โครงการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง การส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน


Stroke Fast Track ของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552  ช่วงบ่าย ผู้เขียนมีนัดทำโครงการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง การส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น   ซึ่งเป็นโครงการย่อยให้กับคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่โรงพยาบาลรับ MOU มาจาก สปสช สาขาเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  หรือที่เข้าใจเรียกว่า  "Stroke Fast  Track"   

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ให้เข้าใจแนวทางการดูแลรักษาและการส่งต่อเพื่อส่งผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเข้าช่องทางด่วน "Stroke Fast  Track" ของโรงพยาบาล  และเพื่อช่วยให้แนวทางการจัดทำแผนที่บ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในชุมชนในการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน   เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มแรกที่เราจะพัฒนาร่วมกับชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นกันค่ะ

ผู้เข้าร่วมประชุม  ประมาณไว้ที่ 90 คน  ประกอบด้วย 

  1. ผู้แทนจากแผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินทุกหน่วย จากหน่วยด่านหน้า แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก จากหน่วยปฐมภูมิ แผนกการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน  30  คน 

  2. ผู้แทนจากโรงพยาบาลขอนแก่น และ โรงพยาบาลเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  จำนวน  12  คน

  3. ผู้แทนจากหน่วยกู้ชีพขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตัแทนจากชุมชน เทศบาล ตำบลในเขตอำเภอเมือง 18 แห่ง ๆ ละ 3 คน รวม  48  คน   

ชมภาพกิจกรรมกันค่ะ

งานนี้  มีน้อง ๆ ที่หน่วย  คือ  น้องอรัญญา  และ น้องสุมาลี  จากที่ทำงานมาช่วยลงทะเบียนและแจกเอกสาร  คู่มือให้กับผู้ร่วมประชุม 

ประธานในงานนี้  คือ  ศ.นพ.ยศอนันต์ ยศไพบูลย์  รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายบริหาร ให้เกียรติมาเป็นประทานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม

พี่อุ๋ย กาญจนศรี  สิงห์ภู่  เลขากรรมการ  "Stroke Fast  Track" ของโรงพยาบาล ก็มาดูแลช่วงพิธีเปิดการสัมมนาด้วยค่ะ

พี่พัชรินทร์  อ้วนไตร  พยาบาลผู้ประสานงานคณะกรรมการ "Stroke Fast  Track" ของโรงพยาบาล เป็นวิทยากร เรื่อง แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และการจัดบริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้ด้วยค่ะ  

ส่วนผู้เขียนเจ้าของโครงการ เป็นวิทยากร เรื่อง การจัดทำทะเบียนและแผนที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน  และยังรับผิดชอบนำสัมมนาเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน  แบ่งเป็น 3 กลุ่ม  นำเสนอผลการประชมกลุ่มย่อย และสรุปผลการสัมมนา  ก็เป็นอันสิ้นสุดกิจกรรมในระยะแรกนี้ ค่ะ

ผลการสัมมนา  ขอนำเสนอดังนี้ค่ะ

กลุ่มที่ 1  กลุ่มประชาชนกับหน่วยกู้ชีพท้องถิ่น 

ผู้เขียนให้กลุ่มทำบทพูดสำหรับสื่อสาร เพื่อช่วยให้อาสากู้ชีพมีความเข้าใจกับการนำไปให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนของตนเอง   โดยผู้เขียนใช้ 4 คำถาม (บทพูด ผลงานกลุ่มส่งพิมพ์ ยังไม่เสร็จค่ะ)

  1. ถ้ามีอาการเสี่ยงกับตัวท่าน  ท่านจะแจ้งบอกขอความช่วยเหลือที่หน่วยงานใด ให้บอกหมายเลขโทรศัพท์ (1669)  ให้บอกวิธีการแจ้งขอควมช่วยเหลือ  ถ้าท่านเป็นอาสากู้ชีพในชุมชน ตำบล เทศบาลที่ท่านทำงานอยู่  เมื่อประชาชนโทรมาแจ้งขอความช่วยเหลือจากท่าน ท่านจะทำอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงนั้น ทั้งการสอบถามและบันทึกข้อมูลการแจ้ง ท่านจะสอบถามอะไรบ้าง

  2. จากข้อ 2 ท่านจะแจ้งให้ข้อมูลและขอรับคำปรึกษาจากแม่ข่ายในการออกเหตุไปให้บริการกับผู้ป่วย และรายงานต่อพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินอย่างไร 

  3. จากข้อ 2 - 3 เมื่อท่านเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ ณ บ้านของผู้ป่วย ท่านจะทำอะไรก่อนหลังตามลำดับ  และท่านจะพูดว่าอย่างไร

กลุ่มที่ 2  กลุ่มหน่วยกู้ชีพท้องถิ่นกับหน่วยบริการของโรงพยาบาล 

ผู้เขียนให้กลุ่มวางแผนการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนว่า ต้องการพัฒนา ด้านใดบ้าง  เช่น  การจัดทำแผนที่  การให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองต่อตนเองและต่อประชาชนในชุมชนที่รับผิดชอบ  การส่งต่อผู้ป่วย  การเยี่ยมบ้าน การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

กลุ่มที่ 3  กลุ่มหน่วยบริการ Stroke Fast Track ของโรงพยาบาลในเขตอำเภอเมือง และแม่ข่าย   

ผู้เขียนให้กลุ่มวางแผนการช่วยเหลือทีมกู้ชีพเมื่อมีการคัดกรอง การดูแล และการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน  ทั้งเรื่อง การช่วยบอกเส้นทางไปบ้านผู้ป่วยจากการจัดทำแผนที่  การสอบถามทางวิทยุสื่อสารเพื่อการช่วยเหลือทีมในการคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยสร้างเครื่องมือคำถามนำ และพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แบบบันทึกแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหบอดเลือดสมอง ณ จุดเกิดเหตุและขณะนำส่งโรงพยาบาล   ใช้รหัสจำง่าย ๆ  คือ  FAST นั่นเองค่ะ

F = Face  ให้ผู้ป่วยยิ้ม และ หลับตา สังเกตว่า มีมุมปากเบี้ยว  หรือ
                  หนังตาตกหรือไม่

A = Arm  ให้ผู้ป่วย ยกแขน หรือ ขา  สังเกตว่า แขน ขา ข้างใดข้าง
                 หนึ่งอ่อนแรง หรือเป็นทั้งสองข้าง

S = Speech  ให้ผู้ป่วยพูดบอก อาการ  สังเกตเสียงพูด ว่าพูดได้
                      ชัดเจน หรือไม่

T = Time  ให้ถามผู้ป่วยว่า เริ่มมีอาการตั้งแต่เมื่อไหร่  แล้วนับมาถึง
                  เวลาปัจจุบัน  ว่าเป็นกี่นาที  ชาว EMS จะมีเวลาเพียง
                  120 นาที  สำหรับการดูแล ณ จุดเกิดเหตุ และการนำส่ง
                  โรงพยาบาลที่มีความสามารถในการรักษา หรือ มี
                  บริการ Stroke Fast Track  เท่านั้น   เช่น 
                  ขณะนี้ ให้นำส่งที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ 

                   โทร 043-202478

(หรือที่โรงพยาบาลขอนแก่นในอนาคตอันใกล้)  เพื่อการรักษาต่อเนื่อง  ด้วยการวินิจฉัยว่าเป็นแบบตีบ ตัน หรือแตก เพิ่มเติมด้วยการถ่ายเอ๊กเรย์สมอง CT Scan และตรวจเลือด  ซึ่งต้องให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดกรณีตีบ ตัน  หรือผ่าตัด กรณีแตก ให้ทันเวลาภายใน 270 นาที นับจากเริ่มมีอาการ 

ซึ่งรวมถึงการให้บริกาวิชาการแก่สังคมในการความรู้บุคลากรและประชาชนในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองต่อตนเองและต่อประชาชนในชุมชนที่รับผิดชอบ  การส่งต่อผู้ป่วย  การเยี่ยมบ้าน การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทุกรดับในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ท้ายสุดก็ให้ผู้เข้าร่วมประชุมส่งแบบประเมินเพื่อหาโฮกาสพัฒนากันต่อไป และแยกย้ายกันกลับค่ะ

ผลการประเมินอยู่ระดับดี ถึง ดีมาก

ผู้เขียนทำแบบประเมินให้ผู้เข้าร่วมประชุมตอบเพื่อทราบความจำเป็นในการอบรมไว้ด้วยค่ะ  ข้อมูลอยู่ในรายละเอียดข้อคิดเห็นในการพัฒนาตนเอง พัฒนาหน่วยงาน และความต้องการสนับสนุนวิชาการ  ส่งพิมพ์อยู่นะคะ

จบรายงานค่ะ

กัญญา

 

หมายเลขบันทึก: 311956เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใครเอ่ยมาเยี่ยมเรา ไม่ทิ้งร่องลอย

แจ้งทีม รพ.ขอนแก่น  เมื่อวานผู้เขียนส่ง mail 1 ไฟล์ที่ต้องการไปให้แล้วนะคะ

และวันนี้มีน้องจากหน่วยกูชีพ อบต. เมืองเก่า ก็แวะมาขอ Copy file ไปขยายผลให้ประชาชนในชุมชนตนเองรับทราบต่อแล้วค่ะ  Active สุด ๆ เลยค่ะ

อยากทำ Rtor เรื่องนี้จังนะคะ

หนูเป็นพยาบาลอยู่โรงพยาบาลชุมชน ยางตลาด จใกฬสินธ์นะคะ

โอกาศรอดของผู้ที่ได้รับการวินิจว่าเกิดภาวะ STROK แล้วส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน

สวัสดี คุณดีคะ

"โอกาศรอดของผู้ที่ได้รับการวินิจว่าเกิดภาวะ STROKE แล้วส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน"

รวมกลุ่มวิจัยพูดคุยกันต่อเลยนะคะ

ตั้งหัวข้อการวิจัยได้ดีค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท