สรุปสาระสำคัญของงานวิจัย


สรุปงานวิจัย

ชื่องานวิจัย : ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว

ผู้วิจัย : นางสาวเหนียว ศีลาวงศ์

ปีที่วิจัย : 2545

วัตถุประสงค์ในการวิจัย :

          1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติ 4 ด้าน

                2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ในด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียน จำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา สายวิชาเรียน และประเภทของนักศึกษา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง :

                1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,740 คน

                2. กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 363 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล : เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุงและพัฒนามาจากแบบสอบถามของเฉลิม พรหมคุณาภรณ์(2539) โดยคัดเลือกเฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนที่ศึกษาด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนประกอบกับการศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัย และด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาทำให้ได้แบบสอบถามที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ

          ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของนักศึกษา เป็นแบบเลือกตอบ (check – list) มีจำนวน 4 ข้อเกี่ยวกับ เพศ ภูมิลำเนา สายวิชาที่เรียน และประเภทนักศึกษา

          ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ทั้ง 4 ด้าน ด้านพฤติกรรมของครูผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้

                1. ขอหนังสือรับรองจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเสนอต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล

                2. เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บริหารให้เก็บข้อมูลได้ ผู้วิจัยขอความร่วมมือจากคณาจารย์ที่เป็นครูประจำชั้น เพื่อช่วยแจกและเก็บรวบรวมข้อมูล

                3. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้ นำมาตรวจสอบและคัดเลือกแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์ทุกฉบับ

                4. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาลงรหัสให้คะแนนตารมน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อ และบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows

                5. นำผลคำนวณมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัยต่อไป

การวิเคราะห์ผล : ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาแยกวิเคราะห์ดังนี้

                ตอนที่ 1 หาความถี่ของคะแนนแบบสอบถามของความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านตามเพศ ภูมิลำเนา สายวิชาที่เรียน และประเภทของนักศึกษาโดยคิดเป็นร้อยละ

                ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดของลิเคิร์ท (Best & Kann. 1981 : 277) กำหนดน้ำหนักดังนี้

     มากที่สุด   หมายถึง พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

     มาก         หมายถึง พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนอยู่ในระดับมาก

     ปานกลาง  หมายถึง พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง

     น้อย         หมายถึง พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนอยู่ในระดับน้อย

     น้อยที่สุด  หมายถึง พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนอยู่ในระดับน้อยที่สุด

                การแปลความหมายของคะแนน ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์สำหรับวัดระดับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยโดยเอาคะแนนเฉลี่ย (mean) ของคะแนน เป็นตัวชี้วัด โดยกำหนดเกณฑ์ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. 2535 : 23 – 24)

                คะแนนเฉลี่ย  4.51 – 5.00  หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

                คะแนนเฉลี่ย  3.51 – 4.50  หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

                คะแนนเฉลี่ย  2.51 – 3.50  หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง

                คะแนนเฉลี่ย  1.51 – 2.50  หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย

                คะแนนเฉลี่ย  1.00 – 1.50  หมายถึง ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด

สถิติที่ใช้ในการวิจัย : ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยเลือกเฉพาะวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายของการวิจัยดังนี้

          1. ศึกษาความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ใช้คะแนนเฉลี่ย (X) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

          2. เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติ จำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา สายวิชาที่เรียน และประเภทของนักศึกษาใช้การทดสอบค่าที (t – test)

สรุปผลการวิจัย :

               1. นักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                2. นักศึกษาชาย มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                3. นักศึกษาหญิงมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                4. นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกำแพงนครเวียงจันทน์ มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                5. นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                6. นักศึกษาสายเตรียมศึกษาต่อต่างประเทศ มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                7. นักศึกษาสายเตรียมศึกษาต่อในประเทศ มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                8. นักศึกษาประเภทนักศึกษาในแผน มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                9. นักศึกษาประเภทนักศึกษานอกแผน มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของครูอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจามมากไปหาน้อยคือ ด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้น และด้านอาคาร สถานที่ ห้องเรียน สื่อการเรียนการสอน

                10. ผลของการเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวจำแนกตามเพศ ภูมิลำเนา สายวิชาที่เรียน และประเภทนักศึกษา

                                10.1 นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านพฤติกรรมของผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                                10.2 นักศึกษาที่อยู่ในกำแพงนครเวียงจันทน์และนักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัดมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้นด้านพฤติกรรมของผู้เรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                                10.3 นักศึกษาสายเตรียมศึกษาต่อต่างประเทศและนักศึกษาสายเตรียมศึกษาต่อในประเทศมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้นด้านพฤติกรรมของผู้เรียนและด้านพฤติกรรมของเพื่อนร่วมชั้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                                10.4 นักศึกษาประเภทในแผนและนักศึกษาประเภทนอกแผน มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .50) ยกเว้นด้านพฤติกรรมของผู้เรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 312417เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ทำสำเร็จแล้วนี่ ผมอ่านแล้ว เก่งมาก ๆ เลยครับ อิอิ

โอ้ .........ดีมากพี่เจ๊งจริง..............ดีมากครับพี่

เก่งจริง ๆ เลย ยังไม่มีเวลาพิมพ์เลย

ถูกต้องครับพี่    ดีครับเจ้านาย    สุดยอดจริงๆ

น่านำมาทำวิจัย....จะได้ไปฝังตัวที่ประเทศลาว....สาวลาวสวยนะครับ

น่าสนใจมากค่ะ

ยินดีที่ทำสำเร็จค่ะ

เอาทานตะวันมาฝากค่ะ

สุดใบอ่อนเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท