รายละเอียดของโครงการ


รายละเอียดของโครงการ

รายละเอียดของโครงการมีดังนี้

1. ชื่อโครงการ เป็นส่วนที่บอกว่าเป็นโครงการประเภทใด ทำงานอะไร และมีโครงเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการทำงานนั้น โดยชื่อโครงการควรมีลักษณะดังนี้
    - มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย
    - ควรเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สะท้อนสาระของโครงการ

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุหน่วยงายหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานเดียวหรือหลายหน่วยงาน

3. หลักการและเหตุผล บางครั้งใช้คำว่า ความเป็นมาของโครงการ หรือความสำคัญของโครงการ เป็นที่เริ่มต้นให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้โครงการนั้นได้เข้าใจพื้นฐานความเป็นมาของโครงการดังกล่าว ซึ่งลักษณะการเขียนความสำคัญของปัญหา ประกอบด้วย
    - ข้อความในส่วนนี้จะต้องชี้ให้เห็นปัญหาว่าทำไมต้องจัดทำโครงการ ทั้งในรูปแบบของ โครงการใหม่ หรือโครงการที่ต้องการปรับปรุง
    - จะช่วยในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยข้อมูลจากสภาพของปัญหานโยบาย แผน ผลการศึกษาวิจัย สถิติข้อมูลหรือความคิดเห็นของบุคคลที่น่าเชื่อถือโดยรายละเอียดของหลักการและเหตุผล ต้องชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของโตรงการได้อย่างชัดเจน


4. วัตถุประสงค์  เป็นส่วนที่สำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการ ติดตามประเมินโครงการ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ต้องเฉพาะเจาะจง สามารถตอบคำถามได้ ว่าสิ่งที่ต้องการให้เกิดในการทำโครงการคืออะไร ต้องการผลงานหรือผลผลิตอะไร โดยต้องเป็น ข้อความที่ผู้อ่านทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึง
ลักษณะวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ SMART
      S=Specific (เฉพาะเจาะจง) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความชัดเจนในการดำเนินงานโครงการเฉพาะเจาะจงสำหรับโครงการนั้น
      M=Measurable (วัดได้) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถวัดได้ และประเมินผลได้
      A=attainable (ระบุสิ่งที่ต้องการ) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องระบุสิ่งที่ต้องการ มีการดำเนินการ อย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด
     R=Reasonable(สมเหตุสมผล) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความสมเหตุสมผล แสดงถึงความเป็นไป ได้ในการปฏิบัติงาน
     T=Time(เวลา) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีขอบเขตของเวลาที่แน่นอนในการปฏิบัติงาน โดยต้องระบุเวลาเริ่มต้นและเวลาที่สิ้นสุดที่ชัดเจน


5. เป้าหมาย เป็นรายละเอียดที่บ่งบอกถึงความต้องการในการปฏิบัติงานภายหลังจากสิ้นสุดโครงการ ที่แสดงถึงความสำเร็จของโครงการมีระยะเวลาที่ชัดเจน โดยเป้าหมายของโครงการ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ
    1. เป้าหมายเชิงปริมาณ เป็นรายละเอียดที่กำหนดชนิด ประเภทของจำนวนของผลการ ดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
    2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ เป็นรายละเอียดที่ต้องแสดงถึงคุณค่าของผลผลิตที่ได้รับจากการ ดำเนินโครงการที่ชี้ถึงประสิทธิภาพ

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นส่วนที่บอกถึงผลที่ได้รับจากโครงการนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับคือผลกระทบในทางที่ดี ที่คาดว่าจะเกิดจากโครงการไม่ใช่ผลโดยตรงที่ได้จากวัตถุประสงค์ของโครงการ

7. ขอบเขตของโครงการ เป็นข้อความที่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโครงการนั้นมีความครอบคลุมหรือไม่ ในเรื่องใดบ้าง โดยลักษณะของเขตของโครงการอาจระบุไว้ไน 4 ลักษณะ คือ
    1. ขอบเขตเรื่องระยะเวลา เป็นการกำหนดระยะเวลาเมื่อเริ่มต้นโครงการจนถึงสิ้นสุดโครงการ
    2. ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นการระบุความกว้างขวางตามพื้นที่ที่โครงการนั้น ๆ จะดำเนินการครอบคลุมถึงหรือไม่
    3. ขอบเขตในทางปฏิบัติ เป็นการคาดคะเนที่คิดว่าเมื่อปฏิบัติหรือดำเนินโครงการนั้น ๆ แล้วจะมีปัญหาอุปสรรคที่จะต้องขีดวงเป็นขอบเขตของโครงการมีอะไรบ้าง
    4. ขอบเขตในลักษณะอื่น ๆ เช่น ข้อจำกัดของการดำเนินโครงการ

8. วิธีดำเนินการ เป็นส่วนที่ระบุถึงขั้นตอนที่แสดงถึงรายละเอียด แนวทาง กลยุทธและวิธีการที่จะทำในการดำเนินโครงการนั้น ๆ จะต้องชี้แจงรายละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไรเพียงใด และใครรับผิดชอบและปฏิบัติด้วยวิธีการใดจึงจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งวิธีการดำเนินโครงการจะบอกถึงสิ่งต่อไปนี้
    1. ขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงาน
    2. แผนการดำเนินงานที่แสดงวิธีการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยรูปแบบของแผนการดำเนินงานอาจทำได้ในลักษณะต่อไปนี้ คือ
        o แผนกำหนดรายงานการปฏิบัติงาน ○ แผนควบคุมการทำงาน
        o ตารางการทำงาน ○ และแบบอื่นๆ


9. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เป็นการระบุระยะเวลาการดำเนินโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้น โครงการ จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยทั่วไปจะนำเสนอตั้งแต่ วัน เดือน ปีอะไร และสิ้นสุด วัน เดือน ปีอะไร

ระยะเวลา

ระยะเวลาในการดำเนินการ

หมายเหตุ

กิจกรรม

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค

ม.ค.

ก.พ.

1. การประชุวางแผน

 

 

 

 

 

 

2. จัดทำกรอบข้อมูลในการสำรวจ

 

 

 

 

 

 

    สภาพของปัญหาและความต้องการ

 

 

 

 

 

 

3. จัดทำเครื่องมือ

 

 

 

 

 

 

4. ทดลองใช้และปรับปรุงเครื่องมือ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. ประชุมชี้แจงวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. เก็บรวบรวมข้อมูล

 

 

 

 

 

 

7. วิเคราะห์ข้อมูล

 

 

 

 

 

 

8. ตรวจสอบข้อมูลกับครูและร่วม

 

 

 

 

 

 

   กำหนดความต้องการโดยจัดลำดับ

 

 

 

 

 

 

   ก่อน - หลัง

 

 

 

 

 

 

9. รายงานผล

 

 

 

 

 

 

  

10. งบประมาณและทรัพยากร เป็นการแสดงรายละเอียดของงบประมาณที่ใช้ในโครงการทั้งค่าใช้จ่าย และแหล่งที่มาของงบประมาณ พร้อมทั้งแหล่งทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. การติดตามและประเมินผลโครงการ เป็นส่วนที่ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการทราบว่าในการดำเนินการ สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ระบุไว้ ในวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด ดังนั้น ในการเขียนจำเป็นต้องระบุรายละเอียด ในเรื่องความตรวจสอบความหน้าของโครงการ ประเมินผล
ระหว่างการดำเนินงาน และประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการว่าจะดำเนินการอย่างไร 

หมายเลขบันทึก: 311065เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2009 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท