการและพัฒนาการศึกษา

         2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ตามทัศนะคุณภาพโรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ และตำแหน่ง เป็นรายด้าน และรวมทุกด้านพบว่า

2.1    ข้าราชการครูเพศชายและเพศหญิงต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยข้ารายการครูเพศหญิงมีความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมากกว่าข้าราชการครูเพศชาย

2.2    ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์มากและประสบการณ์น้อยมีความต้องการในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยข้าราชการครูที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 15 ปี ต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมากกว่าข้าราชาการครูที่มีประสบการณ์มาก

2.3    ผู้บริหารและครูผู้สอนต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน โดยครูผู้สอนมีความต้องการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมากกว่าผู้บริหาร

 

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 314507เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น้องอัจ...ยังหารูปไม่ได้เหรอ เอารูปที่ไปอุดร ตอนใส่ชุดสวย...ดีไหมครับ เดี๋ยวพี่ลงรูปให้

มาเรียนรู้เกี่ยวกับวิจัยค่ะ วิจัยยิ่งทำยิ่งอยากรู้ค่ะ

เสร็จสองเล่มแล้วยังไม่มีรูปอีกนะจ๊ะ...ไม่เห้นหน้าเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท