9. แผนการจัดการเรียนรู้...ภาษาไทย ม.3


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑  “การเขียนเรียงความ”
ชื่อหน่วยการเรียนรู้  “รามเกียรติ์ ตอน ช้างเอราวัณ สร้างสรรค์โวหาร อลังการภาพพจน์”
รายวิชาภาษาไทย ท ๓๓๑๐๑  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓
เวลาเรียน ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสุจิตรา  ไชโยแสง  ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
************************************
มาตรฐานการเรียนรู้
     มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ  แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต    และมีนิสัยรักการอ่าน
     มาตรฐาน ท ๕.๑  เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า  และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๑.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
      รู้และเข้าใจวรรณคดีบทพากย์โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนช้างเอราวัณ อย่างลึกซึ้ง ทั้งลักษณะคำประพันธ์ ถ้อยคำภาษา สำนวนโวหาร พิจารณาคุณค่าทางวรรณศิลป์และคุณค่าทางสังคม วิเคราะห์ตัวละคร บรรยากาศ แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล ตระหนักถึงคุณค่าวรรณคดีไทยอันเป็นวรรณคดีมรดกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
๒.  สาระสำคัญ 
      บทพากย์รามเกียรติ์ ประวัติผู้แต่ง ความสำคัญของเรื่องรามเกียรติ์ รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ เรื่องย่อก่อนตอนที่เรียน ฟังบทพากย์โขน ฝึกอ่านบทพากย์โขน อ่านทำนองเสนาะกาพย์ฉบัง ๑๖ แปลความ ตีความ สรุปความ ถอดคำประพันธ์ เล่าเรื่อง ขยายความพิจารณาฉาก ตัวละคร คุณค่าทางวรรณศิลป์เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ ประเมินค่าอภิปราย แสดงความคิดเห็น ข้อคิดที่ได้รับการนำเสนอจินตนาการจากการอ่าน งานสร้างสรรค์จากการอ่าน ฝึกเขียนคำที่ใช้ ศ ษ ส ใช้หลักการสังเกตคำบาลี คำสันสกฤต ฝึกเขียนคำจากบทพากย์รามเกียรติ์ แต่งประโยค แต่งข้อความ แต่งเรื่องการเขียนคำออกเสียงอำ หลักการเขียนคำออกเสียงอำ ฝึกเขียนคำที่มาจากบทพากย์รามเกียรติ์ แต่งประโยค แต่งข้อความ แต่งเรื่อง
๓.  จุดประสงค์การเรียนรู้
     ๓.๑ จุดประสงค์ปลายทาง
           สามารถพิจารณาคุณค่าทางวรรณศิลป์และคุณค่าทางสังคม วิเคราะห์ตัวละครได้อย่างมีเหตุผล และอ่านพากย์โขนได้อย่างไพเราะ
     ๓.๒ จุดประสงค์นำทาง
        ๑)  บอกประวัติผู้แต่งได้ถูกต้อง (K)
        ๒) อธิบายที่มาของเรื่องได้(K)
        ๓)  เล่าเรื่องย่อได้ถูกต้อง(K)
        ๔)  วิเคราะห์นิสัยตัวละครได้อย่างมีเหตุผล(K)
        ๕)  อ่านและเขียนคำศัพท์  คำยากที่ปรากฏในเนื้อเรื่องได้ถูกต้อง(P)            
        ๖ ) อธิบายคำศัพท์ สำนวนโวหารที่มีในเรื่องได้(K)
        ๗)  อ่านบทพากย์โขนได้ถูกต้องอย่างมีมารยาท(P)
        ๘)  บอกแนวคิดของเรื่องได้อย่างมีวิจารณญาณ(A)
๔.  เนื้อหาสาระ
      ๔.๑  ประวัติผู้แต่งและที่มาของเรื่อง
      ๔.๒  เรื่องย่อบทพากย์โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนช้างเอราวัณ
      ๔.๓  ศัพท์ สำนวนโวหาร
      ๔.๔  ตัวละครในเรื่อง
      ๔.๕  ฉันทลักษณ์กาพย์ฉบัง
      ๔.๖  แนวคิดและคุณค่าทางสังคม
      ๔.๗  การพากย์โขน
๕.  กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : CIPPA Model
 ....
      อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ รามเกียรติ์
หมายเลขบันทึก: 309715เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2009 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • พี่ใหญ่นำร่อง ชำนาญการพิเศษ
  • ต้องเยี่ยมอย่างนี้ น้อง ๆ จะได้ดำเนินรอยตาม
  • ใครส่งผลงานต้องผ่านฉลุย เพราะมี ICT เข้ามาบูรณาการ

เปิดเข้ามาแบบฟลุคๆ เห็นรูปต้อมตกใจ เฮ้ย..อ้ายต้อมนี่หว่า ดีใจที่เจอ เก่งจ้า....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท