จากระบบการจัดหาสู่การสืบค้นของห้องสมุด


พบบทความแปลที่ตัวเองแปลไว้เมื่อปี 2545-2546 หาต้นตอไม่ได้ว่ามาจากไหน....ขอเก็บเอาไว้เผื่อเป้นประโยชน์ก็แล้วกัน

ความนำ  ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงดังที่มีการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ ผู้เขียนแสดงความเห็นในสองสถานะคือ  สถานะผู้ศึกษาที่สนใจพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และเป็นบรรณรักษ์งานวารสารที่ปฏิบัติงานอยู่ห้องสมุดขนดใหญ่ มีจำนวนทรัพยากรประมาณ 25,000 รายการ ซึ่งการอภิปรายในการสัมมนาครั้งนี้ผู้เขียนจะนำประสบการณ์ ทฤษฎี ข้อคำถาม มาพูดคุยกัน

การแสดงระบบ  วัฒนธรรมของห้องสมุด คือ การจำแนก จัดหา ดูแลรักษา บริหารจัดการ สารสนเทศ ตลอดจนการจัดหาช่องทางสำหรับการเข้าถึงสารสนเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ห้องสมุดต้องมีความชำนาญ ห้องสมุดในอเมริกามักจัดให้บริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงสารสนเทศที่ง่ายและสะดวกโดยใช้เทคโนโลยี

            สำหรับมหาวิทยาลัยที่เป็นหน่วยงานใหญ่ ห้องสมุดจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการจัดลำดับของการศึกษาและวิจัย ขณะนี้ห้องสมุดมักประสบกับความหลากหลายของรูปแบบสารสนเทศ หลายห้องสมุดใช้การจัดลำดับจากแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามหนังสือและวารสารยังเป็นรูปแบบของสิ่งพิมพ์ รวมถึง miroprint  ที่ต้องให้ความสำคัญในการจัดลำดับด้วย

-วงจรสารสนเทศวารสารของห้องสถาบันอุดมศึกษา จากประสบการณ์ตำแหน่งงานในฐานะบรรณารักษ์งานสาร พบว่าวงจรสารสนเทศ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่  1) ผู้ใช้บริการ  2) สำนักพิมพ์  3) การให้บริการวารสาร 4)ห้องสมุด เช่น

-          Professor Jones ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาเด็ก ต้องการข้อมูลการอ้างถึงในวารสารเพื่อใช้ประกอบในการสอนและการทำวิจัย  ซึ่งไม่มีวารสารนั้นในห้องสมุด ต้องการให้ห้องสมุดบอกรับวารสาร

-          บุคลากรห้องสมุดจะตรวจสอบราคาวารสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และหมวดงบประมาณเพื่อบอกรับ หากเป็นวารสารที่จัดเป็นประเภทวารสารหลัก จะเลือกร้านค้าเพื่อติดต่อซื้อ อาจติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่วยวารสาร  วางบิลส่งของและรับตัวเล่มวารสารในลำดับต่อไป

-          Professor Jones ได้ใช้บทความในวารสารที่ห้องสมุดบอกรับในการสอนและการวิจัย  วารสารการอ้างอิงช่วยให้ Professor Jones เข้าถึงทรัพยากรห้องสมุดประเภทอื่นด้วย โดยติดตามตัวเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด  กรณีที่ตัวเล่มไม่หาย และไม่มีผู้ใช้อื่นยืม สามารถที่จะค้นคว้าบทความที่อยู่ในวารสารนั้น ซึ่งจำนวนการใช้บทความจะสัมพันธ์กับการถ่ายเอกสาร จากข้อมูลที่ค้นคว้าทำให้ Professor Jones เป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถเปิดศูนย์ข้อมูลเฉพาะวิชาได้ นอกจากนั้น Professor Jones ได้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร และได้ขอบคุณห้องสมุดที่ได้บอกรับวารสาร ซึ่งเมื่อบทความได้ตีพิมพ์ก็เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อดี  ซึ่งผู้เขียนคิดว่าข้อดีข้างต้น คือ

  1. ผู้ที่ต้องการข้อมูลตรงกัน สามารถใช้ข้อมูลจากวารสารร่วมกันได้
  2. สามารถสร้างองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาได้จากการค้นคว้าและวิจัย
  3. การบอกรับวารสารสนับสนุนอุตสาหกรรมจัดหาสิ่งพิมพ์ โดยบรรณารักษ์จะเลือกซื้อจากผู้ที่สามารถบริหารจัดการได้ดี และให้บริการดี
  4. บทคัดย่อและดัชนีช่วยทำให้เข้าถึงตัวบทความได้ง่ายขึ้น จากการพัฒนาระบบ MARC ในการถ่ายโอนข้อมูลบรรณานุกรม

Battin  กล่าวว่ามันคงเป็นสิ่งที่ถูก เพราะในอเมริกานั้นเน้นความสำคัญของการทำวิจัย ซึ่งขึ้นอยู่กับการเข้าถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญของห้องสมุดสร้างขึ้น นอกจากนั้นยังหมายถึงความสำคัญต่อนักศึกษา สำนักพิมพ์  และ intermediaries (ทั้ง 2)

 

ข้อเสีย  แม้ว่าจะทราบวงจรของสารสนเทศจะมีข้อดีดังกล่าว แต่เหมือนการโยนเหรียญที่มีทั้งสองด้าน ด้านมืดหรือข้อเสียนั้นคือ การระเบิดของสารสนเทศทำให้องค์ความรู้มีจำนวนมากเกินกว่าจะตีพิมพ์ในรูปของวารสาร เป็นขณะที่ค่าของเงินลอยตัวเกิดวิกฤติทางภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ห้องสมุดไม่สามารถที่จะจัดหาวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ได้ตามความต้องการ สำนักพิมพ์ต้องชะลอตัว หลายบทความค้างการตีพิมพ์

            ในระบบวารสารไม่เหมือนหนังสือที่จบกระบวนการลงเมื่อมีผู้ซื้อซื้อหนังสือ แต่การบอกรับวารสารต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอย่างน้อย 3 หน่วยงาน (ห้องสมุด สำนักพิมพ์ ตัวแทนจำหน่าย)

จึงรวมถึงการทำรายงานและระบบการเงินด้วย ขั้นตอนของห้องสมุดจะเสร็จสิ้นเมื่อมีการส่งวารสารมาแต่ละฉบับ มีการรวบรวม และจัดเก็บในรูปแบบที่ถาวร (เย็บเล่ม?) อาจเกิดผลในแง่ลบ

เมื่อมีผู้ใช้ต้องการใช้วารสารนั้นขณะที่มีผู้อื่นใช้อยู่

 

สิ่งที่เลวร้าย   มีด้านที่ไม่ดีนอกเหนือจากข้างต้นอีก 3 ประการ คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากการบริการบรรณานุกรม ดัชนีและสาระสังเขปที่บรรณารักษ์จะจัดทำขึ้นจากชื่อวารสาร ที่เกิดผลกระทบการควบคุมทางบรรณานุกรม ที่สืบค้นบทความจากวารสารหนึ่งชื่อเรื่อง  ในขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสืบค้นสารสนเทศได้ 3 ระดับ ซึ่งนักวิจัยสามารถที่จะค้นรายการที่ต้องการได้  ดังนั้นต้องคำนึงถึงจำนวนสารสนเทศที่มากมายตามความเป็นจริง

            2) ปัญหาที่เกิดจากองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจของห้องสมุด  ซึ่งห้องสมุดมีหน้าที่ในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ที่ทันสมัยให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการใช้ของผู้ใช้  จากการสังเกตของ Lois Upham ที่พบว่างบประมาณที่ใช้ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษายินดีจ่ายก่อนที่จะได้ใช้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จะต้องประกันว่าจะสามารถใช้งบประมาณที่ได้รับมาอย่างฉลาด สามารถจัดหาวารสารได้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา

            3) วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อวงจรสารสนเทศโดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยจ้าง Jones ให้ผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งเธอได้ค้นคว้าข้อมูลจากวารสาร ซึ่งตัวแทนจำหน่ายสามารถคิดค่าบริการในการขายวารสารนั้นให้กับห้องสมุด

อนาคต

อนาคตอันใกล้ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่ใช่ทั้งหมด  ห้องสมุดยังเป็นแหล่งที่เก็บรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านมา และกำลังจะก้าวสู่รูปแบบทรัพยากรในปัจจุบัน (กำลังจะเป็นดิจิตอล) ยังคงต้องเป็นผู้รวบรวม บริหาร บริการ ทรัพยากรสารสนเทศให้กับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะจัดสรรอาคารเหมาะสมสำหรับการใช้งาน จำนวนบุคลากร และบริการ ซึ่งห้องสมุดอาจต้องหวนกลับมาคิดด้านการลงทุนบ้าง

            อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นความต้องการใช้เทคโนโลยีที่จะทำให้เกิดความสะดวกสบายในการสืบค้นสารสนเทศโดยตรง เช่น

            Richard Rowe ให้ความเห็นว่าไม่ใช่จะต้องการให้ทรัพยากรสารสนเทศทุกชนิดเป็นดิจิตอลทั้งหมด อาจจำเป็นสำหรับสารสนเทศบางประเภทที่มีระยะเวลาการใช้งานรวดเร็ว มีราคาแพง หรือคุณค่าทางวิทยาศาสตร์อาจอยู่ในรูปของออนไลน์ สารสนเทศที่มีความต้องการใช้พอประมาณอาจจัดเก็บในรูปแบบของ Optical disc แต่อาจไม่จำเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีอายุการใช้งานยาวนาน

            นอกจากนั้นวงรอบของผู้ใช้ –สำนักพิมพ์-ห้องสมุด-ผู้ใช้ นั้นยังเป็นประสบการณ์ที่ประสบในปัจจุบัน ที่เกิดจากจำนวนงบประมาณที่น้อยในการดำเนินงานด้านวารสาร และความหลากหลายของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดความต้องการด้านจัดส่งเอกสารขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายรูปแบบและนับเป้นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นภายในห้องสมุด

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป

          คือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ที่ประกอบด้วยฐานข้อมูลขององค์กรที่จัดทำเกี่ยวกับบทความวารสารและหนังสือ ทรัพยากรสารสนเทศอาจไม่ได้ถูกจัดหาจากงานพัฒนาทรัพยากร เช่น Jones อาจส่งบทความไปยัง Main Frame ของห้องสมุด บรรณารักษ์และนักคอมพิวเตอร์จะร่วมกันการจัดเก็บทรัพยากรดังกล่าวในฐานข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการสืบค้นให้กับผู้ใช้

            หากมหาวิทยาลัยสามารถสร้างสรรค์การทำสิ่งพิมพ์ออนไลน์ด้วยตนเอง  จะทำให้ก้าวสู่เชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น

 

สรุป....จากการจัดหาสู่การสืบค้น

1) กายภาพของวารสารและพื้นที่ในการจัดเก็บเป็นข้อจำกัดที่ห้องสมุดและมหาวิทยาลัยต้องคำนึงถึงเป็นลำดับต้นๆ

            2) ห้องสมุดไม่สามารถที่จะกำหนดกรอบในการจัดซื้อสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการใช้ Fulltext ของผู้ใช้

            3) มหาวิทยาลัยไม่สามารถที่จะซื้อข้อมูลย้อนหลังได้หลายปีหรือเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เพราะได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยจำนวนน้อย

            แต่เทคโนโลยีนั้นไม่ได้เป็นอุปสรรคในการก้าวเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพราะบรรณารักษ์สามารถที่จะจินตนาการและสร้างห้องสมุดได้ หากมีเวลาและทรัพยากรเพียงพอ ซึ่งสิ่งนี้เป็นข้อจำกัดที่แท้จริง

            Patricia Battin มีข้อแนะนำสำหรับนโยบายโดยแยกออกเป็น 2 ส่วนสำหรับบรรณารักษ์ และห้องสมุด หากมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะดำเนินการเรื่องห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะต้องเริ่มต้นในการทำให้บรรณารักษ์เกิดความตื่นตัวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แม้ว่าจะฟังดูเป็นเรื่องที่คุกคาม แต่คงต้องกำหนดเป็นแผนงานเพื่อกระบวนการปฏิบัติ และ Battin มีความเชื่อว่า องค์กร หน่วยงานต่างๆ มีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกัน และเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่จะสามารถสร้างสรรค์และสนับสนุนสารสนเทศเหล่านั้นให้กับองค์กร ซึ่งเหล่านี้เป็นกิจการของห้องสมุดและเป็นความจำเป็นที่บรรณารักษ์ต้องตื่นตัว ณ บัดนี้ ในแผนงานนั้นยังรวมถึงสำนักพิมพ์และตัวแทนจำหน่ายหนังสือด้วย

            นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่าปัญหาเรื่องงบประมาณนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่วิกฤตของห้องสมุดคือ การ re-allocation  จากการวิเคราะห์พบว่าด้านงบประมาณสามารถที่จะกำหนดแนวนโยบายได้ และในทางสังคมศาสตร์สามารถที่จะหาลู่ทางในการเพิ่มมูลค่าของของงบประมาณได้เช่นกัน มหาวิทยาลัยต้องให้ความสนใจต่อบรรณารักษ์งานพัฒนาทรัพยากรเกี่ยวกับการใช้งบประมาณแผ่นดิน: ที่จะเปลี่ยนเงินเป็นทรัพยากรที่มีอายุการใช้งานยาวนาน คงทน ซึ่งการคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันใหม่ โดยเฉพาะในการนำเอาระบบ finance electronic มาใช้ในระบบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ แม้ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่นั่นจะเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต

            ท้ายสุดในอนาคตห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะเป็นมีขนาดเล็กเพียงแห่งเดียวแต่จะมีความสามารถในการทำงานครบทุกอย่าง การจัดหาทรัพยากรจะคำนึงถึงการจัดเก็บรักษา สถานที่ การเข้าถึง และการจัดเตรียมสำหรับการใช้งาน ซึ่ง Battin คิดว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ เช่นเดียวประวัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในอดีต

 

-วงจรสารสนเทศวารสารของห้องสถาบันอุดมศึกษา จากประสบการณ์ตำแหน่งงานในฐานะบรรณารักษ์งานสาร พบว่าวงจรสารสนเทศ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่  1) ผู้ใช้บริการ  2) สำนักพิมพ์  3) การให้บริการวารสาร 4)ห้องสมุด เช่น

-          Professor Jones ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาเด็ก ต้องการข้อมูลการอ้างถึงในวารสารเพื่อใช้ประกอบในการสอนและการทำวิจัย  ซึ่งไม่มีวารสารนั้นในห้องสมุด ต้องการให้ห้องสมุดบอกรับวารสาร

-          บุคลากรห้องสมุดจะตรวจสอบราคาวารสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และหมวดงบประมาณเพื่อบอกรับ หากเป็นวารสารที่จัดเป็นประเภทวารสารหลัก จะเลือกร้านค้าเพื่อติดต่อซื้อ อาจติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่วยวารสาร  วางบิลส่งของและรับตัวเล่มวารสารในลำดับต่อไป

-          Professor Jones ได้ใช้บทความในวารสารที่ห้องสมุดบอกรับในการสอนและการวิจัย  วารสารการอ้างอิงช่วยให้ Professor Jones เข้าถึงทรัพยากรห้องสมุดประเภทอื่นด้วย โดยติดตามตัวเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด  กรณีที่ตัวเล่มไม่หาย และไม่มีผู้ใช้อื่นยืม สามารถที่จะค้นคว้าบทความที่อยู่ในวารสารนั้น ซึ่งจำนวนการใช้บทความจะสัมพันธ์กับการถ่ายเอกสาร จากข้อมูลที่ค้นคว้าทำให้ Professor Jones เป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถเปิดศูนย์ข้อมูลเฉพาะวิชาได้ นอกจากนั้น Professor Jones ได้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร และได้ขอบคุณห้องสมุดที่ได้บอกรับวารสาร ซึ่งเมื่อบทความได้ตีพิมพ์ก็เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นด้วย

ข้อดี  ซึ่งผู้เขียนคิดว่าข้อดีข้างต้น คือ

  1. ผู้ที่ต้องการข้อมูลตรงกัน สามารถใช้ข้อมูลจากวารสารร่วมกันได้
  2. สามารถสร้างองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาได้จากการค้นคว้าและวิจัย
  3. การบอกรับวารสารสนับสนุนอุตสาหกรรมจัดหาสิ่งพิมพ์ โดยบรรณารักษ์จะเลือกซื้อจากผู้ที่สามารถบริหารจัดการได้ดี และให้บริการดี
  4. บทคัดย่อและดัชนีช่วยทำให้เข้าถึงตัวบทความได้ง่ายขึ้น จากการพัฒนาระบบ MARC ในการถ่ายโอนข้อมูลบรรณานุกรม

Battin  กล่าวว่ามันคงเป็นสิ่งที่ถูก เพราะในอเมริกานั้นเน้นความสำคัญของการทำวิจัย ซึ่งขึ้นอยู่กับการเข้าถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญของห้องสมุดสร้างขึ้น นอกจากนั้นยังหมายถึงความสำคัญต่อนักศึกษา สำนักพิมพ์  และ intermediaries (ทั้ง 2)

 

ข้อเสีย  แม้ว่าจะทราบวงจรของสารสนเทศจะมีข้อดีดังกล่าว แต่เหมือนการโยนเหรียญที่มีทั้งสองด้าน ด้านมืดหรือข้อเสียนั้นคือ การระเบิดของสารสนเทศทำให้องค์ความรู้มีจำนวนมากเกินกว่าจะตีพิมพ์ในรูปของวารสาร เป็นขณะที่ค่าของเงินลอยตัวเกิดวิกฤติทางภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ห้องสมุดไม่สามารถที่จะจัดหาวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ได้ตามความต้องการ สำนักพิมพ์ต้องชะลอตัว หลายบทความค้างการตีพิมพ์

                ในระบบวารสารไม่เหมือนหนังสือที่จบกระบวนการลงเมื่อมีผู้ซื้อซื้อหนังสือ แต่การบอกรับวารสารต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอย่างน้อย 3 หน่วยงาน (ห้องสมุด สำนักพิมพ์ ตัวแทนจำหน่าย)

จึงรวมถึงการทำรายงานและระบบการเงินด้วย ขั้นตอนของห้องสมุดจะเสร็จสิ้นเมื่อมีการส่งวารสารมาแต่ละฉบับ มีการรวบรวม และจัดเก็บในรูปแบบที่ถาวร (เย็บเล่ม?) อาจเกิดผลในแง่ลบ

เมื่อมีผู้ใช้ต้องการใช้วารสารนั้นขณะที่มีผู้อื่นใช้อยู่

 

สิ่งที่เลวร้าย   มีด้านที่ไม่ดีนอกเหนือจากข้างต้นอีก 3 ประการ คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากการบริการบรรณานุกรม ดัชนีและสาระสังเขปที่บรรณารักษ์จะจัดทำขึ้นจากชื่อวารสาร ที่เกิดผลกระทบการควบคุมทางบรรณานุกรม ที่สืบค้นบทความจากวารสารหนึ่งชื่อเรื่อง  ในขณะที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสืบค้นสารสนเทศได้ 3 ระดับ ซึ่งนักวิจัยสามารถที่จะค้นรายการที่ต้องการได้  ดังนั้นต้องคำนึงถึงจำนวนสารสนเทศที่มากมายตามความเป็นจริง

                2) ปัญหาที่เกิดจากองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจของห้องสมุด  ซึ่งห้องสมุดมีหน้าที่ในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ที่ทันสมัยให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการใช้ของผู้ใช้  จากการสังเกตของ Lois Upham ที่พบว่างบประมาณที่ใช้ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษายินดีจ่ายก่อนที่จะได้ใช้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จะต้องประกันว่าจะสามารถใช้งบประมาณที่ได้รับมาอย่างฉลาด สามารถจัดหาวารสารได้ตรงกับความต้องการของนักศึกษา

                3) วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อวงจรสารสนเทศโดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยจ้าง Jones ให้ผลิตองค์ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งเธอได้ค้นคว้าข้อมูลจากวารสาร ซึ่งตัวแทนจำหน่ายสามารถคิดค่าบริการในการขายวารสารนั้นให้กับห้องสมุด

                                                                                                                                                                    

หมายเลขบันทึก: 309204เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2009 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

20 สิงหาคม 2554

สวัสดีครับ คุณสิริพร ที่คิดถึง

ไม่ได้เขียนมานานมากแล้ว ผมเปิดอ่าน web ของคุณบ่อยๆเสมอ ตอนนี้ว่างงานแล้ว เป็นคนตกงาน ปลดเกษียณมาแล้ว 4 ปี กำลังย่างปีที่ 5 , หน้าที่ประจำตอนนี้คือ เล่นเน็ต อ่านทุกๆเรื่อง

อยากเสนอแนะในงาน บรรณารักษ์ปัจจุบันไว้ ให้คำนึงถึง Technology ที่กำลังมาแรงสุดๆ ในขณะนี้ ที่จะมีบทบาทต่องานบริการของ ห้องสมุดในอนาคตอันใกล้นี้ จนต้องสะดุ้ง สะเด็น แน่ๆเลย คือ

อุปกรณ์ประเภท iPad, Kindle, หรือที่มีลักษณะเป็น android robotic programs ที่มีชื่อเรียกทางพาณิชย์อื่นๆ ถ้าเราเอา เอกสารตำราความรู้ ยัดใส่เข้าไปในสิ่งเหล่านี้ และขาย หรือ สืบค้นได้ทันที ก็เหมือนยกเอา ห้องสมุดขนาดกลางๆ ในบ้านเรา ไปไว้ในอุปกรณ์เหล่านี้ ต่อไปๆๆๆๆ สมาชิกก็อาจจะไม่มายังห้องสมุดเลยก็ได้ มันน่าจะมาแทนแหล่งข้อมูลในห้องสมุดในไม่ช้าไม่นานนี้ ...อนาคตของ อาคารห้องสมุด ก็จะไม่ใช่ตึกใหญ่โตมหึมาเหมือนกับปัจจุบัน มันคงจะเป็นอาคารเล็กๆ ที่มี server กำลังส่งสูงๆ เป็นส่วนประกอบเท่านั้น (บรรณารักษ์ ก็อาจจะตกงานในอีก 10-15 ปีข้างหน้า) เพราะเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แค่ "Wikipedia, Google, etc." เราก็ตกใจแย่ แทบจะทำใจได้ลำบากอยู่แล้ว [ข้อมูลจากดาวพระเสาร์อันไกลโพ้น, ข้อมูลจากดาวอังคาร อันไกลแสนไกล เรายังรับส่งกันได้สบายๆ นับประสาอะไรกับ ระยะทางบนโลก หรือ ประเทศไทย เล็กกระจึ๋งเดียว ทำไมจะทำไม่ได้]

งานหลัก ที่น่าจะสำคัญ ของบรรณารักษ์ มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ทุกๆคนต้องเรียนรู้ วิธีการ แปลงไฟล์ข้อมูล จากหนังสือกระดาษ เป็นดิจิตอล เป็นอย่างดีและชำนิชำนาญด้วย นี่คือ งานหลักในงาน cataloging ที่จะต้องเผชิญอยู่ทุกๆวัน ในอนาคตอันใกล้นี้ นอกเหนือจาก หนังสือกระดาษ

งานอีกเรื่องที่น่าสนใจ สำหรับบรรณารักษ์ คือ การบริการ ออนไลน์ ที่สืบค้น OPAC ด้วย กระบวนการ GIS ซูมภาพตำแหน่งทีละจุด ไปยังชั้นเก็บ ซูมไปที่ Call no. และลิงค์เข้าสู่ RFID ที่วางเรียงบนชั้นเก็บ เปิดดูรายละเอียดภายใน โดยไม่ต้องจับต้องหรือสัมผัสหนังสือเลย ตรงนี้อาจจะอ่านแบบย่อ ไม่กี่หน้า เหมือนที่ amazon ทำ inside book หรือ จะเปิดให้อ่านกันทั้งเล่มเหมือนที่ทำกันอยู่ตอนนี้ ในการอ่านวิทยานิพนธ์ขณะนี้ มันไม่น่าจะยากเลย ต่อไปบาง Collections ก็ไม่ต้องมาที่ห้องสมุดก็ได้ และบน OPAC นี้ ยังสามารถทำลิงค์ ไปยัง web browser ที่เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์ กับ เอกสารฉบบับนั้น ได้อีก ซึ่งคนทำป้อนข้อมูลตรงนี้ คืองานสำคัญอีกอย่างของบรรณารักษ์ แล้วทีนี้ บรรณารักษ์ จะไปนั่งทำงานที่ไหนละ???????

หัวใจสำคัญ ที่จะต้องสร้างงานที่หนักหนาสาหัส ให้กับบรรณารักษ์ คือ การสร้าง คิดค้น keyword ที่มีประสิทธิภาพในการสืบค้นขั้นยอดๆออกมา ต้องรอบรู้ หรือรู้รอบในการทำ ลิงค์สืบพ่วงกันไปยังทั่วทุกมุมโลกในงาน วิเคราะห์เอกสารชิ้นนั้นๆ

ปัญหาเหล่านี้ กำลังคืบคลานมาด้วย อิทธิฤทธิ์ ของเทคโนโลยี อนาคตของวิชาชีพ ที่กำลังอ่อนแรงลงๆๆๆ

อ่านผลงานของท่าน อาจารย์แล้ว ดูมีความสุขดีมากๆเลย ดูจากภาพแล้ว กรอบของภาพแคบไปหน่อยแล้ว เวลาทำภาพต้องขยายกรอบเพิ่มนะครับ..... ฝากความคิดถึงมายัง ผอ.สำนักฯ ด้วยนะครับ เคยเรียนรุ่นเดียวกันมา ที่บรรณารักษศาสตร์ จุฬา, นาน นาน มากๆแล้ว

สวัสดีค่ะ อาจารย์  sc21mc

ระลึกถึงเช่นกัน ไม่ได้เห็นความคิดในนาม sc21mc มานาน

อาจารย์คะช่วงนี้เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนเหลือเกิน บรรณารักษ์ชรุ่นใหม่และรุ่นเก่า จะผนึกกำลังสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร

เป้าของหน่วยงานจัดวางไว้อย่างไร????

ยังไม่ท้อหรอกนะคะ พยายามทำงานทุกวันให้มีความสุข

แต่ระบบการทำงานทุกวันนี้บังคับให้ก้มหน้าก้มตาทำงาน จนไม่มีเวลาเงยหน้าหรือปีนขึ้นภูเขาเพื่อมองภาพระยะไกล จึงด้อยประสบการณ์

อาจจะมีผู้กุมบังเหียนขึ้นไปมอง แต่คาราวานที่ไปถึงจุดนั้นได้มีมากมายหลายกลุ่มที่จะผลัก และดันหน่วยงานขึ้นไป

บรรณารักษ์ยังต้องปรับเปลี่ยน ยอิมรับความเปลี่ยนแปลงและศาสตร์อื่นๆ  มาบูรณาการร่วม งานนี้ผู้นำองค์กรคงต้อง"หนัก" ในการจูงใจ เปลี่ยนเปลี่ยนทัศนคติ และทำให้บุคลากรรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง

ไม่ยังงั้นภาพที่แคบก็คงยังแคบอยู่เช่นเดิม

ตอนนี้สิริพรห่างหาย blog ไปนาน ได้แวะเวียนขอความรู้จาก Blog อื่นๆ เช่น library hub

ดีใจค่ะที่อาจารย์แวะเข้ามา...จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ คงสงบ มีเวลาที่จะได้ทำอะไรๆๆๆ ตามที่สนใจ เป็นที่น่าอิจฉาอย่างยิ่ง

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

และท้ายสุดจะนำความระลึกถึงของอาจารย์ฝากไปถึง ผอ.สุดใจค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท