กระจกเงาสะท้อน...ก่อนเริ่มเรียน


        เมื่อผลการเรียนไปถึงบ้านนักเรียน  คนที่ได้ต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ก็จะมีความคับข้องใจ   ทำไมจึง.....    ผู้ปกครองบางคนก็จะฝากมาให้ช่วยดูแล   บ้างก็ถามว่าสอนพิเศษมั้ย  จะให้ลูกมาสอนพิเศษ   ส่วนใหญ่ก็สมหวัง  แต่ไม่ว่าสมหวังหรือไม่สมหวัง เขาและเธอก็ควรจะได้รู้ที่มาที่ไปของคะแนน ของผลการเรียนที่ได้รับ

 

        ครูภาทิพก็นำผลการเรียนเทอมที่ผ่านมามาแจ้ง

                       คะแนนแรก ๗๐  คือคะแนนระหว่างเรียน ซึ่งมาจากความขยัน ความมุ่งและความตั้งใจ

                       คะแนนที่ ๒ คือคะแนนจากการสอบปลายภาค ๓๐ คะแนนมาจากการทำข้อสอบปรนัย ๖๐ ข้อ

 

                      ความสอดคล้องที่เหมาะสมคือ ถ้านักเรียนมีคะแนนเก็บ๖๐ ขึ้นไป คะแนนสอบปลายภาคควรจะอยู่ ๒๓ ขึ้นไป   เขียนแสดงคะแนนที่ควรจะเป็นบนกระดาน

 

                     ซึ่งคะแนนเก็บของพวกเขาและเธอส่วนใหญ่เกาะกลุ่มอยู่ระหว่าง ๕๖-๖๐

 

          ครูภาทิพก็เริ่มไล่ตั้งแต่เลขที่ ๑ เป็นต้นไปชี้ให้เห็นแต่ละคนสอดคล้องไม่สอดคล้อง   ของใครระหว่างเรียน  เก็บไว้น้อย  สอบได้น้อย  เกรดจึงน้อย 

                                      เก็บไว้น้อย   สอบได้มาก  น่าเสียดายจังนี่ถ้าเธอขยัน นะต้อง....

                                      เก็บไว้มาก   สอบได้มาก   คะแนนจึงมาก ปรบมือหน่อย

                                      เก็บไว้มาก    สอบได้น้อย   น่าเสียดายจัง

                                     เก็บไว้น้อย     สอบปลายภาคตก   ระวังนะอันตราย เสี่ยงนะคะ

 

         ขณะที่ครูแจ้งคะแนน ครูก็พยายามเน้นน้ำเสียงให้นักเรียนเกิดความตระหนัก เห็นข้อผิดพลาดของตนเอง  หรือเห็นความสำคัญของการเรียนในแต่ละขั้นตอน  ที่สำคัญคือ ให้นักเรียนเห็นถึงความจริงใจของครูที่จะพัฒนาพวกเขา  ซึ่งตลอดเวลาที่แจ้งคะแนนให้ทราบ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องหรือจุดเด่น  นักเรียนจะส่งเสียงฮือฮา หัวเราะขำกลิ้งกันตลอดเวลา 

 

         บทสรุป สุดท้ายก็บอกให้นักเรียนทราบที่ครูนำคะแนนมาแจ้งให้นักเรียนทราบก็เพื่อเป็นกระจกเงาสะท้อนว่า  เพราะฉันเรียนอย่างนั้น ขนาดนั้น  ประมาณนั้น  ฉันจึงเป็นอย่างนี้   ฉะนั้นภาคเรียนนี้นักเรียนควรจะเรียน ทำกิจกรรม อ่านหนังสือ ประมาณไหน

 

ความดีงามใดๆ ของบันทึกนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของคุณพ่อคุณแม่และครูบาอาจารย์

             HOME   สมุดเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 309222เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

การพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล ถือเป็นความท้าทายของคุณครู ครับ

หากทำได้ จริง เด็กๆ และ คุณครู จะมีความสุขทั้งคู่เลย ครับ

หวัดดีค่ะ มาชวนไปฟังเพลง แคนลำโขงเจ้าค่ะ คิคิ http://gotoknow.org/blog/manywad/309301

สวัสดีค่ะ 

P
ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์  และ
P
ขอบคุณที่แวะมาช่วยเสริมเติมต่อค่ะ  
    การพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลค่อนข้างยากตรงที่ห้องเรียนของครูภาทิพเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่  ๕๐  คน  ครู ๑ คนสอนเด็ก ๕๐๐ คน ต่อ๑ ภาคเรียน  บางคนก็สอนถึง ๑,๐๐๐ คนต่อ ๑ ภาคเรียน  

อยากได้วิธีการสอนนักเรียนอ่านหนังสือไม่ได้

"การพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล ถือเป็นความท้าทายของคุณครู

หากทำได้ จริง เด็กๆ และ คุณครู จะมีความสุขทั้งคู่"

.....เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นจริงด้วยอีกคน

แต่ทว่า กิจกรรมที่โรงเรียนค่อนข้างมาก โรงเรียนก็เล็ก เวลางานไหนทำก็ช่วยกันหมด (กิจกรรมสั่งมาจากเขตพื้นที่การศึกษา)

ก็เลยไม่ปะติดปะต่อ ก็เลยทำได้ไม่เต็มที่สักที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท