รายงานความก้าวหน้าการติดตามมติของสมัชชาสุขภาพ ประเด็นเด็กกับสื่อ


เป็นการติดตามความก้าวหน้าของการทำงานตามมติของสมัชชาสัขภาพจากปี ๒๕๕๑ ในประเด็นด้านเด็กกับสื่อ โดยมีข้อเสนอในการขับเคลื่อนงานทั้ง ๙ ประเด็นย่อย แต่ในส่วนของข้อเสนอต่อทางสมัชชาสุขภาพก็คือ การเคลื่อนการทำงานในทางปฏิบัติในระดับชุมชน ระดับจังหวัด โดยอาศัยสมัชชาสุขภาพในแต่ละพื้นที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนในรายละเอียด เช่น การแสวงหาตัวอย่างความสำเร็จในพื้นที่ การหนุนเสริมการทำงานของตัวอย่าง เพื่อนำมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ที่ได้จากการทำงานจริงต่อไป

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ มีการจัดทำข้อเสนอต่อสมัชชาสุขภาพ โดยประเด็นด้านเด็กกับสื่อ เป็นประเด็นหนึ่งในการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพ โดยมีประเด็นย่อยทั้งสิ้น ๘ ประเด็น (เอกสารดาวน์โหลด) กล่าวคือ (๑) กองทุนสื่อ (๒) ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ฝึกอบรมการผลิตรายการโดยองค์กรบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไกด้านการเรียนรู้เท่าทันสื่อ (๔) รณรงค์ให้สื่อมวลชนตระหนักถึงบทบาทในการผลิตสื่อรายการวิทยุและโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ  (๕) จัดตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน (๖) ให้มีกลไกในการติดตามการดำเนินงานตามกฎหมาย  (๗) สร้างความเข็มแข็งให้กับกระบวนการควบคุมและคัดกรองสื่อรวมถึงโฆษณา (๘) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการวิจัยประเมินผลกระทบจากสื่อและการวิจัยและพัฒนาสื่อสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง (เอกสารข้อเสนอฉบับเต็มก่อนเข้าที่ประชุมสมัชชาสุขภาพฉบับร่างจริง ฉบับร่างแรก)

ในปีนี้ ๒๕๕๒ มีการติดตามตามมติ โดยทางสมัชชาสุขภาพได้มีการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามมติ (สื่อกับเด็ก) ๒ ครั้ง มีเป้าหมายหลัก เพื่อ จัดทำเอกสารายงานสรุปการติดตามความก้าวหน้าของประเด็นย่อยทั้ง ๘ ประเด็นว่ามีความคืบหน้าไปอย่างไรบ้าง โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้ ทางอ.อิทธิพล  อ.ธาม พี่วันชัย และ อ.อังธิดา สังเคราะห์ และ จัดทำเอกสารสรุปเบื้องต้นในความก้าวหน้าของมติ (เอกสารดาวน์โหลด)

การประชุมร่วมทั้งสองครั้งกับทางสมัชชาสุขภาพ ทำให้เห็นว่า อันที่จริงแล้ว สมัชชาสุขภาพเป็นกลไกเสริมที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นทั้ง ๘ โดยอาศัยการทำงานใน ๒ ระดับ ระดับสมัชชาสุขภาพในระดับพื้นที่รากหญ้า ในการแสวงหา สนับสนุน ติดตาม ในประเด็นย่อยทั้ง ๘ และ ระดับส่วนกลางที่จะหน้าที่ในการสังเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะร่วมกับระดับรากหญ้า เพื่อทำให้เกิดการทำงานแบบ "ร่วมกัน" "ขับเคลื่อน" ให้เกิดการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์

หมายเลขบันทึก: 313865เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอเอาใจช่วยให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วยนะคะ...

มาให้กำลังใจอาจารย์ ตัวจริงในงาน ดูหนุ่มกว่าในรูปนะครับ ดีใจที่ได้สมัชชาสุขภาพเข้ามาร่วมแรงแข็งขันกัน แต่ปัจจุบัน ผมรู้สึกว่าองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสื่อ โดยเฉพาะในภูมิภาคต่างๆ ยังตามไม่ค่อยทันกับงานนโยบายสุขภาพ จะหาวิธีไหนให้มีจังหวะก้าว-การรับรู้ การมีส่วนร่วมที่สอดคล้องกัน ระหว่างสมัชชาสุขภาพกับเครือข่ายสื่อ โดยภาพรวม อันนี้เป็นช่องว่างที่ใหญ่มาก

ขอบคุณครับ คุณยอดดอย กำลังจะลงไปทำงานกับเครือข่ายต่างจังหวัดในประเด็นด้านสื่อ ผ่าน คณะอนุกรรมการสือ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ในจังหวัดนำร่อง ที่เราสนใจก็คือ การค้นหาตัวอย่างการทำงานเพื่อพัฒนาสื่อในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ในระดับชุมชนขึ้นมาเพื่อนำมาวิเคราะห์หาปัจจัย แล้ว นำมาขยายงานต่อ

ตามไปอ่านต่อได้ที่ http://gotoknow.org/blog/archangoh/311282 กับ http://gotoknow.org/blog/rating/314219 ในเอกสารที่เขียนว่า ข้อเสนอในการทำงานเชิงรูปธรรมที่ยั่งยืน

สวัสดีค่ะอาจารย์โก๋ มีอะไรให้สื่อวิทยุช่วย ยินดีที่สุดค่ะ

น่าจะช่วยกันตีฆ้องร้องป่าวได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท