ยายทองยอดนักสู้


ในชีวิตมีบทเรียนเสมอ

                          ยายทองยอดนักสู้

    ยายทอง  หญิงชรา ผมสีดำเข้ม   อายุกว่า 83 ปี ที่มีแววตาที่สดใสร่าเริงอยู่เสมอ กำลังมองมา ทางผมด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม     ยายทองเป็นผู้ป่วยอัมพาตที่มีอายุมากแล้ว      เมื่อสามปีที่แล้ว  ยายทอง เกิดการอัมพาตครั้งแรกเนื่องจากความดันโลหิตสูง    แต่ลืมกินยาช่วงปีใหม่ ในปี 51 ทำให้ยายทองเกิดอาการแขนขาอ่อนแรง มึนชาแล้วเดินไม่ได้       แต่อย่างไรก็ตามหลังออกจากโรงพยาบาลได้เพียง 2 เดือน  ยายทองก็ได้  หัดเดิน  ด้วยการจับราว  จนกลับมาเดินได้อีกครั้ง     หนึ่ง   แต่อย่างไรก็ตาม  ในช่วงเดือน มิถุนายน 2551 ยายทองมีอาการปัสสาวะบ่อย  ดื่มน้ำตลอดคืน   อสม. บ้านศรีสุขจึงได้ทำการเจาะเลือดพบว่า ระดับน้ำตาลสูงกว่า 450 มก./ดล.   และมีอาการแขนขาอ่อนแรง  กล้ามเนื้อชักกระตุก  ตลอดเวลา  โดยมีแขนและขาขวา  กระตุก ทุก 30 วินาที  จนยายทองไม่ได้หลับไม่ได้นอน  เป็นที่น่าสงสารมาก

   จากการดูประวัติระดับน้ำตาลในเลือดพบว่า มีระดับน้ำตาลสูงกว่า 136 มก./ดล. แต่ไม่ได้มีการติดตามตรวจคัดกรองเบาหวาน   กว่าจะรู้ว่าเป็นเบาหวาน  มาหนนี้ ระดับน้ำตาลเลยสูงกว่า 400 มก./ดล.  ทำให้ยายทองเกิดการอัมพาตซ้ำขึ้นอีกครั้ง  หากมีการตรวจติดตาม ระดับน้ำตาลในเลือด   ตั้งแต่ พบว่า ค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 มก./ดล.  ไม่ต้องรอให้ยายทองเกิดอัมพาตซ้ำเนื่องจาก น้ำตาลสูงกว่า  400 มก./ดล.  นับว่าเป็นบทเรียน  ที่น่าจดจำของโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นผู้สูงอายุ    ไม่ควรปล่อยให้ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดผิดปกติกลับบ้าน   โดยไม่มีการดูแลอย่างใกล้ชิดเด็ดขาด   

สำหรับยายทอง  ที่มีการชักเกร็งกระตุกตลอดเวลา  การได้ ยานอนหลับจำเป็น  ในการบริบาลผู้ป่วย   ใน  สัปดาห์แรกยายทอง  ต้องชักเกร็งกระตุก ทุก 30 วินาที  ทำให้ยายทองไม่ได้หลับ  ไม่ได้นอน   จนถึงกับตัดพ้อบ่นว่าอยากตายเลยทีเดียว  แต่ พอเวลาผ่านไปไม่กี่เดือน  เมื่อยายทองอาการดีขึ้น   อาการชักกระตุกหายไป   ยายทองนอนหลับได้   ขั้นต่อไปก็ถึง  การฟื้นฟูสภาพ   การอัมพาตของยายทองนั่นเอง    ในการเป็นอัมพาตซ้ำของผู้สูงอายุถือว่า     พยากรณ์โรคได้ไม่ดีนัก  สำหรับผมเองในฐานะที่เป็นเภสัชกร   ยายทอง  นั้นได้ยาป้องกันชัก  ยาเบาหวาน   ยาความดันโลหิตสูง  และยาลดไขมันในเลือด        ยามากมาย  เหล่านี้  ป้าห่วนลูกสาวยายทอง  ที่มีขาพิการ 1 ข้างทำหน้าที่ดูแลยายทอง อย่างแข็งขัน  ทั้งพาเข้าห้องน้ำ   หาอาหาร  พากินยา      และพายายทองหัดเดิน   นับเป็นงานที่หนักมาก  ของผู้พิการอย่างป้าห่วนจริงๆ

การหัดเดิน  ของยายทองก้าวหน้าช้ามาก  เพราะผมเองก็เป็นเภสัชกร   ไม่มีความรู้อะไร  ยายทองหัดเดินเป็นปี   แต่ก็  เดินไม่ได้  ยืนไม่ได้เลย   ทำให้ผมต้องค้นคว้าหาความรู้ในการฟื้นฟูสภาพ  ผู้พิการ   จะหัดเดิน  ต้องหัดนั่งก่อน   นั่งแล้วก็หัดยืดเหยียดกล้ามเนื้อ   นี่ คือสิ่งแรกที่เภสัชกร  อย่างผมต้องอ่าน  ต้องรู้เพื่อยายทอง  ผมเองสัญญากันแกว่า  เมื่อ 15 ค่ำเดือน 11 ยายทอง  ต้องหายและกลับมาเดินได้อีกครั้ง  ในช่วงแรกยายทองหัดเดินแบบ  มั่วๆ  ไม่ มีรูปแบบ  หัดเดินเป็นปีก็เดนไม่ได้     ในการหัดยายทองเดิน  เริ่ม จากการให้ยายทองหัดนั่งและยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน  พานั่งได้ดี ก็มียืดแขนยืดขา   และพายายทองหัดยืนให้ได้ก่อน    เป็นขั้นต่อไป

การหัดยืน   เมื่อเริ่มทรงตัวได้แล้ว  ก็ให้ยายทองยืน โยกตัวไปทางซ้าย บ้างขวาบ้าง  เมื่อคล่องแล้ว    จึงหัดก้าวเท้าไปด้านข้าง   ก้าวไปข้างหน้า   และถอยหลัง  ในการทียายทองจะหัดยืนได้ คล่องนั้น   ยายทองมักจะยืนไม่อยู่  จะมีแต่ล้มท่าเดียว  ยายทองจึงได้กางแขน  และทำท่ากระพือปีกขึ้นลง    ได้ผล  ยายทองสามารถยืนได้   มั่นคงแล้ว    ...

หมายเลขบันทึก: 310021เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2009 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ไชโย...ชื่ชมในความมุ่งมั่นของน้องและความเพียรพยายามของคุณยายทองค่ะ

มาชวนไปงานแต่งน้องเดย์ด้วยค่ะ 15 พ.ย.นี้ที่ ร.ร.บ้านเชียงอุดร  เข้าไปดูที่นี่

ว่าอย่างไรตอบด้วยนะคะ

 

มีนักกายภาพบำบัดตามไปเยี่ยมด้วยมั้ยค่ะ

เพราะเขาจะชำนาญมากกว่าเรา

 

ขอชื่นชมในน้ำใจ ของเภสัชกรตัวอย่าง ที่ไม้ได้ดูแต่เรื่องยาอย่างเดียว

เป็นกำลังใจให้ยายทอง ฟื้นฟูสภาพได้เร็ววันค่ะ

มี นักกายภาพไปเยี่ยม

เดือนละ1ครั้งครับ

ไปช่วงกลางวัน

ตอนผมจ่ายยาพอดีครับ

ดูจากในรูปไม่ทราบว่ายายทองมีอาการอัมพาตข้างซ้ายหรือข้างขวาค่ะ

การให้ผู้ป่วยหัดเดินในราว เราต้องประเมินด้วยว่าจะให้ผู้ป่วยเดินในราวระยะแรกแล้วเปลี่ยนเป็นเดินโดยใช้เครื่องช่วยเดินอื่นๆ เช่น walker พรือ 3 point cane หรือไม่ เพราะถ้าเราวางแผนที่จะให้ผู้ป่วยออกจากราว ต้องจัดความสูงของราวให้ขนาดเมื่อวางมือแล้วข้อศอกงอประมาณ 30 องศา(ในรูปรู้สึกราวจะสูงเกินไปค่ะ) ในขณะเดินในราวต้องให้ผู้ป่วยออกแรงลักษณะยันลงน้ำหนักที่มือ(เหยียดศอก) ไม่ให้ใช้วิธีการดึง รั้ง ราวเข้าหาตัว เพราะจะทำให้ผู้ป่วยติดนิสัยในการดึง (ใช้กล้ามเนื้อกลุ่ม flexor) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะถ้าผู้ป่วยเดินด้วยเครื่องช่วยเดินต้องใช้กล้ามเนื้อกลุ่ม extensor

จากการเยี่ยมบ้านพบว่า ญาติมักจะติดตั้งราวสูงเกินไป เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้แขนโหนราว และลากขาข้างอัมพาตไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็งของแขนขามากขึ้น เมื่อผู้ป่วยเคยชินกับการเดินรูปแบบนี้ การแก้ไขจะค่อนข้างยาก ผู้ป่วยกลัวที่จะเดินนอกราว ดังนั้นต้องให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและญาติด้วยค่ะ

อัมพาต ข้างซ้าย ชักกระตุกข้างขวาครับ

ตอนนี้ ให้ยายทองหัด เดิน หน้า ถอยหลัง

และเดินไปทางซ้าย และขวาอยู่ครับ

ขอชื่นชมการทำงานค่ะ

ยายทองโชคดีเหลือเกิน

ที่มีทีมงานตั้งใจช่วยเหลือ

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ถ้าเป็นไปได้ อยากช่วยดู case นี้ด้วยค่ะ

อยากให้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่เห็นทั้งตัว (อาจจะแค่จากมือถือ เวลาสั้นๆ) ขณะพาเดินในราวทั้งเดินหน้า ถอยหลัง และเดินไปทางซ้าย และขวา เพื่อ analysis gait ดูว่าขาดอะไร และต้องออกกำลังท่าไหนเพิ่มเติม รวมทั้งคุณศุภรักษ์ วางแผนให้ใช้ walker หรือ 3 point cane ค่ะ?

ประเด็นเพิ่มเติม

- ความปลอดภัยในห้องน้ำ มีราวจับในห้องน้ำหรือไม่? เสี่ยงต่อการลื่นหกล้มในห้องน้ำหรือไม่?

- การใช้แขนข้างขวาทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม กินข้าว ทำได้หรือไม่?

- ดูเหมือนหัวไหล่ข้างซ้ายจะมีปัญหา ตรวจดูว่าสามารถเคลื่อนไหวได้สุดช่วงการเคลื่อนไหวหรือไม่? แนะนำการจัดแขนซ้ายเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง เพื่อป้องกัน shoulder subluxation

- ยายทองได้ออกนอกบ้านไปไหนบ้างหรือไม่? มีกิจกรรมทางสังคมอะไรบ้าง

เท่าที่นึกได้เท่านี้ก่อนค่ะ

ขอบคุณ คุณ PT [IP: 117.47.3.251] เมื่อ อา. 01 พ.ย. 2552 @ 15:53 #1647850 [ ลบ ] พรุ่งนี้จะมารายงานให้ทราบครับ

  • มาเรียนรู้จากยายทองนะคะ
  • ขอบคุณที่แวะไปแลกเปลี่ยนกันค่ะ

วางแผนใช้ walker เดือน ธค.52

ห้องน้ำ มีราวครับ ก็ดูดี ตามสภาพบ้านนอกครับ

ยายทองกินข้าว อาบน้ำ หวีผมได้เองครับ

พิสัยการเคลื่อนไหวของแขน เดิม 180 องศา ปัจจุบัน ประมาณ 340 องศา

ยายทอง เดินไป เดินมา อยู่ในบ้าน ครับ ไม่ได้ไปไหน เพราะกลัวหกล้ม

Book

ISBN : 9786115290000  โดย : วิยะดา ศักดิ์ศรี / สุรัตน์ ธนานุภาพไพสาล

แนะนำให้หาซื้อหนังสือเล่มนี้ค่ะ

"ปัจจุบัน ประมาณ 340 องศา" งง ค่ะ พิมพ์ผิดรึเปล่า  เพราะเต็มช่วงการเคลื่อนไหวได้แค่ 180 องศา

"เดินไป เดินมา อยู่ในบ้าน" หมายถึงเดินในราวที่อยู่บนบ้าน หรือเดินบนบ้านโดยมีญาติพาเดิน  หรือ เดินได้ด้วยตนเองโดยใช้เครื่องช่วยเดิน/เกาะโต๊ะเตียง เลาะไปบนบ้าน

สงสัยว่าทำไมต้อง plan ใช้ walker เดือนหน้า แสดงว่ามือซ้ายสามารถกำ/จับสิ่งของได้ ความจริงก็สามารถเบิก walker(ฟรีอยู่แล้ว) ให้ญาติพายายทองเดินได้ ดูจากรูปคิดว่าน่าจะเป็นบ้านชั้นเดียว ก็จะได้พาเดินมานั่งเล่นหน้าบ้านได้ ต่อไปก็จะได้เดินไปข้างบ้านได้

ให้ญาติหารองเท้ารัดส้นให้กับยายทองเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า เมื่อต้องเดินออกนอกบ้าน เพราะยายทองอาจจะมีปัญหาการรับความรู้สึกของเท้า มีหลายยี่ห้อเช่น

     

เพราะเคยมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์เดินไม่ใส่รองเท้า เศษหินมันเข้าไปในเท้า ผู้ป่วยยังไม่รู้เลย จนกระทั่งเป็นแผลลึก ต้องมารักษาแผลกันอีก

อยากเอารูปออกกำลังกาย(รูป scan/ รูปถ่าย) ลงให้แต่ไม่รู้วิธี ช่วยบอกวิธีด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท