ศึกษาดูงานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์


ดูเครื่องเพทสแกน เครื่องไซโคลตรอน เป็นเครื่องสร้างภาพเพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษามะเร็งที่ดีประโยชน์ทางการแพทย์

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพการพานักศึกษาไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงจัดตั้ง “โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์” ขึ้น เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง ในการช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง และต่อมาทรงพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” 

 

 

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยในประเทศและภูมิภาค สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง โดยให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็งในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในบุคคลทั่วไป ตลอดจนการตรวจวินิจฉัยโรคที่แน่นอน รวมทั้งการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว โดยมีคณะกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย

 

โรงพยาบาลแห่งนี้มีเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในหลักสูตรรังสีเทคนิค คือ เครื่องเร่งอนุภาค ที่เรียกว่า ไซโคลตรอน cyclotron 

 

ซึ่ง รศ.ดร รุจพร ชนะชัย ได้กรุณาอธิบายการหลักการทำงานให้พวกเรารับทราบ คือ เครื่องใช้หลักการที่อาศัยอนุภาคที่ถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าให้วิ่งวนเป็นวงออกไปเมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ให้อนุภาคที่ถูกปล่อยออกมาไปชนกับเป้าที่ต้องการ

 

 

เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี

 

นอกจากนี้ยังมีเครื่องสำหรับเครื่องเพทซีที (PET CT : Positron Emission Tomography/Computed Tomography) เป็นนวัตกรรมทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยการผสานเครื่องเพทสแกนและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เข้าไว้ในเครื่องเดียวกัน สามารถบอกตำแหน่งของรอยโรคควบคู่กับระดับการทำงานของเซลล์ เพิ่มความชัดเจนและแม่นยำ

 

 

 

นักศึกษาได้ให้ความสนใจเครื่องนี้มาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ยังไม่มีใช้งานที่ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น

 

นอกจากนี้ทางนักศึกษาได้รับความกรุณาจากทีมงานพาเข้าชมและอธิบายส่วนต่างๆของเครื่องมือ การรักษาความปลอดภัย เครื่อมมือวัดปริมาณรังสี การผลิตสารเภสัชรังสีและการทำงานในศูนย์แห่งนี้

 

เครื่องมือวัดปริมาณรังสีแกมมา(ภาพซ้าย) และนิวตรอน (ภาพขวา) ที่ติดตามผนัง เพื่อใช้ในการตรวจวัด กรณีที่อาจมีรังสีรั่วไหลออกมาภายนอก

 

ที่อาบน้ำชำระร่างกาย กรณีที่ไปสัมผัสรังสี ที่ต้องมีการตรวจสอบการทำงานทุกวัน

และภาพการมอบของที่ระลึกจากการเยี่ยมชมครั้งนี้

ซึ่งทางหลักสูตรรังสีเทคนิค ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้องขอขอบพระคุณ รศ.ดร.รุจพร ชนะชัย และทีมงานที่ให้ความกรุณาเปิดโอกาสให้พวกเราได้เรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานด้านรังสีวิทยา ในครั้งนี้

 

หมายเลขบันทึก: 311087เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์ครับ

การศึกษาดูงานครั้งนี้ได้มากกว่าที่ตั้งใจไว้ครับ

นอกจากมุนของ เทคโนโลยีชั้นนำทางรังสีวิทยาไม่ว่าจะเป็นระบบ DR และ PET CT

ก็ยังน่าสนใจอีกอย่่างคือ แผนภูิมิลักษณะบริหารงาน ซึ่งเห็นบุคลากรน้อยมาก โดยมีเทคโนโลยี

และการใช้คอมพิวเตอร์ กล้องวงจรปิด ทีมงานที่เชี่ยวชาญ ซึ่งต่อ ๆ ไปบุคลากรทางรังสีต้องพัฒนา

ตนเองอย่างมาก พร้อม ๆ ไปกับ พรบ.มะเร็งแห่งชาติ ที่จะมีขึ้น การไปศึกษาดูงานครั้งนี้จึงเกิดประโยชน์

มากเกินคาดหมายไว้ และ ท่าน รศ.ดร.รุจพร ชนะชัย ก็อธิบายหลักการแบบเข้าใจได้ดีขึ้น รวมถึงความเอื้อเฟื้อ

ที่อาจารย์และทีมงานต้อนรับพร้อมแนะนำเป็นอย่างดี เพียงแต่จำกัดด้วยเวลาที่โอกาสเราได้เรียนรู้ไม่มาก

มีโอกาสพานักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไปเข้าทัศนศึกษาน่าจะขอรบกวนเต็มวัเรียนรู้กันทั้ง 3 แผนกของรังสีวิทยาครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ส่งเรื่องราวต่าง ๆ ให้ได้อ่านและเรียนรู้มาโดยตลอดครับ

สวัสดีครับ คุณEdit

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสทำให้เกิดการเรียนรู้ ครับ

การได้มากกว่าที่คิด เป็นผลงานที่คงต้องพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ของทางหลักสูตร ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท