ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

ตัวอย่างแบบฝึกภาคสนาม..รูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลของของผู้สูงอายุในการเสริมพฤติสุขภาพ....


แบบฝึกหัดภาคสนามการประชุมปฏิบัติการ วิจัยเชิงคุณภาพ ในประเทศ ..9-13 พ.ย.52

 

แบบฝึกภาคสนามของกลุ่ม 4/เป็นส่วนหนึ่งของแบบฝึกหัดการประชุมปฏิบัติการวิจัยเชิงคุณภาพ (ขออนุญาตนำมา..เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของชาว กศน. ที่สนใจการทำวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มผู้สูงอายุ)

 

  ชื่อเรื่อง : รูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในตำบล..........

  ความเป็นมาและความสำคัญ

  การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิต ไม่เว้นแต่ผู้สูงอายุเพื่อถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ที่ตรงกัน ข้อมูลผู้สูงอายุ จำแนกตามเพศ พบว่าผู้สูงอายุ ไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้สูงอายุปี 2552  จำนวน 7,273,900  คน ผู้ชาย 3,293,100  หญิง 3,980,800 (สถาบันวิจัยประชากรสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล : 2552 ) การศึกษาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุน่าจะมีการศึกษามากขึ้น เพื่อเป็นองค์ความรู้ด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล และนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป.....

คำถามการวิจัย

  •ผู้สูงอายุตำบล...... อำเภอบางเลนมีรูปแบบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ด้านพฤติกรรมสุขภาพอย่างไร ผู้สูงอายุตำบล.........อำเภอบางเลนมีพฤติกรรมสุขภาพอย่างไร

วัตถุประสงค์การวิจัย

  •เพื่อค้นหารูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุในการสร้างเสริมสุขภาพ

 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ

แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

  1.แนวคิดทฤษฎีการสื่อสารระหว่างบุคคล

  2.แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

  3.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  กรอบแนวคิด

  รูปแบบและพฤติกรรมการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร/ออกกำลังกาย/อารมณ์ ..

  การออกแบบการวิจัย

การเก็บข้อมูล

วิธีการเก็บข้อมูล

เครื่องมือ

จนท.สอ. อสม. Indepth-interview แนวทางการสัมภาษณ์
ผู้สูงอายุ Focus group แนวทางการสนทนากลุ่ม
บริบทที่เกี่ยวข้อง สังเกต

แนวทางการสังเกต

 

  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย

  (แบบคัดกรอง )

  ผลการศึกษา

  พฤติกรรมการสื่อสารของของผู้สูงอายุ

    1. ระดับคนแปลกหน้า (Stranger)

  เป็นความสัมพันธ์มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้สูงอายุน้อย การพูดเป็นลักษณะเป็นทางการ คือ เป็นทางการเกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และงาน จะไม่มีการพูดคุยเรื่องสัพเพเหระ เช่น “สมาคมนักวิจัยนี่ของรัฐหรือของเอกขน” “แล้วข้อมูลที่จะเอาไปเกี่ยวกับวันนี้ จะเอาไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไร”  หรือ “ไม่ใช่คนบ้านเรานะ”

     2. ระดับคุ้นเคย (Acquaintance)

  เป็นบุคคลที่มีระดับความสัมพันธ์มากกว่า มีความสนิทสนม มีการติดต่อสื่อสารทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คือ มีการพูดคุยสัพเพเหระ หรือพูดคุยหยอกล้อได้ รวมถึงเปิดเผยข้อมูล เปิดเผยตนเอง สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุ เมื่อมีการพูดคุยกันในกลุ่มในระดับหนึ่งมีความคุ้นเคยกันมากขึ้นกับทีมวิจัย ผู้สูงอายุพูดคุยหยอกล้อมากขึ้น เช่น “ถ้าเลยเวลามันก็จะไม่หลับสองทุ่มกว่า ๆ  ทุ่มก็ไม่ค่อยหลับหรอก” “ฟุ้งซ่านรึเปล่า” คิดถึงใครรึเปล่า (หัวเราะ)

  รูปแบบการสื่อสารของผู้สูงอายุ

1.รูปแบบแนวดิ่ง ผู้สูงอายุมักใช้รูปแบบการสื่อสารแนวดิ่ง ซึ่งจะเกิดจากพฤติกรรมการสื่อสาร ด้วยการผูกขาดการพูดคุย เช่น เรื่องของอาหารในครอบครัว วันนี้อาหารเค็มจริงเลย ผัดอะไรก็ไม่รู้ แล้วไปกินข้าวนอกบ้าน แม่บ้านก็คุยกับเค้า บอกเค้าไม่ให้ทำอาหารเค็มอนามัยก็แค่วัดความดัน ให้ยาอะไรก็ไม่ได้เรื่อง

 

  2.รูปแบบแนวราบ

ผู้สูงอายุจะมีรูปแบบการสื่อสารแนวราบ ซึ่งจะเกิดจากพฤติกรรมการสื่อสารกับบุคคลระดับคุ้นเคย ด้วยการหยอกล้อ แลกเปลี่ยนเหตุการณ์ข่าวคราว แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น ตำรวจอย่างลุงไม่น่ากลัวเลย หมดเขี้ยวเล็บแล้ว(หัวเราะ) มองดูเขี้ยวมันเริ่มน้อยแล้ว(หัวเราะฮ่าๆเสียงดัง) เขี้ยวหลุด และจากการศึกษานี้เอง ทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องสุขภาพ เมื่อเข้ากลุ่มหรือสภากาแฟส่วนใหญ่จะเป็นการพูดคุยสัพเพเหระ    

 3.รูปแบบแยกตัว

  คือ พฤติกรรมที่แสดงออกว่าต่างคนต่างทำกิจกรรม และแยกตัว แต่ก็ยังมีการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ชุมชนบ้างเนื่องจากยังต้องพึ่งพากัน เช่น การเข้าร่วมประชุม อบรมต่างๆที่ทางสถานีอนามัย หรือ อบต.จัด แต่ส่วนใหญ่แล้วกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ จะต่างคนต่างทำ เช่น การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร การเลือกการรักษาพยาบาล เช่น ทุกคนก็มีหมอประจำตัวอ่ะนะ ไปที่ชอบ

 แบบคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

ลำดับ อายุ เพศ โรคประจำตัว สถานภาพสมรส บุตร อาศัยอยู่กับใคร
1 61 ชาย HT โสด - คนเดียว
2 68 ชาย - คู่ 3 ภรรยา
3 68 ชาย DM,HT คู่ 3 ภรรยา,ลูก
4 81 ชาย - คู่ 6 ภรรยา,ลูก
5 74 ชาย - คู่ 4 ภรรยา,ลูก
6 83 ชาย DM คู่ 8 ภรรยา,ลูก
7 61 หญิง DM,HT คู่ 4 สามี,ลูก,หลาน

  แนวทางสัมภาษณ์

  1.ท่านมีช่องทางใดบ้างในการสื่อสารให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี 2.ตำบลนี้มีนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบล อย่างไร 3.ปัญหาอุปสรรคและแนวทางดำเนินงานในอนาคต 4.ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร (การมีส่วนร่วม)

  แนวทางการสนทนากลุ่ม

  1.เป็นยังไงบ้างทานข้าวมารึยัง  ทานอะไรมาบ้าง  ชอบทาน    อะไรรสชาติใด  แล้วใครทำให้ทาน

2.ออกกำลังกายบ้างไหม  ประเภทการออกกำลังกาย  สถานที่    ออกกำลังกาย 3.นอนหลับไหม  นอนกี่ชั่วโมง  ทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ช่วงนี้มี    เรื่องไม่สบายใจ 4.รู้เรื่องการดูแลสุขภาพมาจากที่ไหน  ช่องทางใด จากใคร การสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพ 

  Keyword

  รูปแบบการสื่อสาร

   ผู้สูงอายุ

  พฤติกรรมสุขภาพ

 อภิปรายผลการวิจัย

  จากการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุจะมีการสื่อสารระหว่างบุคคลที่เป็นแบบแยกตัว อาจเนื่องมาจากความกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจผู้สูงอายุเมื่อตนเองต้องดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้กฎระเบียบทางสังคม หรือสถานะที่แตกต่างกัน ภูมิหลังที่แตกต่างกัน และเมื่อมองถึงบริบทแล้วเนื่องจากบ้านเรือนอยู่ห่าง ทุกครัวเรือนมีพื้นที่สวนมาคั่นระหว่างบ้านทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลในชุมชนเป็นในแบบแยกตัว เมื่อดูรายละเอียดเรื่องสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพค่อนข้างดี เช่น รู้ที่จะรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากไม่ใช่ผู้ปรุง และมีการรับประทานร่วมกับคนในครอบครัว และผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนข้อมูลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นประจำ เช่น ส่งเสริมการออกกำลังกาย

หมายเลขบันทึก: 314173เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 ผมก็ใกล้สูงอายุแล้ว มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพค่อนข้างดี เช่น รู้ที่จะรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง เหมือนกัน  แต่ที่ไม่สามารถทำได้นั้น เนื่องจากอดที่จะทานตามใจไม่ได้ ครับ

สวัสดีค่ะ

ขอชื่นชมว่า เก่งมาก น้องสุรีย์ ทำเรื่องยากๆๆ ให้ เป็นเรื่องน่าอ่าน อ่านแล้ว คิดว่า น่าทำได้ หากได้ศึกษาต่อไป

ขอให้น้อง เขียนอีกนะคะ ขอให้กำลังใจค่ะ พี่ได้ส่ง จดหมายมาให้อ่านดู ใน E-mail ของน้อง แล้วนะคะ

พี่พิชญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท