CSR. กับ Ethics and Corporate Responsibility


ความรับผิดชอบต่อ "ตัวเอง" ก่อน...ต่อมา...ต้องรับผิดชอบต่อ "ครอบครัว" ..รับผิดชอบต่อ "องค์กร" ... รับผิดชอบต่อ "สังคม" ..ถึงจะสามารภพูดได้ว่า "ไม่เสียดาย" ที่ได้เกิดมาเป็น "คน"ในชาติหนึ่ง

P'Ple ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน เรื่องจริยธรรมทางการบริหารจัดการในองค์การ Ethics and Corporate Responsibility

          ความหมายความสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจความเกี่ยวข้องของธุรกิจและจริยธรรมกล่าวถึงการประกอบธุรกิจมีวงจรที่ตอบสนองความต้องการของกันและกันระหว่างเจ้าของกิจการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานลูกจ้าง ลูกค้าผู้บริโภคและสังคมสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันทางธุรกิจ เช่น การผลิตสินค้า การขายสินค้า รายได้ ผลกำไร ค่าตอบแทนให้แก่พนักงานลูกจ้าง และความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป หากวงจรนี้เกิดปัญหาขาดความรับผิดชอบจะทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ราบรื่น หยุดชะงัก เสื่อมเสียชื่อเสียงและทำให้ธุรกิจนั้นล้มเหลว ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรปฏิบัติตามแนวทางของธุรกิจที่ดีมีจริยธรรม

          ธุรกิจไม่เพียงแต่ทำตามกฎหมายเท่านั้น.... ธุรกิจควรจะคำนึงถึงจริยธรรม....ในการประกอบการด้วยจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารธุรกิจ สังคมกำหนดให้ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม หากปราศจากจริยธรรมแล้ว ธุรกิจจะดำเนินไปไม่ได้และทำให้ขาดความเชื่อถือไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป จริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย แต่หากธุรกิจดำเนินกิจการอย่างไร้จริยธรรมก็จะมีการกำหนดตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ในการควบคุมกำกับดูแลและลงโทษตามความผิด 


ขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อ....สังคม (Area of Corporate Social Responsibility: CSR) ประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อไปนี้


          1.  ความรับผิดชอบต่อชุมนุมชน (Community) หมายถึง องค์การควรผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นที่ต้องการของชุมนุมชนเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชน และผลิตสินค้าหรือให้บริการที่.....ไม่ทำให้ชุมนุมชนเสื่อมโทรมหรือมอมเมาประชาชน


          2.  ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิการของประชาชน (Health and Welfare) หมายถึงองค์การไม่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การผลิตสุรา หรือบุหรี่ ควรมีคำเตือนผู้บริโภค เช่น บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ในประเทศไต้หวัน ใช้คำเตือนข้างซองบุหรี่ว่า (Please don’ t smoke too  much) หรือ บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


          3.  ความรับผิดชอบด้านการศึกษา (Education) เช่น ให้ทุนบุตรพนักงาน หมายถึง การให้การศึกษา หรือการให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้สินค้า หรือใช้บริการนั้น


          4.  ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง ความรับผิดชอบบุคคลที่ต้องการแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนต่อสินค้าหรือบริการให้สามารถทำได้


          5.  ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ความรับผิดชอบในการมาทำให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ปล่อยมลพิษจากโรงงาน ไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือไม่ปล่อยสารเคมีเป็นพาออกมาจากกระบวนการผลิต


          6.  ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง รับผิดชอบต่อการอุปโภคบริโภคของลูกค้า การรับคืนสินค้าที่ด้อยคุณภาพ การรับประกันคุณภาพตามที่กล่าวอ้าง


          7.  ความรับผิดชอบต่อวัฒนธรรม (Culture) หมายถึง การผลิตสินค้าที่คำนึง ถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้น หรือคำนึงถึงข้อกำหนดทางศาสนา


องค์การบางแห่งได้ให้การสนับสนุนต่อจริยธรรมของธุรกิจในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดังนี้


          1.  ธุรกิจไม่ควรหลีกเลี่ยงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม Business is unavoidably involved in social issues เพราะองค์การต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม หากองค์การปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่สนใจปัญหาสังคม เช่น การเลิกจ้าง อัตราเงินเฟ้อ หรือมลภาวะ ฯลฯ


          2.  ธุรกิจควรรักษาทรัพยากรทางการบริหารไว้ในสภาพความสลับซับซ้อนของปัญหาทางสังคม ที่เกิดขึ้น เช่น ทางด้านการเงิน ด้านทรัพยากรทางการบริหารต่าง ๆ องค์กรมีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาสังคม 


          3.  การมีสังคมที่ดีช่วยให้สภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจดีไปด้วย จะทำให้องค์การได้รับผลกำไรในระยะยาวจากการลงทุนเพราะได้มีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อสังคมในวันนี้ ทำให้ได้รับผลสะท้อนกลับในอนาคตข้างหน้า


          4.  การมีส่วนร่วมในสังคมเป็นเครื่องช่วยป้องกันข้อจำกัดต่าง ๆ จากทางหน่วยงานของรัฐทำให้องค์การไม่ถูกกดดันหรือบังคับจากหน่วยงานของรัฐเพราะองค์การสมัครรักษาจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ   เรื่อง Ethics and Corporate Responsibility ก็เป็นส่วนหนึ่งในทุนที่ท่าน อาจารย์ ศ. ดร. จีระ ได้สอนพวกเราชาวSSRU ท่านสอนให้เราพึงตระหนักอยู่เสมอ ๆนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 310421เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนคุณสมศรี นวรัตน์

ชอบครับ เป็นการกระเทาะต่อมจิตสำนึก จิตสาธารณะ

เราจะทำให้ดีที่สุด เพื่อองค์กร

ดีใจด้วยกับความสุขในการทำงงานครับ

เรียนคุณพรชัย ที่เคารพยิ่ง 

     - ท่านคือ Reward สำหรับพี่เปิ้นนะคะ 

     - ท่านคือ Creator สำหรับ “องค์กรของท่านคะ”

     - ท่านคือ Leadership สำหรับคะ

     - ขอบคุณ สำหรับFeedbackดี ๆๆให้พี่คะ

     - ทำดี "เริ่มต้นที่ใจเรา" นะคะ

     - ทำดี "ไม่หวังผลตอบแทน" นะคะ

     - แต่ "ผลดีจะมาโดยเราไม่คาดคิด" พี่เชื่ออย่านั้นนะคะ

 

 

-CSR....ใครๆๆก็รู้....แต่การปฎิบัติ....เป็นไปตาม....หลักปฎิบัติ...หรือไม่....เป็นโจทย์?

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท