Practicum in Singapore:วันสุดท้าย


สิ่งที่ Practicum ในสิงคโปร์สอนฉันที่สำคัญที่สุดคือ คุณค่าของทีม คือสิ่งทำให้การทำงาน Palliative ทุกข์หรือสุข จะล้มเหลวหรือสำเร็จ

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของ practicum ในสิงคโปร์
    ตอนเช้า ทิ้งทวนด้วย department journal club ด้วยเรื่องโปรดของฉัน " Laxatives for constipation management in Pallative patients" ซึ่งต้องขอบคุณ Dr.Yew Jin ที่แนะนำและให้โอกาส บรรยากาศคึกคัก Dr.Yee หนึ่งใน senior consultant (และเป็นคุณแม่ลูกสี่ !) เป็นคนช่างคิดช่างสังเกต ฉันจึงได้ประเด็นน่าสนใจมาหลายข้อ

    ตอนบ่าย กลับไปที่ HCA เพื่อสังเกตการณ์ Day care  ซึ่งเป็นสถานให้ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ได้มามีสันทนาการร่วมกันแทนที่จะอยู่บ้านเฉยๆ ส่วนใหญ่จะส่งต่อมาจากโรงพยาบาล ระยะเวลาดูแลคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-5 ปีก่อนเสียชีวิต.  คุณพยาบาล Ester พาฉันไปดูกิจกรรมที่อากง อาม่าทำ มีตั้งแต่ นอนพักดูโทรทัศน์เป็นหมู่คณะ (คนเป็นสิบนั่งดูช่องเดียวกัน..สงสัยจริงๆ ว่าตั้งใจดูหรือเปล่า), เล่นไพ่นกกระจอก, ทำงานฝีมือ
วันนี้พิเศษ คือมีนักเรียนวงดุริยางค์ มาเล่นดนตรีให้ฟังด้วย...น่าชื่นชมระบบการศึกษาในสิงคโปร์ที่จะมีชั่วโมงเรียกว่า "volunteer - กิจกรรมเพื่อสังคม" คนที่เล่นดนตรีไม่ได้ ก็ช่วยทำความสะอาด หรือไปคุยกับผู้ป่วย..ไม่รู้ว่าบ้านเรามีหรือเปล่า แต่ฉันว่าเป็นสิ่งดีที่จะปลูกฝังให้เห็นคุณค่าของการช่วยเหลือสังคมตั้งแต่เด็ก

    สิ่งหนึ่งที่ใจฉันสัมผัสได้ เมื่อต้องจาก  palliative team ทั้งที่ UCSF และ NCCS คือ ความรู้สึกผูกพัน อาลัยอาวรณ์อย่างบอกไม่ถูก แม้เวลาเพียงเดือนหรือสองเดือน

    โดยเฉพาะที่สิงคโปร์ ทีมจะไปไหนไปด้วยกันเกือบตลอดเวลา ทานมื้อเที่ยงด้วยกันทุกวัน เพราะ "มื้อเที่ยงเป็นโอกาสสร้างมิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน" จริงอย่างที่อาจารย์ดาริน เขียนไว้

  ดังนั้นเมื่ออยู่ไปเพียงอาทิตย์เดียว ฉันก็เริ่มรู้สึกสบายใจกับทีม โดยเฉพาะ Dr.ChoiLing Palliative Medicine Registra ที่อายุมากกว่าฉัน 5 ปีแต่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ เป็นว่าที่ consultant ในมาเลเซีย ผู้เป็นทั้งครู ทั้งพี่และทั้งเพื่อน (classmate APHN2009) ตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ของการดูผู้ป่วยใน Singapore General Hospital

   แม้แต่ตอนนั่ง MRT กลับบ้าน ด้วยความที่ ที่พักฉัน กับ Dr.ChoiLing อยู่สายเดียวกัน คุยเรื่องสัพเพเหระ ฉันได้เรียนรู้ว่าหมอที่ทำงาน palliative ที่ดูแลคนไข้ได้ดีนั้นต้องมี self care ที่ดีด้วย  Dr.ChoiLing เล่าให้ฟังว่า เธอไม่ทำงานเสาร์ อาทิตย์ เพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว และทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ได้แก่การทำอาหาร ทำสวน ในวันอาทิตย์เช้าก็ไปโบสถ์ บ่ายก็ออกไปหาอะไรทานกับสามีนอกบ้าน ฟังแล้วเป็นความสุขง่ายๆ แต่น่าอิจฉาทีเีดียว ( สะท้อนใจว่าตัวเรา สุข 'ยาก'ไปหรือเปล่า?)   
   
   ฉ้นเคยติดตามเธอไปโบสถ์ในสิงคโปร์ครั้งหนึ่ง ด้วยความอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ปรากฎว่าผิดกับที่คิดๆ ไว้ โบสถ์ที่ว่านี้ชื่อ New creation ตั้งอยู่ใน Suntec city และเป็นโบสถ์ที่ crative สมชื่อ.. ตอนเดินเข้าไป ฉันยังคิดว่าเดินมาผิดหรือเปล่าเพราะเห็นเด็กวัยรุ่นคนหนุ่มสาวแต่งตัวสบายๆ มาออรอเข้าอย่างกับคอนเสิร์ต.. ถ้าไม่ได้ไปก่อนเริ่มพิธีหนึ่งชั่วโมงไม่มีที่นั่งใน main hall ต้องไปนั่งดูถ่ายทอดสดในห้องอื่น เริ่มต้นขึ้นมาก็เป็นเพลงสรรเสริญพระเจ้าแต่สไตล์เหมือน life concert ฉันเอง แม้ไม่เข้าใจในตัวเพลงก็ยังนึกอยากโยกตามจังหวะไปด้วย...คิดชมในใจว่า สร้างสรรค์ให้เด็กรุ่นใหม่เข้าหาศาสนาได้ง่ายขึ้นก็นับว่าเป็นสิ่งดี  มองไปมีทั้งอากง อาม่า คนวัยทำงาน เด็กวัยรุ่น จนถึงเด็กเล็ก ยืนร้องเพลงกันอย่างมีความสุข..

  มิตรภาพระหว่างทีมจึงไม่ใช่เพียงเืพื่อนร่วมงาน แต่ยังเป็นเพื่อนทางจิตวิญญาณอีกด้วย ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา แต่มี Value เดียวกัน..ซึ่งฉันคิดว่า คนเราจะพูดกันรู้เรื่องก็ตรง "การให้คุณค่ากับสิ่งใด"  ต่อให้ชาติเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน ภาษาเดียวกันหรือแม้แต่อยู่บ้านเดียวกัน ถ้า value ไปคนละทาง ก็พูดกันลำบาก

คำสำคัญ (Tags): #journal club#teamwork#day care#palliative
หมายเลขบันทึก: 313126เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • จะกลับบ้านแล้วหรือครับ หรือจะไปต่อที่ไหนหรือเปล่า
  • Ester เป็น clasmate ผม น่ารักมาก
  • ผมรู้สึกอย่างนี้ทุกที เวลาอยู่ในกลุ่มคนพวกนี้ เรามีความสุขตามไปด้วย มันเกิดทุกที่ ทั้งในไทยและต่างประเทศ
  • เรื่องนี้ ไม่ทำ ไม่รู้ ใช่มั้ยครับ

สวัสดีจาก changi คะอาจารย์ ใกล้จะกลับบ้านแล้ว

ยังไม่ค่อยอยากลับ แต่ต้องกลับ เพราะเดียวหัวหน้าภาค จะงอนเอาคะ :>

ขอบคุณมากคะสำหรับ ผลการสำรวจสถานการณ์ฯ

ทำให้ทาง ม.ช. (และ รร.แพทย์อื่นๆ ) รู้ว่ายังต้องเติมเต็มอะไรบ้าง

แต่งานแรกคือ เตรียมต้อนรับท่านอาจารย์สกล วันที่ 18 นี้คะ

สวัสดีค่ะ

เห็นชื่อ CMU ค่ะ เลยเข้ามาอ่าน

ประสาศิษย์เก่าค่ะ

(แม้จะคนละคณะ)

จะมีการสำรวจสถานการณ์ชุดใหญ่ที่เครือข่ายฯจะขอไปเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนทุกโรงเรียนแพทย์ด้วยครับ

สวัสดีครับ

นึกว่าย้าย blog หนีไปไหน อยู่นี่ นี่เอง

ชอบที่บอกว่า จะล้มเหลวหรือสำเร็จอยู่ที่ทีม นี่เรื่องจริงตลอดกาล

สวัสดีคะ พี่โรจน์ ช่วงนี้เหนื่อยกับงาน HA อยู่หรือคะ

พี่โรจน์เป็นหนึ่งใน Hero ของ Community palliative ที่แต้เอาไปเล่าให้เพื่อนๆที่โน่นฟังคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท